ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
Enfa สรุปให้
คุณแม่มือใหม่ทุกคนมีความสุขเมื่อลูกกินได้นอนหลับ แต่จะเกิดความสงสัยว่าลูกเพิ่งกินนมไป แต่ทำไมถึงดูท่าทางแล้วเหมือนกับว่าลูกหิวนมอยากกินนมอีก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และต้องให้นมลูกเพิ่มหรือไม่ ถ้าให้นมลูกมากตามอาการที่ลูกแสดงว่าต้องการนม จะทำให้ลูกได้รับนมมากเกินไปหรือไม่ เรามาหาคำตอบกันค่ะ
เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกดูหิวนมบ่อยแม้จะเพิ่งกินนมไป เพราะในช่วงอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป ทารกมักจะเข้าสู่ช่วงที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้หิวมากกว่าปกติ ลูกต้องการดูดนมมากเพื่อเป็นการตอบสนองการเจริญเติบโตนี้
ทารกบางคนมีลำตัวยาวขึ้นได้ถึง 1.5 เซนติเมตร ใน 24 ชั่วโมง จึงไม่น่าแปลกใจว่าลูกจะต้องการนมมากเป็นพิเศษในช่วงนี้ เพราะฉะนั้น หากสังเกตเห็นว่าลูกหิวบ่อยๆ คุณแม่ควรเพิ่มความถี่หรือเพิ่มปริมาณนม และรอให้อาการดังกล่าวลดลงจนกลับสู่สภาพเดิมเมื่อร่างกายเข้าสู่การเจริญเติบโตเป็นปกติ
อย่างไรก็ตาม บางครั้งคุณแม่อาจพบว่าลูกยังหงุดหงิด งอแง เหมือนยังไม่อิ่มนม แม้จะลองให้นมถี่ขึ้นแล้ว หากเป็นกรณีนี้ คุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ลูกไม่อิ่มนมหรือการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ เพื่อจะได้แก้ไขให้ตรงจุด
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าลูกต้องการนมเพิ่มเพราะร่างกายเจริญเติบโต หรือเพราะลูกได้รับน้ำนมไม่เพียงพออย่างที่ควรจะเป็น คุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกต้องการนมเพิ่มได้จากสัญญาณอาการต่อไปนี้
สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เด็กบางคนจะชอบดูดนมเพื่อความอุ่นใจ สบายใจ และทำท่าเหมือนว่าอยากดูดนมอีกทั้งที่เพิ่งกินไป แต่นอกจากการดูดนมแล้ว การกอดหรือการตอบสนองลูกด้วยวิธีอื่นจะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นได้เช่นกัน
คุณแม่จึงไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกร้อง ถ้าเห็นลูกพุงป่องแล้วร้องอีก ให้เบี่ยงเบนความสนใจลูกไปที่อื่น เช่น เล่นกับลูก อุ้มเดิน เคลื่อนไหวไปมา ใช้เปลไกว ดูดจุกหลอก ฯลฯ ไม่ต้องกลัวลูกติดมือ ติดเปล หรือติดจุกหลอก เพราะจะใช้แค่ช่วง 3-4 เดือนแรก
ซึ่งลูกอยู่ในช่วงปรับตัวเท่านั้น หากลูกต้องการดูดจริงๆ อาจพิจารณาใช้จุกนมหลอก (ในทารกอายุ 1 เดือนขึ้นไป) เพื่อจะได้ไม่ได้รับปริมาณนมเข้าไปมากเกินไป เพราะจริงๆ แล้วลูกไม่ได้หิว แต่ต้องการดูดเพื่อความพึงพอใจและรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ
สำหรับคุณแม่ที่ลูกในวัย 3-4 เดือน หลายคนอาจสงสัยว่าการที่ลูกมีอาการหิวมากกว่าปกตินั้น คือสัญญาณบ่งบอกว่าถึงเวลาการให้เสริมลูกหรือไม่ อย่าเพิ่งคิดแบบนั้นนะคะ เพราะเวลาที่เหมาะสมที่เด็กควรได้รับอาหารตามวัยก็คือในช่วง 6 เดือนขึ้นไป ก่อนหน้านั้นควรให้กินนมตามปกติ
พยายามอย่าเร่งการให้อาหารเสริมก่อนลูกอายุ 6 เดือน เพราะระบบย่อยอาหารของลูกยังบอบบางเกินไปสำหรับอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่หรือนมผงสำหรับทารก ซึ่งนมทั้ง 2 ชนิดมีพลังงานและสารอาหารสำคัญที่ลูกต้องการอยู่แล้ว
นอกจากนี้ในนมแม่ยังมี แลคโตเฟอร์ริน ซึ่งโปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เมื่อลูกร้อง คุณแม่มือใหม่บางคนอาจทนฟังเสียงร้องของลูกไม่ไหว จึงให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกร้อง ทั้งที่บางครั้งลูกไม่ได้ร้องเพราะหิว แต่คุณแม่เข้าใจผิดเอง พอลูกกินนมเข้าไปปริมาณมาก ท้องก็ป่อง ตึง อึดอัด ไม่สบายตัว ลูกก็ร้องไห้ แต่ไม่ใช่เพราะหิว
หากคุณแม่ยังให้ลูกกินนมอีก เขาก็จะอาเจียนออกมา เพราะนมล้นกระเพาะของเขาแล้ว เรียกอาการเช่นนี้ว่า Overfeeding หรือการกินเกิน ซึ่งมักมีอาการดังนี้
คุณแม่ที่ลูกมีพฤติกรรมร้องหิวตลอด หากดูแล้วว่าไม่ใช่ร้องเพราะลูกหิวนม ก็อย่าได้ป้อนนมให้เขาอีกนะคะ ไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดการกินแบบ Overfeeding ซึ่งทำให้ลูกมีพฤติกรรมกินจุ กระเพาะขยายตัวมาก สุดท้ายจะนำไปสู่โรคอ้วนได้ค่ะ
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ให้นมลูกกินกาแฟได้ไหม สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ให้นมลูก การเลี่ยงไม่ดื่มกาแฟได้จะดีที...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ