Leaving page banner
 

น้ำนมน้อย น้ำนมหด น้ำนมไม่ไหล กู้น้ำนม

น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล จะกู้น้ำนมยังไงได้บ้าง

 

Enfa สรุปให้

  • น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน ไปจนถึงการที่คุณแม่ให้นมลูกช้าเกินไป ไม่ค่อยให้นมลูก รวมถึงปัญหาสุขภาพและการบาดเจ็บที่บริเวณเต้านมก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้แม่มีน้ำนมน้อย

  • การมีประจำเดือน ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมแม่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิ้นสุดรอบเดือน ทั้งนี้เนื่องจากช่วงที่มีประจำเดือนจะทำให้ความเข้มข้นของโปรแลคตินในร่างกายลดลง ซึ่งโปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่ เมื่อระดับฮอร์โมนโปรแลคตินลดลง กระบวนการผลิตน้ำนมแม่จึงลดลงตามไปด้วย

  • ปัญหาน้ำนมน้อย แม้จะฟังดูน่าวิตกกังวล แต่ปัญหาดังกล่าวก็เป็นปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน หมั่นดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้น้ำนมกลับมาเป็นปกติได้

  • สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องไม่ลืมให้น้ำนมจากเต้าที่มีแลคโตเฟอร์ริน ซึ่งจะพบได้มากที่สุดในช่วงน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันหลังคลอด เพื่อส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เสมือนวัคซีนธรรมชาติเข็มแรกที่ลูกจะได้รับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ
น้ำนมหด นมน้อย นมไม่พอ เกิดจากอะไร
น้ำนมไม่ค่อยมี ผิดปกติหรือไม่
น้ำนมน้อย ส่งผลเสียต่อลูกน้อยอย่างไร
• ให้ลูกได้กินน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน
รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
การกู้น้ำนมคืออะไร
วิธีกู้น้ำนมแม่ ฉบับปลอดภัย ได้ผลจริง
แม่น้ำนมน้อย ให้ลูกกินนมผงสลับกับนมแม่ได้ไหม?
ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำนมหดกับ Enfa Smart Club

หนึ่งในปัญหาที่แม่ให้นมบุตรหลายคนพบเจอกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือปัญหา น้ำนมหด ซึ่งทำให้คุณแม่มีน้ำนมน้อย ไม่พอจะให้เจ้าตัวเล็กกินในแต่ละวัน และปัญหาน้ำนมไม่พอนี้ก็เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย แต่คุณแม่สงสัยกันไหมว่า แล้วน้ำนมหด น้ำนมน้อยนี่มันเกิดจากอะไร ถ้าน้ำนมไม่ค่อยมี ถือว่าผิดปกติหรือเปล่า แล้วคุณแม่จะมีวิธีกู้น้ำนมอย่างไรได้บ้าง เรามาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

น้ำนมหด นมน้อย นมไม่พอ เกิดจากอะไร?


น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • คุณแม่เริ่มให้น้ำนมลูกช้าเกินไป

  • คุณแม่ให้นมลูกไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ค่อยให้นมลูก ให้ ๆ หยุด ๆ

  • กินยาหรืออาหารเสริมบางชนิดที่อาจมีผลต่อการให้นมลูก

  • มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับเต้านมมาหลายครั้ง

  • การคลอดก่อนกำหนด

  • คุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือมีภาวะโรคอ้วน

  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • ความเครียด ภาวะซึมเศร้า

  • การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

น้ำนมไม่ค่อยมี ผิดปกติหรือไม่? มาเข้าใจการผลิตน้ำนมของร่างกายคุณแม่กัน


ปัญหาน้ำนมน้อย แม้จะฟังดูน่าวิตกกังวล แต่ปัญหาดังกล่าวก็เป็นปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน หมั่นดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้น้ำนมกลับมาเป็นปกติได้

สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ตัวว่ามีน้ำนมน้อยจะต้องปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตทันที และควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา

น้ำนมน้อย ไม่พอเลี้ยงลูกส่งผลเสียอย่างไร?


หากทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารก ดังนี้

  • ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น

  • ทารกได้รับสารอาหารจากนมแม่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต อาจเสี่ยงที่จะไม่สบายบ่อย หรือติดเชื้อได้ง่าย เพราะน้ำนมแม่มีสารภูมิคุ้มกัน หากได้รับนมแม่น้อย ก็เสี่ยงที่ระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะไม่แข็งแรง ส่งผลให้ทารกมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยง่าย

 

ให้ลูกได้กินน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกขาดสารอาหาร สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องไม่ลืมเอาลูกเข้าเต้าทันทีหลังจากคลอด เพื่อที่ลูกน้อยจะได้รับน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาภายใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งในน้ำนมเหลืองจะพบโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีส่วนประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมากเรียกว่า แลคโตเฟอร์ริน ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงลดโอกาสที่ลูกน้อยจะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ


หากเจ้าตัวเล็กมีปฏิกิริยาดังต่อไปนี้เกิดขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าลูกน้อยกำลังได้รับนมไม่เพียงพอ

  • ทารกไม่ค่อยร่าเริง ง่วงนอนมากผิดปกติ

  • ทารกใช้เวลาดูดเต้านมน้อยกว่าปกติ เนื่องจากน้ำนมน้อย และอาจเผลอหลับคาเต้านมเร็วกว่าปกติ หรือบางกรณีอาจพบว่าทารกดูดนมคาเต้านานกว่าปกติก็ได้เช่นกัน

  • ทารกกัดหัวนมแรงและบ่อยขึ้น

  • น้ำหนักแรกเกิดของทารกไม่เพิ่มขึ้น หรือน้ำหนักขึ้นช้ากว่าเกณฑ์

  • อุจจาระน้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือปัสสาวะเป็นสีสนิม

การกู้น้ำนมคืออะไร?


การกู้น้ำนมหรือการเรียกน้ำนมแม่กลับคืน (Relactation) เป็นการเปิดโอกาสให้กับคุณแม่หลายคนที่เคยให้นมแม่มาก่อนแล้วหยุดให้นมไปช่วงหนึ่ง ได้สามารถกลับมามีน้ำนมให้ลูกอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยอาศัยการกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม

เตรียมตัวก่อนกู้น้ำนม


เมื่อคุณแม่ตั้งใจแน่วแน่ที่จะกู้น้ำนม คุณแม่ต้องดูแลโภชนาการให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและครบถ้วน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ และมีเวลาใกล้ชิดลูก ตามปกติแม่ที่ทำงานนอกบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการมีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้วหากมาหมั่นปั๊มในที่ทำงานด้วย หากคุณแม่ไม่มีเวลาอาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติที่จะพยายามเรียกน้ำนมแม่กลับคืน ทั้งนี้ระยะเวลาในการเรียกน้ำนมอาจจะ 2-3 วันไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ก็มี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายและระยะเวลาที่คุณแม่หยุดให้นมไป ถ้าหยุดให้นมไปนานก็จะใช้เวลามากกว่า

น้ำนมไหลน้อย น้ำนมไม่ไหล คุณแม่จะมีวิธีกู้น้ำนมได้อย่างไรบ้าง?


แม่ให้นมบุตรที่มีปัญหาน้ำนมหด น้ำนมน้อย สามารถดูแลตัวเองและกู้น้ำนมได้ ดังนี้

  • ให้ทารกได้กินนมแม่เร็วที่สุด หลังคลอดควรให้ทารกได้ดื่มนมทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำนมน้อย และทารกก็จะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นชินกับนมแม่นานกว่าปกติ

  • ให้นมลูกบ่อย ๆ ในหนึ่งวันแม่ควรให้นมบุตร 8-12 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง

  • ดูให้แน่ใจว่าทารกกัดหรือดูดหัวนมถูกจุด เพราะถ้าทารกกัดไม่ถูกหัวนม อาจทำให้ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ และอาจจะมีผลต่อหัวนมแม่ที่อาจจะเกิดการบาดเจ็บที่หัวนมจนน้ำนมไม่ไหลหรือไหลน้อย

  • เวลาให้นมควรให้ทั้งสองข้าง เพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำนมในรอยต่อ ๆ ไป เพราะการให้นมทารกแค่เพียงเต้าเดียวเป็นประจำ เสี่ยงที่จะทำให้น้ำนมไหลน้อย

  • หากลืมให้นมลูก ควรปั๊มนมเก็บไว้ทันทีที่นึกขึ้นได้ เพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำนมในรอบต่อ ๆ ไป และเพื่อไม่ให้มีน้ำนมไหลเกินออกมาเมื่อมีน้ำนมเต็มเต้า

  • ไม่กินยาสุ่มสี่สุ่มห้า แม่ให้นมบุตรควรกินยาตามที่แพทย์เห็นชอบเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์หรือเภสัชกร

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ สารนิโคตินในบุหรี่ และแอลกอฮอล์มีผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้

  • ใส่ใจกับอาหารการกิน หลังคลอดและช่วงเวลาให้นมบุตร คุณแม่ต้องใส่ใจกับอาหารการกินให้มากยิ่งขึ้น เพราะครั้งนี้อาหารที่กินเข้าไปจะถูกส่งต่อสารอาหารผ่านทางน้ำนม หากกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทารกก็อาจจะได้รับผลข้างเคียงทางสุขภาพด้วย หรือหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็จะทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดของคุณแม่ไม่ดีเท่าที่ควรด้วย

  • มีวินัยในการปั๊มนม ปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอตามตารางการปั๊มนม เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหล
    โดยเฉพาะคุณแม่ทำงานนั้นมักไม่สามารถให้ลูกดูดนมบ่อยได้ เพราะไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา ต้องมาปั๊มนมในที่ทำงาน และการกู้น้ำนมสำหรับแม่ทำงานนั้นหัวใจอยู่ที่วินัยและความสม่ำเสมอในการปั๊ม คุณแม่ต้องปั๊มนมให้ถี่ขึ้นทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 20-30 นาที โดยปั๊มให้ครบ 10 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง โดยช่วงสัปดาห์แรกที่กู้น้ำนมจะออกมาน้อยมากหรือบางคนไม่ออกมาเลย คล้ายกับช่วงแรกที่เริ่มปั๊มนมใหม่ ๆ หลังคลอด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณแม่ว่าหยุดให้นมนานแค่ไหน เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 น้ำนมจะเริ่มมาเองโดยที่คุณแม่ต้องรักษาความถี่ของการปั๊มอย่างต่อเนื่อง

  • เลือกใช้เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่ การปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มแบบปั๊มคู่จะทำให้ได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า ช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มนม และช่วยกระตุ้นน้ำนมด้วย

  • ใช้ยาช่วย คุณแม่สามารถใช้ยาแลคโตกัส (Lactogogues) เป็นตัวช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมร่วมกับการกระตุ้นเต้านมได้ และให้หยุดใช้ยาเมื่อน้ำนมมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาเพิ่มน้ำนมควรสั่งจ่ายโดยแพทย์และเภสัชกร และอยู่ในความดูแลของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองเด็ดขาด

  • ลดความถี่การปั๊มลงเมื่อน้ำนมมาแล้ว คุณแม่อาจใช้เวลาในการกู้น้ำนมอยู่ประมาณหนึ่งเดือนปริมาณน้ำนมจะค่อยๆ กลับมาเท่าเดิม จนในที่สุดสามารถมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอ เมื่อคุณแม่กู้จนได้ปริมาณน้ำนมตามที่ต้องการแล้ว ก็สามารถลดจำนวนการปั๊มให้เหลือ 7-8 ครั้งต่อ 24 ชั่วโมงได้ โดยที่ยังคงรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้

แม่น้ำนมน้อย ให้ลูกกินนมผงสลับกับนมแม่ได้ไหม?


สำหรับคุณแม่ที่น้ำนมหด น้ำนมน้อย แต่ต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ต่อไป ขอให้คุณแม่ตั้งใจจริงและไม่ยอมแพ้ น้ำนมแม่ก็จะกลับมาได้ในที่สุด แต่หากคุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอต่อลูกน้อย อาจจะเลือกให้นมผงสลับกับนมแม่จนกว่าจะกู้น้ำนมจนเพียงพอได้ 

คุณแม่ควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่ใกล้เคียงนมแม่ เช่น

  •  Lactoferrin โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้มากที่สุดในระยะน้ำนมเหลืองที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ทำหน้าที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน และลดอาการท้องเสีย ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ซึ่งเป็ฯสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  •  MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก
  •  DHA กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำนมหดกับ Enfa Smart Club


 ทำไมน้ำนมน้อย?

น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • คุณแม่เริ่มให้น้ำนมลูกช้าเกินไป

  • คุณแม่ให้นมลูกไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ค่อยให้นมลูก ให้ ๆ หยุด ๆ

  • กินยาหรืออาหารเสริมบางชนิดที่อาจมีผลต่อการให้นมลูก

  • มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับเต้านมมาหลายครั้ง

  • การคลอดก่อนกำหนด

  • คุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือมีภาวะโรคอ้วน

  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • ความเครียด ภาวะซึมเศร้า

  • การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์

 น้ำนมน้อย ทำไงดี?

แม่ให้นมบุตรที่มีปัญหาน้ำนมหด น้ำนมน้อย สามารถดูแลตัวเองและกู้น้ำนมได้ ดังนี้

  • ให้ทารกได้กินนมแม่เร็วที่สุด หลังคลอดควรให้ทารกได้ดื่มนมทันที เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำนมน้อย

  • ให้นมลูกบ่อย ๆ ในหนึ่งวันแม่ควรให้นมบุตร 8-12 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง

  • ดูให้แน่ใจว่าทารกกัดหรือดูดหัวนมถูกจุด เพราะถ้าทารกกัดไม่ถูกหัวนม อาจทำให้ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ และอาจจะมีผลต่อหัวนมแม่ที่อาจจะเกิดการบาดเจ็บที่หัวนมจนน้ำนมไม่ไหลหรือไหลน้อย

  • เวลาให้นมควรให้ทั้งสองข้าง เพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำนมในรอยต่อ ๆ ไป เพราะการให้นมทารกแค่เพียงเต้าเดียวเป็นประจำ เสี่ยงที่จะทำให้น้ำนมไหลน้อย

  • หากลืมให้นมลูก ควรปั๊มนมเก็บไว้ทันทีที่นึกขึ้นได้ เพื่อให้เกิดการสมดุลของน้ำนมในรอบต่อ ๆ ไป และเพื่อไม่ให้มีน้ำนมไหลเกินออกมาเมื่อมีน้ำนมเต็มเต้า

  • ไม่กินยาสุ่มสี่สุ่มห้า แม่ให้นมบุตรควรกินยาตามที่แพทย์เห็นชอบเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์หรือเภสัชกร

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ สารนิโคตินในบุหรี่ และแอลกอฮอล์มีผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้

  • ใส่ใจกับอาหารการกิน หากกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทารกก็อาจจะได้รับผลข้างเคียงทางสุขภาพด้วย หรือหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็จะทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดของคุณแม่ไม่ดีเท่าที่ควรด้วย ควรเลือกอาหารบำรุงน้ำนมที่จะช่วยทั้งฟื้นฟูร่างกายคุณแม่ และเพิ่มน้ำนมแม่แก่ลูกน้อย

  • มีวินัยในการปั๊มนม ปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอตามตารางการปั๊มนม เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหล

  • เลือกใช้เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่ การปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มแบบปั๊มคู่จะทำให้ได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า ช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มนม และช่วยกระตุ้นน้ำนมด้วย

  • ใช้ยาช่วย คุณแม่สามารถใช้ยาแลคโตกัส (Lactogogues) เป็นตัวช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมร่วมกับการกระตุ้นเต้านมได้ และให้หยุดใช้ยาเมื่อน้ำนมมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาเพิ่มน้ำนมควรสั่งจ่ายโดยแพทย์และเภสัชกร และอยู่ในความดูแลของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองเด็ดขาด

  • ลดความถี่การปั๊มลงเมื่อน้ำนมมาแล้ว เมื่อปริมาณน้ำนมกลับมาเท่าเดิมแล้ว ให้คุณแม่ลดการปั๊มนมลงเหลือเพียง 7-8 ครั้งต่อวันก็เพียงพอแล้ว

 นมแม่ผสมนมผงได้ไหม?

นมแม่ ควรเป็นนมแม่เพียว ๆ ไม่ผสมน้ำเปล่า หรือผสมกับสิ่งอื่น เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ทารกท้องเสีย หรือเกิดการปนเปื้อน สำหรับทารกแล้ว นมแม่อย่างเดียวดีที่สุดโดยไม่ต้องผสมสิ่งอื่นเข้ามา

 ประจำเดือนมา น้ำนมหดจริงหรือ?

การมีประจำเดือน ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมแม่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิ้นสุดรอบเดือน ทั้งนี้เนื่องจากช่วงที่มีประจำเดือนจะทำให้ความเข้มข้นของโปรแลคตินในร่างกายลดลง ซึ่งโปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่ เมื่อระดับฮอร์โมนโปรแลคตินลดลง กระบวนการผลิตน้ำนมแม่จึงลดลงตามไปด้วย

 ฉีดวัคซีนแล้วน้ำนมหด จริงหรือเปล่า?

แม่ให้นมบุตรสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัด วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากวัคซีนก็จะสามารถส่งผ่านทางน้ำนมไปยังทารกได้ และอาจช่วยให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม มีวัคซีนบางชนิดที่คุณแม่ให้นมบุตรไม่สามารถเข้ารับได้ เพราะอาจส่งผลข้างเคียงไปยังทารกผ่านน้ำนมแม่ เช่น วัคซีนไข้ทรพิษ วัคซีนป้องกันไข้เหลือง เป็นต้น

ดังนั้น ก่อนฉีดวัคซีนใด ควรปรึกษากับแพทย์ให้แน่ใจก่อนว่าปลอดภัยสำหรับแม่ให้นมบุตรจริง ๆ

 เดือนกว่าแล้ว น้ำนมน้อยทำไงดี?

ปัญหาน้ำนมน้อยแม้จะน่ากังวล แต่ก็เป็นปัญหาชั่วคราว และสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ คุณแม่ควรลองปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการกิน แล้วดูว่าน้ำนมเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากน้ำนมยังคงน้อยอยู่ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

 นานไหมกว่าน้ำนมจะมาเยอะ?

ปริมาณน้ำนมของแม่แต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนน้ำนมมาก บางคนน้ำนมน้อย ในส่วนของแม่ที่น้ำนมน้อยก็ยังแตกต่างกันไปอีก บางคนอาจจะกลับมามีน้ำนมปกติภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ขณะที่บางคนอาจใช้เวลาหลายเดือน ควรปรึกษากับแพทย์ถึงวิธีกู้น้ำนม ในกรณีที่ได้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วยังไม่เห็นผล



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์



EFB Form

EFB Form