ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
caring-for-a-newborn

เด็กแรกเกิดดูแลยังไง มีพัฒนาการแบบไหน แม่มือใหม่ต้องรู้

Enfa สรุปให้

  • เด็กแรกเกิด คือ เด็กทารกทิ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 0 – 4 สัปดาห์หลังการคลอด โดยช่วงชีวิตของเด็กทารกแรกเกิดนั้นเป็นระยะที่มีความสำคัญอย่างมาก
  • สุขภาพและร่างกายของเด็กแรกเกิดหลังคลอด มีความบอบบาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง และยังต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลอย่างดีและใกล้ชิด เพื่อให้เด็กทารกแรกเกิดสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากตอนอยู่ในครรภ์ของแม่ได้อย่างราบรื่น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • เด็กแรกเกิดคือช่วงอายุประมาณเท่าไหร่  
     • สัปดาห์แรกหลังออกจากโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องเจออะไรบ้างนะ
     • โภชนาการเด็กแรกเกิดเป็นอย่างไร
     • พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก มีอะไรบ้าง
     • เสริมพัฒนาการของเด็กแรกเกิดได้อย่างไรบ้าง
     • คำแนะนำในการเลี้ยงทารกแรกเกิดถึง3เดือน
     • สัญญาณทารกแรกเกิดที่ต้องพาไปพบแพทย์
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการดูแลลูกน้อยวัยแรกเกิดกับ Enfa Smart Club

ทารกหลังคลอด หรือทารกแรกเกิด เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพราะทารกกำลังจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ และในขณะเดียวกันก็เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ รวมถึงความผิดปกติบางประการที่อาจพบได้เฉพาะในเด็กแรกเกิด ดังนั้น ระยะแรกหลังคลอดออกมาใหม่ ๆ นี้ ทารกจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่ 

เด็กแรกเกิดคือช่วงอายุประมาณเท่าไหร่


วัยทารกแรกเกิด คือช่วงอายุระหว่าง 0-4 สัปดาห์หลังคลอด โดยช่วงชีวิตของเด็กแรกเกิดนั้นเป็นระยะที่มีความสำคัญอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลอย่างดีและใกล้ชิด เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากตอนอยู่ในครรภ์ของแม่ได้อย่างราบรื่น 

ของใช้เด็กแรกเกิดที่จำเป็น คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอะไรบ้าง?

เมื่อลูกน้อยใกล้คลอด ของใช้เด็กแรกเกิดที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องเตรียมไว้สำหรับลูกรักของคุณ เรามีลิสต์มาให้แล้ว 15 ชิ้น ต้องมี ดังนี้ค่ะ

1. ผ้าอ้อม

2. ผ้าห่อตัว

3. ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดตัวลูกน้อย

4. เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด

5. ถุงมือ ถุงเท้า หมวก

6. แชมพู และเครื่องอาบน้ำสำหรับเด็กแรกเกิด

7. คอตตอนบัดและสำลีแผ่น

8. โลชั่นหรือออยล์

9. กระดาษทิชชูเปียก

10. ชุดที่นอน หรือชุดเครื่องนอนเด็ก

11. แผ่นรองฉี่

12. ครีมทากันผดผื่น

13. กรรไกรตัดเล็บทารก

14. จุกหลอก

15. คาร์ซีท

การดูแลทารกแรกเกิดเมื่อกลับบ้าน สัปดาห์แรกคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องเจออะไรบ้าง


เด็กแรกเกิดในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด หากไม่มีภาวะผิดปกติใด ๆ ของแม่และเด็ก แพทย์ก็จะให้กลับมาพักฟื้นหลังคลอดกันต่อที่บ้านค่ะ ซึ่งช่วงเวลาหลังจากออกจากโรงพยาบาลกลับมาพักฟื้นที่บ้านนี้เอง ที่คุณพ่อคุณแม่จะพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายของลูกน้อยที่จะทำให้กิจวัตรประจำวันของทั้งคุณพ่อและคุณแม่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง 

การให้นมแม่ 

หลังคลอดคุณแม่จะต้องเริ่มให้นมลูกทันที ไม่ต้องรอให้พักฟื้นจนหายดีก่อน การทำให้ลูกคุ้นเคยกับเต้านม หัวนม และนมแม่ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี 

โดยเด็กทารกแรกเกิดนั้นจะต้องกินนมแม่ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง และเวลาให้นมแม่ ควรจะให้นมแม่ข้างละ 10-15 นาทีแล้วจึงเปลี่ยนข้าง ที่สำคัญคือควรให้นมแม่อย่างเดียวและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนค่ะ 

การอาบน้ำให้ทารก

ทารกเองก็จำเป็นจะต้องได้รับการทำความสะอาดเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรอาบน้ำให้ลูกในบริเวณที่มีอุณหภูมิอุ่น ไม่เย็นเกินไป ลมไม่โกรกเกินไป และควรอาบในช่วงสาย ๆ หรือช่วงบ่าย หรือเลือกอาบในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่นจะดีที่สุด การอาบน้ำในช่วงเวลาและสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็นมาก ๆ อาจทำให้ลูกไม่สบายได้ 

เวลาอาบน้ำควรใช้น้ำที่อุณหภูมิห้อง และไม่ต้องใช้แชมพูหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ใช้เพียงน้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว มากไปกว่านี้ ควรอาบน้ำลูกให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 5-7 นาที หากอาบนานกว่านั้นทารกอาจจะไม่สบายเอาได้ 

การดูแลสะดือของทารกแรกเกิด

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลยสะดือของลูกให้หมักหมมนะคะ หลังอาบน้ำเสร็จทุกครั้งให้ซับเบา ๆ จนสะดือแห้ง จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณสะดือ เวลาเช็ดสะดือให้ค่อย ๆ เช็ดวนจากด้านในออกมาด้านนอก และควรเช็ดเบา ๆ อย่าเช็ดแรงจนเกินไป 

โดยขั้วสะดือของทารกหลังจากตัดสายสะดือแล้วจะใช้เวลาราว ๆ 1-2 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ หลุดไปเอง แต่ถ้าสะดือหลุดแล้ว และมีกลิ่น  มีหนอง หรือของเหลวออกมา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้ 

การขับถ่ายของทารก  

ทารกแรกเกิดจะขับถ่ายบ่อยมากค่ะ โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ยิ่งถ่ายบ่อย คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ลูกขับถ่ายและหมักหมมจนผ้าอ้อมแฉะ อาจเสี่ยงต่อผื่นผ้าอ้อมได้  

โดยก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมให้จัดการทำความสะอาดก้น อวัยวะเพศ ขาหนีบ และต้นขาของทารกให้สะอาด แล้วจึงเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เรียบร้อย 

การห่อตัวให้ทารก

การห่อตัวเด็กทารกนั้นจะช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัว ปลอดภัย เหมือนกับเมื่อครั้งที่ยังนอนอยู่ในครรภ์ของมารดา วิธีนี้จึงช่วยให้ทารกรู้สึกสงบ และนอนหลับได้อย่างสบายตัว โดยวิธีห่อตัวทารก สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้  

  • วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม 
  • วางลูกลงบนผ้า ให้บ่าอยู่บริเวณขอบผ้า และศีรษะอยู่พ้นมุมผ้าที่พับลง 
  • ใช้มือข้างหนึ่งจับทารกไว้ มืออีกข้างหยิบมุมซ้ายของผ้ามาห่มทับลำตัวของทารก และพาดไปสอดไว้ใต้แขนอีกข้างของทารก แล้วดึงชายผ้าส่วนที่เหลืออ้อมไปเก็บไว้ด้านหลัง 
  • จากนั้นหยิบผ้าจากมุมขวามือ ห่อพาดแขนขวาและลำตัวของทารก เหน็บผ้าส่วนเกินไว้ทางด้านหลัง 
  • ค่อย ๆ พับหรือม้วนผ้าที่อยู่ด้านล่างหรือ่วนปลายเท้าขึ้นมาและเหน็บไว้ด้านล่างให้เรียบร้อย หรือจะผูกเอาก็ได้ค่ะ 

การนอนของลูกน้อย 

เด็กแรกเกิดควรจะต้องนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และเวลานอนควรจัดให้ทารกนอนให้ห้องหรือสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนเกินไป และไม่เย็นจนเกินไป 

มากไปกว่านั้น ไม่ควรให้ทารกนอนคว่ำ แต่ควรดูแลให้ทารกนอนหงายอยู่เสมอ การนอนคว่ำอาจเสี่ยงต่อปัญหาการหายใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็ก ซึ่งเกิดจากการหายใจไม่ออกในขณะนอนหลับค่ะ ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยมากในทารกแรกเกิด 

การฉีดวัคซีนและดูแลเด็กทารกน้อยหลังฉีดวัคซีน 

ทารกแรกเกิดควรจะต้องได้รับวัคซีนตามที่แพทย์กำหนด โดยวัคซีนบางชนิดทารกอาจได้รับตั้งแต่แรกเกิดเลยก็มี และเมื่ออายุมากขึ้นก็จะต้องทยอยเข้ารับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่เหลือให้ครบตามกำหนด ข้อสำคัญคือคุณพ่อคุณพ่อต้องหาเวลาพาลูกไปเข้ารับวัคซีนให้ครบตามกำหนดนด้วยนะคะ เพื่อที่เด็กจะได้มีภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันโรคต่าง ๆ 

กรณีที่เด็กแรกเกิดตัวเหลืองขณะอยู่บ้าน  

อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ โดย 2-3 วันแรกหลังคลอดทารกหลาย ๆ คนก็จะเริ่มมีอาการตัวเหลืองแล้วค่ะ แต่ผ่านไปสัก 2-3 สัปดาห์อาการก็จะค่อย ๆ หายเป็นปกติค่ะ  

แต่ถ้านานเกินกว่านั้นแล้วทารกยังตัวเหลืองอยู่ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์นะคะ เพราะระดับสารเหลืองนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสมองของทารกได้ค่ะ 

เด็กทารกต้องการการดูแลด้านโภชนาการยังไงบ้าง


แหล่งโภชนาการสำคัญเพียงอย่างเดียวของเด็กแรกเกิดก็คือนมแม่ค่ะ เพราะนมแม่แค่อย่างเดียวก็มีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิดแล้ว 

มากไปกว่านั้น ในนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง 

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยรองรับว่า เด็กที่ได้รับสารอาหารอย่าง MFGM จะมีทักษะและคะแนนการวัดผล IQ/EQ สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ MFGM การเลือกโภชนาการที่มี MFGM ให้กับลูกจึงเป็นหนึ่งในรากฐานที่ดีในอนาคตให้กับลูกน้อย เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก 

ทารกวัยแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ควรได้รับนมแม่แค่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องให้อาหารอื่น และคุณแม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือต่อเนื่องถึง 2 ปีได้เลยหากสะดวก 

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

พัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


ช่วง 3 เดือนแรกของเด็กนั้น มีพัฒนาการสำคัญ ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ ดังนี้ค่ะ 

  • ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในระยะแรกศีรษะของทารกแรกเกิดจะมีการโคลนเคลน ยังไม่สามารถที่จะตั้งตรงเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยประคองศีรษะของทารกไว้เสมอ แต่ในไม่ช้าทารกก็จะสามารถยกศีรษะขึ้นเองได้โดยไม่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่คอยประคอง เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อขาที่ก็จะพัฒนาขึ้น ทารกสามารถที่จะยืดและเตะขาได้แล้ว รวมถึงมือก็เริ่มที่จะกำและแบออกได้ สามารถหยิบจับของได้ 
  • ทักษะการได้ยิน ทารกสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ นะคะ โดยเฉพาะถ้าเสียงดังมาก ๆ ทารกก็จะมีการตอบสนองต่อเสียงนั้นได้ด้วย หรือเวลาที่คุณพ่อคุณแม่พยายามพูดคุย หยอกล้อกับทารก แน่นอนค่ะว่าถึงแม้ทารกจะไม่รู้เรื่อง แต่ก็สามารถตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ อาจจะเป็นการยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้ในบางครั้ง 
  • ทักษะด้านการมองเห็น หากยื่นหน้าเข้าไปใกล้ทารก ก็จะเห็นว่าทารกค่อย ๆ เริ่มจดจ่อที่หน้าของคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะที่ดวงตาของคุณพ่อคุณแม่จะเป็นจุดโฟกัสที่เด็ก ๆ จะเพ่งมอง โดยในช่วง 1 เดือนแรก ทารกจะชอบดูลวดลายและสีสันต่าง ๆ ที่ตัดกันอย่างชัดเจนค่ะ เมื่ออายุได้ 2 เดือน การมองเห็นของเด็กแรกเกิดจะทำงานประสานกันมากขึ้น ทำให้ทารกสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารถมองตามวัตถุที่อยู่ไกลตัวออกไปได้ 
  • ทักษะด้านการสื่อสาร จริงอยู่ที่ทารกแรกเกิดยังไม่สามารถพูดจาเป็นภาษาได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทารกไม่สามารถตอบโต้กับคุณพ่อคุณแม่ได้นะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทารกอายุได้ 2 เดือน ทารกสามารถที่จะส่งเสียงอ้อแอ้ พยายามเลียนเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน 

คุณพ่อคุณแม่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแรกเกิดยังไงดี


พัฒนาการของเด็กจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามลำดับพัฒนาการและช่วงอายุ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้เป็นไปตามวัย โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะดูแลและเสริมพัฒนาการลูกน้อยได้ ดังนี้ 

  • อุ้มลูกบ่อย ๆ อ้อมแขนของคุณพ่อคุณแม่ถือเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการที่สำคัญของทารก อ้อมกอด อ้อมแขนจะช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และอบอุ่น อีกทั้งเสียงที่คุ้นเคยของคุณพ่อคุณแม่ในขณะที่อุ้มลูก ก็จะช่วยให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ด้วย มากไปกว่านั้น ขณะที่อุ้มทารก อาจจะยื่นนิ้วให้ทารกได้จับหรือสัมผัส ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหวให้ลูกได้ด้วย 
  • เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ อุ้มลูกในท่านอนบ้าง อุ้มลูกพาดบ่าบ้าง ให้ทารกนอนหงายบ้าง อุ้มทารกนั่งบ้าง พยายามเปลี่ยนท่าทางให้หลากหลาย เสริมให้เด็กได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น ได้เรียนรู้เสียงและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี 
  • พูดกับลูกบ่อย ๆ แม้ว่าเด็กจะยังพูดไม่เป็นภาษา แต่การที่คุณพ่อคุณแม่พูดกับลูกบ่อย ๆ เด็กก็จะค่อย ๆ จดจำเสียงที่คุ้นเคย และเริ่มมีการตอบโต้ไปมา ช่วยเสริมทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร มากไปกว่านั้น น้ำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสื่อถึงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งทารกสามารถที่จะรับรู้ได้ 
  • ใส่ใจกับการร้องไห้ ทารกแรกเกิดมักจะร้องไห้บ่อย หิวก็ร้องไห้ ไม่สบายก็ร้องไห้ ผ้าอ้อมแฉะก็ร้องไห้ ทุกการร้องไห้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติได้มากมาย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลย แต่ควรพุ่งตัวเข้าไปดูทันทีว่าเกิดสิ่งผิดปกติอะไร การเข้าไปอุ้ม ไปกอด จะช่วยคลายความกังวลให้กับทารกได้ อีกทั้งยังสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาด้วย 

คำแนะนำในการเลี้ยงเด็กทารกถึง 3 เดือน


คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เทคนิคง่าย ๆ ในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ดังนี้ 

  • ก่อนสัมผัส จับ หรืออุ้มทารก ควรล้างมือให้สะอาดก่อนเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อแบคทีเรียไปสู่เด็ก 
  • พยายามให้ทารกได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัสกับคุณพ่อคุณแม่บ่อย ๆ จะช่วยให้ทารกเกิดความวางใจและคุ้นเคยกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น 
  • ให้ทารกได้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ และเห็นสีสันต่าง ๆ มากขึ้น ช่วยเสริมสมาธิให้ทารกได้ 
  • พยายามคุยกับลูกบ่อย ๆ ยิ้มและหัวเราะกับลูกบ่อย ๆ ลูกก็จะเริ่มส่งเสียง ยิ้ม และหัวเราะตอบกลับ เป็นการเพิ่มพูนทักษะการสื่อสาร 
  • ให้ทารกได้เห็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ เช่น ของเล่น เพื่อให้เด็กได้เริ่มมองตาม และจดจ่อกับสิ่งที่เคลื่อนไหวตรงหน้ามากขึ้น 
  • เล่นกับลูกบ่อย ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ของเล่นแพงมีราคาสูงเลยค่ะ ใช้มือของคุณพ่อคุณแม่เองนี่แหละ ทำมือปูไต่ตามท้อง ตามตัว เบา ๆ และสลับช้าเร็ว จะช่วยให้ทารกเริ่มยิ้มและหัวเราะได้ง่ายขึ้น เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี
     

เด็กแรกเกิด  มีอาการแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์


หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าทารกมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพาทารกไปพบแพทย์ทันที 

  • ทารกมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ทารกร้องไห้บ่อยจนผิดปกติ
  • ทารกไม่กินนม เบื่อนม หรือกินนมน้อยกว่าปกติ
  • ทารกอ่อนแรงผิดปกติ ไม่ค่อยขยับแขนและขา
  • ทารกง่วงซึมผิดปกติ
  • ทารกไม่ตอบสนองต่อแสงและเสียงรอบตัว
  • ทารกไม่มีเสียงกลืนน้ำลายเหมือนปกติ
  • ทารกไม่ยอมนอน หรือนอนน้อย
  • ทารกมีไข้สูง
     

ไขข้อข้องใจเรื่องการดูแลลูกน้อยวัยแรกเกิดกับ Enfa Smart Club


เด็กแรกเกิดได้สิทธิอะไรบ้าง? ทำความรู้จักเงินอุดหนุนบุตรแรกเกิด สวัสดิการจากรัฐ

สิทธิสำหรับเด็กแรกเกิดนั้น หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ 
สำหรับครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เด็กแรกเกิดมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 600 บาทต่อเดือน ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 6 ปี 
ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และมาตรา 39 สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร เงินอุดหนุนบุตรแรกเกิดจากประกันสังคมเดือนละ 800 บาท ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 6 ปี แต่จะได้คราวละไม่เกิน 3 คน 
 

เด็กแรกเกิดกินอะไรได้บ้าง? 

เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ควรได้รับแค่เพียงนมแม่อย่างเดียวเท่านั้น เพราะนมแม่แค่อย่างเดียวก็ถือว่าเป็นแหล่งอาหารและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของเด็กทารกแล้ว 

ซึ่งไม่จำเป็นและยังไม่ควรให้ลูกได้กินอาหารอื่นนอกจากนมแม่ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของทารกยังไม่แข็งแรงพอจะย่อยอาหารอื่น ๆ หากให้ลูกได้กินอาหารอื่นก่อนอายุ 6 เดือน อาจทำให้ทารกท้องเสียหรือมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ 

ทารกแรกเกิดนอนนาน ปกติไหม? 

เด็กทารกมักจะนอนนานเป็นปกติอยู่แล้วค่ะ ซึ่งทารกนั้นจะนอนได้นานตั้งแต่ 16-17 ชั่วโมงขึ้นไป และในการนอนแต่ละครั้งจะนอนนานตั้งแต่ 2-4 ชั่วโมง 

ทารกแรกเกิดตัวเหลือง อันตรายไหม? 

ทารกแรกเกิดหลายคนมีอาการตัวเหลืองกันเป็นเรื่องปกติค่ะ โดยจะเริ่มตัวเหลืองตั้งแต่ 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าเกินจากนั้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ถึงค่อยพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ 

ทารกแรกเกิดถ่ายบ่อยแค่ไหน? 

ทารกแรกเกิดนั้นจะถ่ายบ่อยเป็นปกติอยู่แล้วค่ะ ยิ่งกินนมแม่ก็จะยิ่งถ่ายง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกมากถึง 10 ครั้งต่อวัน หรือถ้าคิดเป็นสัปดาห์ ก็อาจมากถึง 70 ครั้งต่อสัปดาห์กันเลยทีเดียว 

ทารกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน พ่อแม่ควรทำยังไงดี? 

ทารกไม่ยอมนอน หรือตื่นมากวนตอนกลางคืนนั้น แทบจะเป็นเรื่องปกติของทารกแรกเกิดเลยค่ะ สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยก็คือ ต้องทำใจให้ได้ก่อนเลยค่ะว่ายังไงก็อาจจะต้องพบเจอกับเรื่องแบบนี้เข้าสักคืน 

แล้วพยายามอุ้ม กอด หรือนวดตัวเบา ๆ ให้ทารก เพื่อให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย อุ่นใจ และปลอดภัยมากขึ้น หรือจะเปิดเพลงเบา ๆ จังหวะเนิบ ๆ กล่อมลูกก็ได้เช่นกัน 

และเมื่อทารกแรกเกิดอายุได้ 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเริ่มฝึกให้ทารกเข้านอนตามตารางการนอนได้ เพื่อให้ทารกได้คุ้นเคยว่าช่วงเวลาแบบนี้นะ คือเวลาที่จะต้องเข้านอนแล้ว 

เด็กทารกไม่ถ่าย แต่ผายลมบ่อย เกิดจากอะไร? 

ในแต่ละวันผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เองก็ยังผายลมได้บ่อย ๆ ทารกเองก็เช่นกันค่ะ ในหนึ่งวันทารกสามารถที่จะผายลมได้หลายครั้ง โดยไม่มีการขับถ่ายเกิดขึ้น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการมีลมหรือแก๊สอยู่ในท้องของทารกมากเกินไป

โดยลมหรือแก๊สนั้นก็จะมาจากตอนที่ทารกอ้าปากดูดนม หรือตอนดูดจุกหลอก หรือตอนที่ร้องไห้ ช่วงเวลาที่ทารกอ้าปากนี้นี่แหละค่ะ ที่จะทำให้ทารกสูดเอาอากาศเข้าท้อง และอาจจะสะสมเอาไว้เยอะเกินไป จนต้องผายลมออกมาบ่อย ๆ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

baby-sleep-schedule
how-to-bring-down-baby-fever
newborn-not-sleeping
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner