Enfa สรุปให้

  • เมื่อเด็กอายุย่างเข้าวัย 6 เดือนขึ้นไป ก็ถือเป็นการนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาสำหรับ อาหารมื้อแรกของลูก เพราะทารกเริ่มมีพัฒนาการทางช่องปาก ฟัน ลิ้น กระพุ้งแก้ม ที่แข็งแรงมากขึ้น สามารถที่จะบดเคี้ยวอาหารอ่อน ๆ ไปจนถึงอาหารที่มีความแข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้บ้างแล้ว ทำให้เด็กสามารถกินอาหารชนิดอื่น ๆ ควบคู่กับนมแม่ได้

  • อาหารมื้อแรกของลูก หรือก็คือ Solid Food หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาหารตามวัยเด็กทารก หรืออาหารแข็ง คือ อาหารอื่น ๆ ที่ทารกได้รับเป็นมื้อ นอกเหนือจากนมแม่ หรือนมผง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รับประโยชน์มากมาย

  • การเปลี่ยนอาหารตามวัยเด็กทารก เป็นสิ่งใหม่สำหรับลูกน้อย จำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึก เด็กบางคนอาจจะสามารถเริ่มต้นกับอาหารใหม่ได้ง่าย บางคนอาจจะมีปัญหาในการเปลี่ยนอาหาร อาจจะยังไม่ยอมกิน คายทิ้ง ค่อย ๆ ฝึก และปรับไปเรื่อย ๆ ลูกน้อยจะเริ่มคุ้นชินกับอาหารใหม่

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • เตรียมความพร้ออาหารมื้อแรกของลูก
     • เริ่มต้นอาหารมื้อแรกยังไงดี
     • ตัวอย่างอาหารมื้อแรก
     • อาหารตามวัยและโภชนาการที่มี MFGM
     • อาหารตามวัย วัยไหนต้องกินอะไร
     • สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเริ่มอาหารตามวัย
     • อาหารนอกเหนือจากนมแม่ เริ่มได้ตอนไหน
     • คำแนะนำก่อนเริ่มให้อาหารเด็กเล็ก
     • ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารเสริมตามวัยกับ Enfa Smart Club

นมแม่คือแหล่งของสารอาหารที่ดีที่สุดของทารก แต่เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น นมแม่เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามวัยของทารก และทารกจำเป็นที่จะต้องได้รับอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อให้เด็กได้เติบโตสมวัย บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณแม่มาเตรียมพร้อม อาหารมื้อแรกของลูก มาดูกันว่าอาหารตามวัยที่เหมาะสมมีอะไรบ้าง และอาหารเด็กทารกแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง

เตรียมความพร้อมสู่ อาหารมื้อแรกของลูก


เมื่อเด็กอายุย่างเข้าวัย 6 เดือนขึ้นไป ก็ถือเป็นการนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาสำหรับ อาหารมื้อแรกของลูก เพราะทารกเริ่มมีพัฒนาการทางช่องปาก ฟัน ลิ้น กระพุ้งแก้ม ที่แข็งแรงมากขึ้น สามารถที่จะบดเคี้ยวอาหารอ่อน ๆ ไปจนถึงอาหารที่มีความแข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้บ้างแล้ว ทำให้เด็กสามารถกินอาหารชนิดอื่น ๆ ควบคู่กับนมแม่ได้

ซึ่งอาหารมื้อแรกของลูก หรือก็คือ Solid Food หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาหารตามวัยเด็กทารก หรืออาหารแข็ง คือ อาหารอื่น ๆ ที่ทารกได้รับเป็นมื้อ นอกเหนือจากนมแม่ หรือนมผง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รับประโยชน์มากมาย ดังนี้

          • ทารกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสมตามวัย และดีต่อการเจริญเติบโต
          • ช่วยให้ทารกสามารถปรับตัวจากการกินอาหารเหลว เป็นอาหารแข็ง
          • ทารกได้ฝึกพัฒนาการกลืนและการเคี้ยว
          • เป็นการเตรียมพร้อมให้ทารกปรับตัวรับกับพัฒนาการในการกินในช่วงวัยที่โตขึ้น

เริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกยังไงดี


ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกกินอาหาร Solid Food อย่างเต็มรูปแบบ คุณแม่จะต้องเริ่มต้นสร้างการรับรู้ถึงลำดับพัฒนาการในการกินของทารกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

          • ทารกตั้งแต่แรกคลอด จนถึงอายุ 6 เดือน คุณแม่ควรให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเพียงพอ เพราะนมแม่แค่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกนั้น อุดมไปด้วยสารอาหารและโภชนาการที่มีประโยชน์ และเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

          • เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือนแล้ว คุณแม่ควรเริ่มให้เด็กได้รู้จักกับอาหารอ่อน ๆ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ โดยเริ่มจากการให้เด็กได้กินข้าวต้ม ผลไม้บด ผักบด เพียง 2-3 ช้อน วันละ 2 ครั้ง

          • เมื่อเด็กเริ่มชินกับอาหารอ่อนแล้ว คุณแม่จึงค่อย ๆ เริ่มสลับมาป้อนอาหารที่แข็งขึ้นบ้างเล็กน้อย เพื่อให้เด็กปรับตัวเข้ากับการเคี้ยวและการกลืน

ตัวอย่างรายการอาหารมื้อแรกของลูก


แรกเริ่มของการให้เด็กได้กินอาหารเด็กทารก ควรเริ่มจากอาหารอ่อนที่มีการบดละเอียด เช่น กล้วยบด มันบด หรือผักบดชนิดต่าง ๆ เมื่อเด็กเริ่มชินกับการกินอาหารอ่อนแล้ว จึงค่อย ๆ สลับมาให้อาหารที่มีเนื้อหยาบขึ้น

กล่าวคืออาจใช้ผักและผลไม้ต่าง ๆ เหมือนเดิม แต่ไม่ต้องบดให้ละเอียดมากนัก จนเมื่อเด็กเริ่มอายุย่างเข้าเดือน 8-9 แล้ว จึงเริ่มปรับมาเป็นข้าวต้ม โจ๊ก หรืออาหารที่มีความแข็งมากขึ้น เช่น แครอทต้ม ฟักทองต้ม มันต้ม

ส่วนอาหารที่มีความแข็ง และมีขนาดเล็กอย่างข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ธัญพืชต่าง ๆ ยังไม่ควรให้เด็กกินจนกว่าเด็กจะอายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะเสี่ยงต่อการสำลักเข้าปอด หรือติดคอได้

Enfa Kitchen สบายท้อง สมองดี

กินอาหารเสริมตามวัยควบคู่กับโภชนาการที่มี MFGM


นอกจากการฝึกให้ลูกกินอาหารตามวัยเด็กทารกแล้ว อีกสิ่งที่คุณแม่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องเริ่มปรับเปลี่ยนอาหารตามวัยเด็กทารก นั่นคือเรื่องของโภชนาการ ในแต่ละมื้อที่เป็นอาหารตามวัยเด็กทารก ควรปรุงอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนและเหมาะสมตามช่วงวัย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างที่เริ่มกินอาหารตามวัยเด็กทารก ลูกน้อยยังคงกินนมแม่เหมือนเดิม เพื่อโภชนาการที่ครบถ้วน โดยนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย ให้มี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก 

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

อาหารตามวัย (Solid food) วัยไหนต้องกินอะไรนะ


อาหาร Solid food สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับทารกได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย ซึ่งเด็กแต่ละวัย ก็สามารถที่จะรับอาหารแบบผู้ใหญ่ได้มากขึ้นตามช่วงวัยที่เติบโตขึ้น โดยอาหารพื้นฐานที่เหมาะสมตามวัยของเด็กทารก มีดังนี้

อาหารเด็กทารกแต่ละวัย

อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก ซึ่งคุณแม่สามารถประยุกต์ให้หลากหลายขึ้นได้จากอาหารพื้นฐาน ดังนี้

อาหารเด็ก 6 เดือน

เด็กอายุ 6 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 6 เดือนสามารถเริ่มกินอาหารได้ 1 มื้อ ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวยบดละเอียด 3 ช้อนกินข้าว
  • น้ำแกงจืด 10 ช้อนกินข้าว
  • ไข่แดงครึ่งฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 1 - 2 ช้อนกินข้าว
  • ผักบดชนิดต่าง ๆ ครึ่งช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุกชนิดต่าง ๆ 1 - 2 ชิ้น หรือจะนำมาบดสัก 1 - 2 ชิ้นก็ได้

อาหารเด็ก 7 เดือน

เด็กอายุ 7 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 7 เดือนสามารถเริ่มกินอาหารได้ 1 มื้อ ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวยบดละเอียด 4 ช้อนกินข้าว
  • น้ำแกงจืด 10 ช้อนกินข้าว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 1 - 2 ช้อนกินข้าว
  • ผักบดชนิดต่าง ๆ ครึ่งช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุกชนิดต่าง ๆ 1 - 2 ชิ้น หรือจะนำมาบดสัก 1 - 2 ชิ้นก็ได้

อาหารเด็ก 8 เดือน

เด็กอายุ 8 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 8 เดือนสามารถเริ่มกินอาหารได้ 2 มื้อ ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวย 5 ช้อนกินข้าว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 2 - 4 ช้อนกินข้าว
  • ผักต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 2 ช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุก 3 - 4 ชิ้น

อาหารเด็ก 9 เดือน

เด็กอายุ 9 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 9 เดือนสามารถเริ่มกินอาหารได้ 2 มื้อ และมีกลุ่มอาหารเดียวกันกับอาหารของเด็ก 8 เดือน ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวย 5 ช้อนกินข้าว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 2 - 4 ช้อนกินข้าว
  • ผักต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 2 ช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุก 3 - 4 ชิ้น

อาหารเด็ก 10 เดือน

เด็กอายุ 10 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 10 เดือนสามารถเริ่มกินอาหารได้มากถึง 3 มื้อ ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวย 5 ช้อนกินข้าว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 2 - 4 ช้อนกินข้าว หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้
  • ผักต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 2 ช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุก 3 - 4 ชิ้น

อาหารเด็ก 11 เดือน

เด็กอายุ 11 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 11 เดือนสามารถกินอาหารได้ 3 มื้อ และมีกลุ่มอาหารเดียวกันกับอาหารของเด็ก 10 เดือน ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวย 5 ช้อนกินข้าว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 2 - 4 ช้อนกินข้าว หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้
  • ผักต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 2 ช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุก 3 - 4 ชิ้น หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้

อาหารเด็ก 12 เดือน

เด็กอายุ 12 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องกินนมแม่อยู่ แต่คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่ควบคู่กันไปด้วยได้แล้ว โดยเด็กวัย 12 เดือนสามารถกินอาหารได้ 3 มื้อ และมีกลุ่มอาหารเดียวกันกับอาหารของเด็ก 11 เดือน ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวย 6 ช้อนกินข้าว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนื้อสัตว์บด เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ 2 - 4 ช้อนกินข้าว หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้
  • ผักต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 3 - 4 ช้อนกินข้าว
  • ผลไม้สุก 3 - 4 ชิ้น หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้

อาหารเด็ก 1 ขวบขึ้นไป

อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี จะเริ่มมีความคล้ายกับอาหารของผู้ใหญ่มากขึ้น และยังสามารถดื่มนมแม่ได้อยู่ เด็กวัยนี้เริ่มที่จะฝึกให้ตักอาหารเองได้แล้ว แต่อาจจะยังไม่คล่อง ตักแล้วยังหกอยู่ คุณแม่อย่าเพิ่งใจร้อนดุ ค่อย ๆ ฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กร่วมโต๊ะอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากันเพื่อฝึกมารยาทและวินัยบนโต๊ะอาหารไปพร้อม ๆ กันได้ โดยเด็กวัย 1-3 ปีสามารถกินอาหารได้ 3 มื้อตามปกติ ที่ประกอบไปด้วย

  • ข้าวสวย 6 ช้อนกินข้าว หรือประมาณ 1 ทัพพี
  • กินอาหารประเภทผัด อาหารทอด และต้มจืด หรือแกงจืดได้
  • กินอาหารประเภทโปรตีนและเนื้อสัตว์ได้ตั้งแต่ 3 ช้อนกินข้าวขึ้นไป หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้
  • ผักต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 3 - 4 ช้อนกินข้าว หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้
  • ผลไม้สุก 3 - 4 ชิ้น หรือเพิ่มปริมาณมากกว่านั้นได้
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

สิ่งที่คุณแม่ต้องหลีกเลี่ยงสำหรับอาหารมื้อแรก ๆ ของลูก


คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความแข็งมาก และมีขนาดเล็กอย่างเช่น ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ธัญพืชต่าง ๆ ยังไม่ควรให้เด็กกินจนกว่าเด็กจะอายุมากกว่า 1 ขวบขึ้นไป เพราะเสี่ยงต่อการสำลักเข้าปอด หรือติดคอได้

อาหารมื้อแรกของลูก นอกจากนมแม่แล้ว เริ่มกินได้ตอนไหน


นอกจากนมแม่แล้ว อาหารเด็กอ่อนสำหรับทารกสามารถเริ่มให้ได้เมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และในช่วง 6 เดือนแรก ไม่ควรให้เด็กกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกได้

หรือหลังจากทารกมีอายุ 6 เดือนแล้ว และเริ่มมีสัญญาณที่พร้อมต่ออาหารเด็กอ่อน ดังนี้

          • สามารถอยู่ในท่านั่ง หรือตั้งตัวตรงได้อย่างมั่นคงโดยไม่ต้องมีคนคอยประคอง ไม่ล้ม หรือโอนเอนไปมา

          • พัฒนาการด้านการมองเห็น การใช้มือ และปาก ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ สามารถมองเห็นอาหารและหยิบอาหารเข้าปากได้

          • ข้อมือเริ่มแข็งแรง เริ่มหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้แล้ว

          • เริ่มที่จะนำสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก ทั้งของกิน ของเล่น หรือของใกล้ตัว

          • เด็กเริ่มอ้าปาก เมื่อนำอาหารเข้ามาใกล้ปาก

          • กลืนอาหารได้ โดยไม่คายออกมา

          • หากเด็ก ๆ เริ่มมีสัญญาณข้างต้นที่กล่าวไป ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกได้ฝึกกินอาหารแบบผู้ใหญ่

คำแนะนำก่อนเริ่มให้อาหารมื้อแรกกับเด็กเล็ก


การเปลี่ยนอาหารตามวัยเด็กทารก เป็นสิ่งใหม่สำหรับลูกน้อย จำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึก เด็กบางคนอาจจะสามารถเริ่มต้นกับอาหารใหม่ได้ง่าย บางคนอาจจะมีปัญหาในการเปลี่ยนอาหาร อาจจะยังไม่ยอมกิน คายทิ้ง ค่อย ๆ ฝึก และปรับไปเรื่อย ๆ ลูกน้อยจะเริ่มคุ้นชินกับอาหารใหม่

ซึ่งคุณแม่สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกคุ้นชินกับอาหารเด็กเล็ก

          • เผื่อเวลาในมื้อที่มีอาหารใหม่ โดยเฉพาะครั้งแรกที่เริ่มฝึก คุณแม่อาจจะต้องใช้เวลาในมื้ออาหารนั้น นานกว่าปกติ จึงควรเผื่อเวลาสำหรับการฝึกให้ลูกคุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่ ๆ ด้วย

          • ป้อนอาหารตามจังหวะการกินของลูก รอให้ลูกอ้าปากก่อนที่จะป้อนอาหารให้ และหยุด เมื่อลูกแสดงอาการอิ่มหรือไม่ต้องการอาหาร เช่น ปิดปาก หรือเบือนหน้าหนี ไม่ควรบังคับให้ลูกกินต่อ

          • เปลี่ยนอาหารให้หลากหลายอยู่เสมอ ลองสลับปรับเปลี่ยนให้เขาได้ลองกลับมากินอีกครั้ง ให้เขาได้คุ้นชินกับอาหาร คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป ถ้าหากบางวันลูกน้อยกินน้อยลงจากเดิม หรือปฎิเสธอาหารในสิ่งที่เขาเคยกินมาแล้ว เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติของเด็ก

          • ลองให้ลูกได้สัมผัสอาหารด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะแตะ หรือถืออาหาร ลองให้เขาได้ลองสัมผัสด้วยมือ เขาอาจจะใช้นิ้วจิ้มไปที่อาหาร และเอาเข้าปาก หรือหากใช้ช้อน เขาอาจจะชอบจับช้อนถือระหว่างกิน คุณแม่อาจจะหาช้อนอีกคัน ไว้สำหรับให้เขาถือระหว่างการกิน

          • ระหว่างการป้อนอาหาร หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมารบกวนสมาธิการกินของลูกน้อย เช่น การนั่งหน้าโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต พยายามให้ลูกน้อยจดจ่อ และมีสมาธิกับมื้ออาหารให้มากที่สุด

          • ทำเป็นตัวอย่างให้ดู แสดงให้ลูกน้อยได้เห็นว่า เรากินอย่างไร เคี้ยวอย่างไร เช่น ให้ลูกน้อยได้นั่งร่วมโต๊ะอาหารระหว่างมื้ออาหารในครอบครัว เขาจะเริ่มจดจำ และเลียนแบบตาม ว่านี่คือวิธีการกินอาหาร

ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารมื้อแรกของลูกกับ Enfa Smart Club


ป้อนข้าวลูกก่อน 6 เดือนได้ไหม?

อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารก หรือ Solid Food สามารถเริ่มให้ได้เมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และในช่วง 6 เดือนแรก ไม่ควรให้ทารกกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกได้

ป้อนข้าวลูก 4 เดือน?

ช่วงเวลา 6 เดือนแรก ทารกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ร่างกายของทารกได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและครบถ้วนต่อการเจริญเติบโต การให้ทารกกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ในช่วง 6 เดือนแรก หรือการป้อนข้าวตั้งแต่เดือนที่ 4 ถือว่าเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกได้ เพราะทารกยังไม่พร้อมต่อการเคี้ยวอาหารอื่น ๆ

ลูกกินข้าวเม็ดได้ตอนไหน?

เมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถให้ทารกเริ่มกินข้าวได้แล้ว แต่ในช่วงเดือนที่ 6 - 7 ควรเป็นข้าวบดละเอียด เข้าเดือนที่ 8 จึงสลับมาเป็นข้าวสวยหุงสุกปกติที่ไม่บดละเอียด

ทารกเริ่มทานอาหารอื่นนอกจากนมได้เมื่อไหร่?

ทารกสามารถกินอาหารชนิดอื่น ๆ นอกจากนมแม่ได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

ป้อนข้าวลูกมื้อแรกกี่โมง?

คุณแม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่สะดวกสำหรับการป้อนข้าวมื้อแรกของลูกได้เลย อาจจะเริ่มจากมื้อเช้า หรือเริ่มจากมื้อกลางวัน หรือจะเริ่มมื้อแรกจากมื้อเย็นก็ได้เช่นกัน



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์