Leaving page banner
 
Leaving page banner
 

ท้องแข็ง

ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ อันตรายมากน้อยแค่ไหน

Enfa สรุปให้

  • อาการท้องแข็ง คืออาการปวด เจ็บ ที่บริเวณท้องหรือท้องน้อย เมื่อสัมผัสที่บริเวณท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องตึง ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ อยู่ภายในท้อง มักพบได้บ่อยเป็นปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

  • อาการอาการท้องแข็งที่ไม่มีอาการปวดท้อง หรือปวดท้องแต่หายเองได้ หรือกินยาแก้ปวดก็หาย ถือเป็นสัญญาณของอาการเจ็บครรภ์หลอก

  • อาการอาการท้องแข็งและมีอาการปวดท้องร่วมด้วย โดยจะปวดทุก ๆ 5-15 นาที แต่ละครั้งที่มีอาการปวด จะปวดอยู่ประมาณ 5-50 วินาที และอาการปวดไม่หายไป มีน้ำคร่ำไหลออกจากช่องคลอด ปากมดลูกเริ่มขยาย เป็นสัญญาณว่าทารกกำลังจะคลอดในเร็ว ๆ นี้

ท้องแข็ง ท้องตึง จับท้องแล้วเป็นก้อนแข็ง เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เพราะถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของอาการใกล้คลอด แต่อาการท้องแข็งแบบไหนที่เกิดขึ้นบ่อยแล้วปกติ และอาการท้องแข็งแบบไหนที่เกิดบ่อยแล้วเสี่ยงอันตราย เรามาหาคำตอบกันเลย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาการท้องแข็งเป็นยังไง
     • ท้องแข็งเกิดจากอะไร
     • อาการท้องแข็งมีกี่แบบ
     • ท้องแข็งบ่อยอันตรายไหม
     • ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง 
     • ท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ 
     • อาการท้องแข็งเป็นก้อน 
     • เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
     • บรรเทาอาการท้องแข็ง
     • ไขข้องใจเรื่องอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club

อาการท้องแข็งเป็นอย่างไร


อาการท้องแข็ง คือ อาการปวด เจ็บ ที่บริเวณท้องหรือท้องน้อย เมื่อสัมผัสที่บริเวณท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องตึง ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ อยู่ภายในท้อง มักพบได้บ่อยเป็นปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ

อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บท้องแข็งนี้มีหลายกรณีที่ต้องพิจารณาคือ ท้องแข็งแบบใกล้จะคลอดจริง ๆ หรือเป็นเพียงอาการเจ็บครรภ์หลอกหรือเจ็บท้องเตือนเท่านั้น

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

รู้จักสาเหตุของอาการท้องแข็งในคนท้อง


อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

  • มดลูกบีบตัว

  • ทารกในครรภ์ดิ้นแรง พลิกตัวแรง หรือโก่งตัว

  • กินอาหารอิ่มจนเกินไป

  • กลั้นปัสสาวะ

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์แบ่งเป็นกี่แบบ


อาการท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวตามปกติ (Braxton Hick Contraction)

อาการท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hick Contraction) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาการเจ็บหลอก หรือเจ็บครรภ์หลอก พบในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากการหดตัวของมดลูก ทำให้คุณแม่รู้สึกตึงหรือแน่นที่บริเวณท้อง มีอาการปวดท้องเป็นระยะ ๆ ไม่สม่ำเสมอ แต่จะไม่ใช่อาการปวดจนทรมาน

และอาการเหล่านี้สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องกินยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งการหดตัวของมดลูกในระยะนี้จะทำให้ปากมดลูกเริ่มอ่อนตัวลงเพื่อพร้อมสำหรับการคลอด แต่ปากมดลูกจะยังไม่ขยาย ไม่มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด และจะยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้นในระยะนี้

อาการท้องแข็งใกล้คลอด (Labor Contractions)

อาการท้องแข็งเนื่องจากใกล้คลอด มักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 38 - 40 ของการตั้งครรภ์ หรือช่วงใกล้กำหนดวันคลอด โดยคุณแม่จะสัมผัสได้ว่าหน้าท้องมีก้อนแข็ง ๆ และมีอาการปวด โดยจะปวดทุก ๆ 5-15 นาที และแต่ละครั้งที่มีอาการปวด จะปวดอยู่ประมาณ 5-50 วินาที  อาการปวดนี้จะไม่หายไปเอง มีแต่จะปวดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ปากมดลูกเริ่มขยาย และมีมูกหรือของเหลวที่มีเลือดปนไหลออกจากช่องคลอด เป็นสัญญาณว่าทารกกำลังจะคลอดในเร็ว ๆ นี้

ท้องแข็งบ่อยถือเป็นเรื่องปกติไหมนะ? คนท้องท้องแข็งบ่อยอันตรายไหม


อาการท้องแข็งสามารถพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีอาการเจ็บท้องแข็งประมาณ 3-4 คร้งต่อวัน แต่จะไม่ถึงขนาดกับว่ามีอาการท้องแข็งทุกวันหรือทั้งวัน ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งมากกว่าปกติ หรือท้องแข็งบ่อยและสม่ำเสมอจนผิดสังเกต ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย

แม่ใกล้คลอด ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวด ควรกังวลไหม


หากมีอาการท้องแข็งแต่ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย อาจเป็นอาการเจ็บครรภ์หลอก เพียงนั่งพักหรือกินยา อาการก็สามารถจะทุเลาลงและหายไปเองได้ ไม่ถือว่าเป็นอาการที่น่ากังวลแต่อย่างใด

ท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ แบบนี้อันตรายหรือเปล่า


อาการท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ หากมีอาการปากมดลูกเปิด และมีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นอาการเตือนทารกใกล้จะคลอดออกมาเร็ว ๆ นี้

แต่...ถ้ามีอาการท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ แต่ปากมดลูกไม่เปิด และไม่มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด หรืออาการปวดนั้นไม่หายไปแม้ว่าจะกินยาบรรเทาอาการปวดแล้วก็ตาม ก็ควรไปพบแพทย์ในทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของแม่และเด็ก

อาการท้องแข็งเป็นก้อน หรือท้องปั้นแข็ง เป็นอาการผิดปกติหรือไม่


อาการท้องแข็งเป็นก้อน หรือท้องปั้นแข็งเป็นก้อนกลม ๆ หรือมีอาการท้องปั้นบ่อย โดยทั่วไปแล้วไม่ถือว่าเป็นอาการผิดปกติเสียทีเดียว

แต่...ถ้าหากมีอาการท้องแข็งเป็นก้อน หรือท้องปั้นแข็ง โดยที่ยังไม่ใกล้กำหนดคลอด และมีอาการปวดรุนแรงร่วมด้วย ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากแม่ท้องมีการกลั้นปัสสาวะบ่อย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา

ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ


หากมีอาการท้องแข็ง ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการท้องแข็ง แต่ไม่มีอาการปวด และท้องแข็งบ่อยและสม่ำเสมอ

  • มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวด แต่อาการปวดไม่ทุเลาลง แม้ว่าจะพักผ่อนหรือกินยาบรรเทาอาการปวดแล้ว

  • มีอาการท้องแข็งก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

  • มีอาการท้องแข็ง น้ำใสไหลออกจากช่องคลอด

  • มีอาการท้องแข็ง และมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด

  • ปกติอาการท้องแข็งจะปวดทุก ๆ 5-10 นาที แต่ถ้ามีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดเกิดขึ้นในแต่ละรอบ โดยที่ยังไม่ถึง 5 นาทีก็ปวดขึ้นมาอีก ควรไปพบแพทย์ทันที

วิธีแก้อาการท้องแข็งที่คุณแม่ควรรู้


หากเริ่มมีอาการท้องแข็ง คุณแม่สามารถดูแลตัวเองง่าย ๆ ได้ ดังนี้

  • ลดการทำงานหนัก โดยเฉพาะงานที่ต้องมีการยก แบก หรือใช้แรง

  • ไม่กลั้นปัสสาวะโดยเด็ดขาด เพราะการกลั้นปัสสาวะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง

  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาส 3 หรือช่วงที่เริ่มมีอาการท้องแข็ง

  • หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เพื่อไม่ให้ตัวเองเครียด เพราะความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง

  • เมื่อมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้น ลองลุกขึ้นเดิน หรือเปลี่ยนอริยาบทบ่อย ๆ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

  • กินอาหารเอาแค่พออิ่ม ไม่กินจนอิ่มมากเกินไป

  • อาบน้ำอุ่น หรือประคบเย็น ที่บริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณหลัง ซึ่งจะช่วยในการผ่อนคลาย

ไขข้องใจเรื่องอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club


 อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน ปกติหรือไม่?

อาการท้องแข็งสามารถพบได้บ่อยในช่วงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น อาการท้องแข็งในเดือนที่ 8 จึงสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่ถ้ามีอาการท้องแข็งอย่างสม่ำเสมอ และมีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอด ควรไปพบแพทย์ทันที

 อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 5 เดือน ปกติหรือไม่?

อาการท้องแข็งบางครั้งก็สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนมากจะพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 เสียมากกว่า ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งในเดือนที่ 5 ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่ถ้าในเดือนที่ 5 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

 อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 4 เดือน ปกติหรือไม่?

อาการท้องแข็งบางครั้งก็สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนมากจะพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 เสียมากกว่า ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งในเดือนที่ 4 ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่ถ้าในเดือนที่ 4 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าผิดดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

 ท้องแข็งถี่แต่ไม่ปวดท้อง ควรไปพบแพทย์ไหม?

อาการท้องแข็งถี่ และไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย โดยมากแล้วเราจะสันนิษฐานว่าเป็นอาการเจ็บครรภ์หลอก เพียงพักผ่อนหรือปรับอริยาบถก็จะรู้สึกดีขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์

อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วยว่ามีอาการท้องแข็งสม่ำเสมอ มีของเหลวใสไหลออกจากช่องคลอด หรือมีมูกเลือดออกหรือไม่ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการคลอด ควรไปพบแพทย์ทันที

 ท้องน้อยแข็ง ประจำเดือนไม่มา แบบนี้เป็นอาการคนท้องหรือเปล่า?

หากประจำเดือนไม่มา และตรวจการตั้งครรภ์แล้วพบว่าท้อง ก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่ากำลังมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ส่วนอาการท้องน้อยแข็งนั้น โดยมากมักไม่พบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

ดังนั้น หากตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก และมีอาการท้องน้อยแข็งร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการแท้ง

 ท้องแข็งบ่อยตอนอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ เป็นอาการเตือนใกล้คลอดหรือเปล่า?

อาการท้องแข็งมักพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด และจะมีอาการใกล้คลอดต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมาด้วย เป็นสัญญาณให้รู้ว่าใกล้คลอดแล้ว เช่น ทารกเริ่มกลับหัว มีมูกเลือด หรือน้ำใสไหลออกจากช่องคลอด ท้องแข็ง เป็นต้น

 ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย ต้องกังวลเรื่องคลอดก่อนกำหนดไหม?

ช่วงเดือนที่ 7 อาจพบกับอาการท้องแข็งได้บ้าง หรืออาจจะเกิดขึ้นบ่อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลก็ได้

แต่ถ้าในเดือนที่ 7 มีอาการท้องแข็งบ่อย ร่วมกับอาการปวดท้อง น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

 ท้อง 1 เดือน ท้องแข็งไหม?

ท้อง 1 เดือน โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีอาการท้องแข็งร่วม เพราะมดลูกยังไม่ขยายพอที่จะเกิดการบีบตัวหรือหดตัว

แต่ถ้ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนแรกหรือไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

 ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน อันตรายไหม?

อาการท้องแข็งนั้น โดยมากมักไม่พบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

ดังนั้น หากพบว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรก ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

 อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน ปกติไหม?

อาการท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 แต่จะพบได้บ่อยในช่วงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น อาการท้องแข็งในเดือนที่ 7 จึงสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่ถ้าในเดือนที่ 7 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดท้อง น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์ทันที

 อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน ปกติไหม?

อาการท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 แต่จะพบได้บ่อยในช่วงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น อาการท้องแข็งในเดือนที่ 6 จึงสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่ถ้าในเดือนที่ 6 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์ทันที

 ตั้งครรภ์ นอนหงาย แล้วท้องแข็ง แบบนี้ปกติหรือไม่?

หากนอนหงายแล้วรู้สึกว่าท้องแข็ง ไม่ถือว่าเป็นอาการผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น คุณแม่กินอิ่มจนเกินไป หรือลูกน้อยกำลังดิ้น การเปลี่ยนอริยาบทจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคง นั่ง หรือเดิน ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการท้องแข็งได้

 ท้องแข็ง หายใจไม่สะดวก เป็นอาการปกติระหว่างตั้งครรภ์ไหม?

หากมีอาการท้องแข็งติดกันถี่ ๆ 4-5 ครั้งต่อวัน โดยท้องแข็งแต่ละครั้งจะนานตั้งแต่ 10-15 นาที มีอาการปวดท้องร่วมด้วย และอาการปวดนั้นไม่ทุเลาลง จนรู้สึกหายใจไม่ออก หรือหายใจไม่สะดวก ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการคลอดได้

 ท้อง 2 เดือน ท้องแข็งไหม?

อาการท้องแข็งนั้น โดยมากมักไม่พบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรก ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

 ท้องแข็งใกล้คลอดอันตรายไหม? ควรรีบไปโรงพยาบาลเลยหรือเปล่า?

อาการท้องแข็งนั้น แบ่งเป็น ท้องแข็งแบบเจ็บครรภ์หลอก และท้องแข็งแบบใกล้คลอด ซึ่งทั้งสองอาการนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณใกล้คลอดทั้งสิ้น สิ่งสำคัญคือควรเช็กดูว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยไหม เช่น มีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล มีมูกเลือด ซึ่งอาการเช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญาณปกติของอาการใกล้คลอด และควรไปพบแพทย์ทันที


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์








    EFB Form

    EFB Form