preterm-birth

คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแค่ไหน ป้องกันได้หรือเปล่า

 

Enfa สรุปให้

  • คลอดก่อนกำหนด หรือ คลอดฉุกเฉิน (Premature Birth) คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนจะถึงกำหนดคลอด ซึ่งปกติการกำหนดคลอดจะกำหนดไว้ระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 ของการตั้งครรภ์ การคลอดใด ๆ ก็ตามที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ถือเป็นการคลอดก่อนกำหนด

  • ระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 ทารกอาจจะคลอดออกมาตอนไหนก็ได้ อาจจะเป็นสัปดาห์ที่ 37, 38, 39 หรือสัปดาห์ที่ 40 เลยก็ได้ แต่บวกลบแล้วจะไม่เกินสัปดาห์ที่ 42

  • ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 36 หรือคลอดก่อนกำหนดชนิดที่เร็วมาก ๆ อย่างการคลอดในเดือนที่ 7 ซึ่งมีอายุครรภ์ได้เพียง 27-30 สัปดาห์ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกสูงมาก

การตั้งครรภ์โดยปกติแล้ว จะมีกำหนดระยะเวลาอยู่ที่ 9 เดือน หรือราว ๆ 40 สัปดาห์ แต่...ไม่ใช่แม่ทุกคนที่สามารถอุ้มท้องไปจนกระทั่งถึงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ได้ เพราะในระหว่างนั้นอาจมีการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์

แต่การคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะมีชีวิตรอดหรือไม่ กำหนดคลอดกี่สัปดาห์จึงจะถือว่าปลอดภัย Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดดมาฝากค่ะ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

คลอดก่อนกำหนดคืออะไร
กำหนดคลอดคือกี่สัปดาห์
สาเหตุของการคลอดกำหนด
สัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด
อาการใกล้คลอดก่อนกำหนด
ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ความเสี่ยงของเด็กคลอดก่อนกำหนด
คลอดก่อนกำหนด พัฒนาการช้าจริงหรือ
คลอดก่อนกำหนด 7 เดือนอันตรายไหม
ดูแลลูกคลอดก่อนกำหนด
ไขข้อข้องใจการคลอดก่อนกำหนดกับ Enfa Smart Club

คลอดก่อนกําหนดคืออะไร

คลอดก่อนกำหนด หรือ คลอดฉุกเฉิน (Premature Birth) คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนจะถึงกำหนดคลอด ซึ่งปกติกำหนดคลอดจะอยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 ของการตั้งครรภ์ การคลอดใด ๆ ก็ตามที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ถือเป็นการคลอดก่อนกำหนด

โดยอาจจะเป็นการคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากประสบอุบัติเหตุและต้องทำคลอดฉุกเฉินก่อนกำหนด หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ทำให้ต้องทำคลอดก่อนกำหนด ซึ่งการคลอดก่อนกำหนด อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งแม่และทารกได้ โดยอาจจะเป็นการคลอดธรรมชาติแบบฉุกเฉิน หรือผ่าคลอดฉุกเฉินก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการวินิจฉัยของแพทย์

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

กำหนดคลอดตามปกติคือกี่สัปดาห์


คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าปกติแล้วมีการ กำหนดคลอดกี่สัปดาห์ ? เพราะอาจจะชินกับการนับอายุครรภ์เป็นเดือน ซึ่งอาจสับสนได้เมื่อต้องนับเป็นสัปดาห์

อายุครรภ์ตามปกติแล้วจะมีทั้งหมด 40 สัปดาห์ (9 เดือน) แต่การกำหนดคลอดจะไม่กำหนดไปที่สัปดาห์ที่ 40 เพียงอย่างเดียว

แต่จะกำหนดไว้ระหว่างสัปดาห์ที่ 37-40 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว ทารกอาจจะคลอดออกมาตอนไหนก็ได้ อาจจะเป็นสัปดาห์ที่ 37, 38, 39 หรือสัปดาห์ที่ 40 เลยก็ได้ แต่บวกลบแล้วจะไม่เกินสัปดาห์ที่ 42

สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด


การคลอดก่อนกำหนด ถือว่าเป็นหนึ่งในความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ที่ไม่สามารถหาสาเหตุโดยตรงได้อย่างแน่ชัด

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ที่อาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด ได้แก่

  • มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน

  • มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อนหลายครั้ง หรือเคยทำแท้งมาหลายครั้ง หรือมีประวัติเป็นภาวะแท้งคุกคาม

  • ประสบอุบัติเหตุรุนแรง

  • ตั้งครรภ์ลูกแฝด

  • แม่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูก อุ้งเชิงกราน หรือรก เช่น มีภาวะรกเกาะต่ำ ปากมดลูกสั้น

  • แม่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อในร่างกาย

  • แม่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • แม่มีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไป หรือมากเกินไปขณะตั้งครรภ์

  • สูบบุหรี่หรือเสพสารเสพติด

  • ความเครียด ภาวะซึมเศร้า

สัญญาณที่เสี่ยงต่อการก่อนกำหนดคลอดมีอะไรบ้าง


การไปตรวจครรภ์ สามารถช่วยให้ทราบความเสี่ยงต่อแม่และทารกในครรภ์ได้ โดยแพทย์อาจตรวจพบสัญญาณที่จะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนี้

  • ทารกมีการเติบโตไม่สมส่วน เช่น ตัวเล็กผิดปกติ ศีรษะโตไม่สมส่วน

  • ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์

  • แพทย์ตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้น

  • อวัยวะของเด็กไม่เติบโตตามวัย หรือมีความพิการ

  • ทารกไม่ค่อยมีการตอบสนอง ไม่ดูด ไม่ดิ้น อาจทำให้ทารกกลืนอาหารลำบาก หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

อาการใกล้คลอดก่อนกำหนดมีอะไรบ้าง


หากมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น อาจเป็นอาการที่บ่งบอกว่าจะมีอาการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้

  • แม่สัมผัสได้ว่าลูกดิ้นน้อยจนผิดปกติ หรือแทบไม่ดิ้นเลย

  • มีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นบ่อย  

  • ปากมดลูกเปิด

  • น้ำคร่ำเดิน

  • มีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด

  • ความดันโลหิตสูง

  • มดลูกบีบตัวถี่ขึ้น

  • รู้สึกปวดท้องขึ้นมาเป็นพัก ๆ

ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้อย่างไร


สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดแม้จะกว้างจนไม่สามารถเจาะจงได้อย่างแน่ชัด ทำให้การป้องกันโดยตรงนั้นอาจจะทำได้ยาก แต่ก็ไม่ถึงกับป้องกันไม่ได้เลยเสียทีเดียว

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด ดังนี้

  • การเย็บผูกปากมดลูก (Cervical Cerclage) แม่ที่มีปัญหาปากมดลูกสั้นโดยได้รับการตรวจากแพทย์ ควรไปเข้ารับการผ่าตัดเย็บผูกปากมดลูก เพื่อให้ปากมดลูกปิดสนิทอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 3 ป้องกันไม่ให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

  • แม่ที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด การแท้ง หรือภาวะแท้งคุกคาม ควรปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่มากเกินไป และไม่น้อยจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือครรภ์เป็นพิษ ซึ่งภาวะเหล่านี้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

  • รักษาสุขภาพ แม่ที่มีปัญหาด้านการติดเชื้อ หรืออักเสบ ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อตามแม่ไปด้วย

  • ระมัดระวังกิจวัตรประจำวัน ควรลดการทำกิจกรรมหนักต่าง ๆ ลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ ซึ่งอาจจะทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

  • หมั่นทำจิตใจให้สบาย หาเวลาคลายเครียด เพราะสภาพจิตใจที่เครียดหรือซึมเศร้า มีผลต่อทารกในครรภ์ และอาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้

เด็กคลอดก่อนกำหนด มีผลเสียอย่างไรบ้าง


เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจพบกับความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายอย่าง เนื่องจากระบบในร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ โดยอาจพบกับความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

ผลข้างเคียงในระยะสั้น

  • มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากร่างกายของทารกยังพัฒนาระบบทางเดินหายใจได้ไม่เต็มที่

  • มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ความดันโลหิตต่ำ โรคหลอดเลือดหัวใจมีทางเดินเลือดผิดปกติ

  • มีความเสี่ยงต่อสมอง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีความเสี่ยงที่จะพบกับภาวะเลือดออกในสมอง

  • ต้องควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย หลังคลอดทันทีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีอุณหภูมิในร่างกายต่ำ หรือตัวเย็น จำเป็นต้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิร่างกายอย่างใกล้ชิด

  • ทารกเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากส่วนมากแล้วระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ทารกมักจะได้รับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด จึงอาจจะมีระบบภูมิคุ้มกันไม่มากพอที่จะต้านทานกับสิ่งแปลกปลอม

  • ตัวเหลือง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีอาการตัวเหลืองนานกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด

ผลข้างเคียงในระยะยาว

  • พัฒนาการด้านการเรียนรู้บกพร่อง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะมีภาวะการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด

  • โรคไหลตาย ซึ่งปกติโรคนี้ก็เกิดขึ้นบ่อยในเด็กทารกอยู่แล้ว ยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไหลตาย

  • สุขภาพฟันมีปัญหา เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาฟันขึ้นช้า หรือฟันขึ้นผิดรูปได้  

  • ปัญหาด้านการมองเห็น การคลอดก่อนกำหนดทำให้เด็กมีการพัฒนาจอประสาทตาก่อนกำหนดตามไปด้วย หรือที่เรียกว่า โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เกิดเส้นเลือดหรือเยื่อพังผืดขึ้นที่บริเวณจอประสาทตา ทำให้จอตาผิดปกติ อาจนำไปสู่การตาบอดหรือการมองเห็นบกพร่องได้

  • ปัญหาด้านการได้ยิน เด็กที่คลอดออกมาก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสูงที่จะพบกับความบกพร่องทางการได้ยิน

  • ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ปอดของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้หายใจลำบาก หรืออาจนำไปสู่โรคหอบหืดได้

การคลอดก่อนกำหนดจะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการช้าหรือไม่


เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันแต่ว่าคลอดตามกำหนด เนื่องจากสมองของทารกจะเติบโตได้เต็มที่ในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ทำให้สมองของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ช้าก็อาจจะมีทั้งช้ามาก ช้าน้อย หรือไม่มีความผิดปกติทางด้านการเรียนรู้เลยก็ได้ แม่ควรหมั่นพาทารกไปตรวจเช็กร่างกายกับแพทย์อยู่เสมอ เพื่อให้ทราบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หรือแนวทางในการดูแลลูกที่คลอดก่อนกำหนดเป็นพิเศษ

คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน อันตรายหรือเปล่า


ทารกที่คลอดก่อนกำหนด แต่คลอดในระหว่างสัปดาห์ที่ 36-37 จะไม่ถือว่ามีความเสี่ยงมากนัก หรือแทบไม่มีความเสี่ยงเลย

แต่...ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 36 หรือคลอดก่อนกำหนดชนิดที่เร็วมาก ๆ อย่างการคลอดก่อนกำหนด 7 เดือน ซึ่งมีอายุครรภ์ได้เพียง 27-30 สัปดาห์ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกสูงมาก

ดูแลลูกคลอดก่อนกำหนดอย่างไรได้บ้าง


คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ กุมารแพทย์ สูติ-นรีแพทย์อย่างเคร่งครัด และใกล้ชิด

เพราะทารกที่เกิดกำหนดมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงหลายประการ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิดและถูกต้อง เพื่อให้ทารกสามารถเติบโตและแข็งแรงต่อไป

โดยสามารถดูแลลูกที่คลอดก่อนกำหนดได้ ดังนี้

  • ให้ทารกได้กินนมแม่ เพราะเป็นสารอาหารสำคัญที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรงมากขึ้น

  • หมั่นสังเกตอุณหภูมิของทารกอยู่เสมอ เนื่องจากเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีอุณหภูมิร่างกายไม่ปกติ หากตัวเย็นเกินไป หรือตัวร้อนเกินไป ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

  • หลีกเลี่ยงการนำทารกไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน แออัด และมีมลพิษสูง เพราะเสี่ยงต่อมลภาวะที่อาจทำให้เด็กป่วยง่าย

  • ดูแลที่นอนของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ จัดห้องนอนที่มีอุณหภูมิเหมาะสม แสง และปราศจากเสียงรบกวน

  • ไม่ควรให้ใครต่อใครอุ้มลูกบ่อย ๆ เพราะเด็กเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากญาติพี่น้องคนอื่น ๆ ได้ง่าย

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะสัมผัสกับลูกเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับเชื้อโรคที่ติดมากับมือของพ่อแม่และคนอื่น ๆ

  • ทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวและคนรอบข้างถึงข้อจำกัดในการพบปะกับเจ้าตัวเล็ก ให้ทุกคนเข้าใจว่าลูกมีความเสี่ยง ไม่สามารถอุ้มเล่น หรือสัมผัสโดยตรงได้เหมือนกับเด็กทั่วไป เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามเหมือนกันด้วยความเข้าใจ

  • พาทารกไปตรวจเช็กสุขภาพอยู่เสมอ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจะได้สามารถรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ

ไขข้อข้องใจการคลอดก่อนกำหนดกับ Enfa Smart Club


 ท้อง 34 สัปดาห์ คลอดได้ไหม

การคลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้เพียง 34 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก และเด็กก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพตามมาด้วย

 คลอดก่อน กําหนด 32 สัปดาห์ ได้หรือเปล่า

การคลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้เพียง 32 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก และเด็กก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพตามมาด้วย

 คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน เด็กมีโอกาสรอดไหม

เด็กที่คลอดในเดือนที่ 7 เด็กมีแนวโน้มของการรอดชีวิตที่แตกต่างกัน ตั้งแต่รอดชีวิตได้เพียงไม่กี่วัน รอดชีวิตได้เพียงไม่กี่เดือน ไม่รอดชีวิต ไปจนถึงรอดชีวิตและเติบโตตามวัย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม เด็กที่คลอด 7 เดือน ถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงมาก อาจจะทำให้ทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน

 คลอดก่อนกำหนด 8 เดือน อันตรายไหม

อายุครรภ์ 8 เดือน แม้จะเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 แล้ว แต่ก็ยังถือว่าคลอดก่อนกำหนดอยู่ดี แต่เด็กมีแนวโน้มของการรอดชีวิตมากกว่าเด็กที่คลอดตอน 7 เดือน

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนดตอนอายุครรภ์ 8 เดือน จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยลงแต่อย่างใด

 คลอดก่อนกําหนด 6 เดือน เป็นไปได้ไหม

คลอดก่อนกำหนดเมื่อตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้ แต่พบได้ไม่บ่อยนัก และเด็กที่เกิดมาก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก เนื่องจากระบบในร่างกายของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

 ทารกคลอดก่อนกำหนด มองเห็นตอนกี่เดือน

ทารกคลอดก่อนกำหนด จะยังไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ในทันที ทั้งการมองเห็น หรือการได้ยิน แต่เมื่อคลอดผ่านไปแล้วประมาณ 8 สัปดาห์ ทารกก็จะเริ่มมองเห็นและมีพัฒนาการที่เป็นไปตามอายุจริง

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

EFB Form

EFB Form