Enfa สรุปให้

  • ช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่คุณแม่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ คือ 10 - 14 วัน หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ในวันไข่ตกโดยไม่มีการป้องกัน

  • ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มตรวจครรภ์คือ 1 วันนับจากวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมาแต่ไม่มา หรือหลังจากวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมาคลาดเคลื่อน การตรวจครรภ์หลังประจำเดือนขาดจะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า

  • ตัวอ่อนในอายุครรภ์ 1 สัปดาห์นั้นมีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดที่เล็กกว่าเม็ดทรายเม็ดเล็ก ๆ เสียอีก

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม
     • สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์
     • อาการคนท้อง 1 สัปดาห์
     • ลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 1 สัปดาห์
     • พัฒนาการเด็กในครรภ์อายุ 1 สัปดาห์
     • ข้อควรระวังคนท้อง 1 สัปดาห์
     • โภชนาการคนท้อง 1 - 2 สัปดาห์

หลังจากวันตกไข่ หากทุกอย่างเป็นใจ สภาวะร่างกายพร้อม โอกาสที่จะมีการปฏิสนธิและเกิดการตั้งครรภ์ก็สามารถเป็นไปได้ แต่หลังจากที่การปฏิสนธิสำเร็จแล้ว คุณแม่จะต้องรอกี่วันถึงจะตรวจพบการตั้งครรภ์?

ถ้าหากท้อง 1 สัปดาห์จะตรวจครรภ์เจอไหม? ช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์คือเมื่อไหร่กันแน่นะ? บทความนี้จาก Enfa พร้อมจะไขข้อข้องใจให้ทุกท่านแล้วค่ะ

ท้อง 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม


ท้อง 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม? คำถามนี้อาจต้องทำความเข้าใจออกเป็น 2 กรณีค่ะ ว่ากำลังพูดถึง 1 อาทิตย์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ในวันไข่ตกโดยไม่ป้องกัน หรือกำลังพูดถึง 1 อาทิตย์หลังจากพบว่าประจำเดือนขาด

หากเป็นกรณีแรก คำตอบมีทั้งเจอ และไม่เจอค่ะ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ช่วงเวลา 7 - 10 วันหลังจากการมีเซ็กซ์ในวันตกไข่โดยไม่ป้องกัน คุณแม่สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้จริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะตรวจพบว่า ช่วงเวลานี้อาจจะดูเร็วเกินไปสักหน่อย เพื่อความแม่นยำที่มากขึ้นควรรออย่างน้อย 10 - 14 วันขึ้นไปแล้วจึงทำการตรวจครรภ์

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา 7 - 10 วันนี้ ร่างกายก็เริ่มผลิตฮอร์โมนตั้งครรภ์ หรือ hCG ออกมาแล้วค่ะ ทำให้คุณแม่หลายคนสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน ในคุณแม่บางคนอาจมีระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์น้อยอยู่ บางครั้งการตรวจครรภ์ในระยะนี้ก็อาจจะขึ้นแค่ 1 ขีดได้ค่ะ

ส่วนกรณีตรวจครรภ์ 1 สัปดาห์หลังจากประจำเดือนขาด โดยมากแล้วก็จะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ค่ะ เพราะช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์แนะนำก็คือ สามารถตรวจได้ทันทีหลังจากพบว่าประจำเดือนขาด

เว้นเสียแต่ว่ามีคุณผู้หญิงมีปัญหาเรื่องประจำเดือนมาไม่ปกติอยู่แล้ว กรณีนี้ก็อาจจะไม่ได้เอะใจและตรวจครรภ์หลังจากประจำเดือนขาด 1 สัปดาห์ หรือถ้าลองตรวจดูผลลัพธ์ก็อาจจะขึ้น 2 ขีดก็ได้ค่ะ

สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์


สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์ สัญญาณแรกที่เด่นชัด และถือว่าเป็นสัญญาณสำคัญที่ทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนเริ่มเอะใจว่านี่อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังตั้งครรภ์ สัญญาณที่ว่านั้นก็คือประจำเดือนขาดค่ะ

หากคุณแม่สังเกตว่าประจำเดือนขาดไป 1 สัปดาห์หลังจากวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา และวันที่คาดว่าประจำเดือนจะคลาดเคลื่อนแล้ว ให้คุณแม่ลองตรวจครรภ์ดูค่ะ หากคุณแม่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์


แม้ว่าจะฟังดูเร็วไปหน่อย แต่มีคุณแม่หลายคนที่สามารถสังเกตได้ถึงอาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ ซึ่งลักษณะอาการก็จะแตกต่างกันไปในคุณแม่แต่ละคนนะคะ บางคนสัมผัสได้มาก บางคนสัมผัสได้น้อย และบางคนไม่รู้สึกถึงอาการใด ๆ เลยก็มีค่ะ โดยอาการท้อง 1 สัปดาห์ที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้

          • ประจำเดือนขาด นับหลังจากวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา หรือวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมาคลาดเคลื่อน

          • มีอาการคัดตึงเต้านม เจ็บแปล๊บ ๆ ที่หัวนม หลังจากขาดประจำเดือนไป 1 สัปดาห์

          • ปวดหน่วงท้องน้อย ปวดคล้ายเป็นตะคริว เนื่องจากมดลูกเริ่มขายตัวเพื่อรองรับตัวอ่อนที่ปฏิสนธิ

          • มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม อ่อนเพลีย เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง

          • กินมากผิดปกติ หรือเบื่ออาหาร หรือไวต่อกลิ่นต่าง ๆ อันเป็นผลพวงมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนไป

          • มีเลือดออกกระปริดกระปรอย โดยอาจมีสาเหตุมาจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่มดลูก ส่งผลให้มีเลือดไหลออกมา

ลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 1 สัปดาห์


ลักษณะพุงคนท้อง 1 สัปดาห์นั้นเป็นอย่างไร? ถ้าหากไม่นับหน้าท้องคุณแม่หลังจากกินอาหารจนอิ่มและพุงป่อง หน้าท้องของคุณแม่ที่อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ก็ถือว่าเหมือนเดิมค่ะ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากขนาดตัวอ่อนในช่วงนี้ยังมีขนาดเล็กมากเกินกว่าที่จะดันให้หน้าท้องนูนออกมาได้

อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ พัฒนาการของลูกในครรภ์เป็นยังไง


พัฒนาการของทารกในครรภ์นั้นไม่ได้เพิ่งมาเริ่มเอาตอนที่ทารกในครรภ์เริ่มมีรูปร่างคล้ายเด็กทารกนะคะ เพราะในความเป็นจริงแล้วทารกในครรภ์นั้นเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่เริ่มกระบวนการปฏิสนธิค่ะ

ขนาดทารกในครรภ์ 1 สัปดาห์

ขนาดทารกในครรภ์ 1 สัปดาห์นั้น ถือว่าเล็กมาก ๆ ค่ะ โดยในช่วงสัปดาห์ที่ 3 นั้น ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่ากับทรายเม็ดเล็ก ๆ เท่านั้นเองค่ะ ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ตัวอ่อนจึงมีขนาดเล็กมาก อาจเล็กกว่าเม็ดทรายด้วยซ้ำไป

ขนาดทารก 3 สัปดาห์

ท้อง 1 สัปดาห์ ลูกกำลังทำอะไรอยู่นะ

จริง ๆ แล้วกระบวนการตั้งครรภ์นั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ไข่กับอสุจิทำการปฏิสนธิกัน ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกนั้นก็คือสัปดาห์แห่งการปฏิสนธิและย้ายตัวอ่อนไปฝังตัวที่มดลูกค่ะ ซึ่งในช่วงนี้ตัวอ่อนในครรภ์จะเป็นเพียงเซลล์ที่มีขนาดเล็ก ๆ ที่เล็กมาก ๆ ค่ะ

คนท้อง 1 สัปดาห์ มีข้อควรระวังบ้าง


จริง ๆ แล้วคุณแม่ที่ตรวจครรภ์หลังจากประจำเดือนขาดไป 1 สัปดาห์แล้วพบว่าตั้งครรภ์นั้น ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะ เพียงแต่ต้องเริ่มใส่ใจเรื่องอาหารการกินทันที

งดแอลกอฮอล์ ลดคาเฟอีน เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและสารเคมีต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะปัจจัยเหล่านี้หากไม่หลีกเลี่ยงหรือเลิกให้ขาดในขณะตั้งครรภ์ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ค่ะ

โดยสิ่งที่ควรเริ่มทำหลังจากตรวจพบการตั้งครรภ์ก็คือการไปฝากครรภ์ทันทีค่ะ เพื่อเข้าสู่กระบวนการดูแลครรภ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก เพื่อให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างสมบูรณ์และสมวัย

อาหารคนท้อง 1 - 2 สัปดาห์


ช่วง 1 - 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์นั้น คุณแม่หลาย ๆ คนก็เริ่มมีอาการคนท้องแสดงออกมาหลายรูปแบบค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

          • ประจำเดือนขาด นับหลังจากวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา หรือวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมาคลาดเคลื่อน

          • มีอาการคัดตึงเต้านม เจ็บแปล๊บ ๆ ที่หัวนม หลังจากขาดประจำเดือนไป 1 สัปดาห์

          • ปวดหน่วงท้องน้อย ปวดคล้ายเป็นตะคริว

          • มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม อ่อนเพลีย

          • กินมากผิดปกติ หรือเบื่ออาหาร หรือไวต่อกลิ่นต่าง ๆ

          • มีเลือดไหลกระปริดกระปรอย

          • มีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน

          • ปัสสาวะบ่อย

          • มีตกขาวมากผิดปกติ

ซึ่งเมื่อเริ่มมีอาการคนท้องแสดงออกมา และผลตรวจครรภ์ออกมาว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ให้คุณแม่รีบไปทำการฝากครรภ์ทันที และเริ่มปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน คุณแม่ต้องใส่ใจอาหารที่มีประโยชน์ กินให้หลากหลาย ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืช วิตามินสำหรับคนท้อง

แม้แต่นมสำหรับคนท้องคุณแม่ก็ควรเลือกที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย เน้นโภชนาการที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์อย่างดีเอชเอ โคลีน โฟเลต แคลเซียม ธาตุเหล็ก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและดีต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

Enfamama TAP No. 1



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์