37 สัปดาห์ก็แล้ว 41 สัปดาห์ก็แล้ว แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการคลอดเสียที สถานการณ์เช่นนี้อาจเป็นไปได้ว่า คุณแม่กำลังมีการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด ซึ่งไม่ควรปล่อยไว้หรือนิ่งนอนใจ จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการวินิจฉัยกับแพทย์ทันที แต่การตั้งครรภ์เกินกำหนดเป็นอย่างไร และอันตรายแค่ไหน กำหนดคลอดกี่สัปดาห์ ถึงจะปลอดภัย กำหนดวันคลอด แบบไหนที่เสี่ยงต่อการคลอดเกินกำหนด และจะรับมืออย่างไรได้บ้าง หากมีภาวะตั้งครรภ์เกินกำหนดขึ้นมาจริง ๆ วันนี้ เอนฟา จะมาตอบข้อสงสัยกันค่ะ

กำหนดคลอดกี่สัปดาห์?

โดยปกติแล้วอายุครรภ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะอยู่ระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ หรืออาจคลาดเคลื่อนไปไม่เกิน 6 วัน เมื่อนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้นหากมีการคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ จะถือว่าเป็น ภาวะคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าหากมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไปแพทย์จะเรียกว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพที่สามารถส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

การกำหนดวันคลอด คืออะไร?

เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก ๆ คุณหมอจะทำการตรวจครรภ์ด้วยการ อัลตราซาวด์ เพื่อดูอายุครรภ์ที่แน่นอน และกำหนดวันคลอด เมื่อคุณหมอกำหนดวันคลอดหลังจากการ ตรวจอัลตราซาวด์ แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนวันกำหนดคลอดอีก แม้ว่าทารกจะมีขนาดตัวที่โตขึ้นก็ตาม ซึ่งหากตรวจพบว่าทารกตัวเล็ก ก็ต้องหาสาเหตุต่อไปว่าเกิดจากอะไร หรือมีการนับอายุครรภ์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่

เมื่อเทียบกับอัตราการตั้งครรภ์โดยทั่วไป จะพบว่าการตั้งครรภ์ครบตามกำหนดการคลอดนั้นจะพบได้ไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะมีการคลอดก่อนวันที่ได้มีการกำหนดไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม มีคุณแม่ตั้งครรภ์เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่คลอดลูกตรงกับวันที่คุณหมอได้ทำการกำหนดคลอดเอาไว้ หากคุณแม่ท่านใดที่มีอายุครรภ์ถึง 40 สัปดาห์แล้วแต่ยังไม่มีการคลอด ควรไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและวิธีการรับมือต่อไป

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

สาเหตุของการตั้งครรภ์เลยกำหนดคลอด

การตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เพราะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

          ● ภาวะความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
          ● มีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดมาก่อน
          ● ทารกที่อยู่ในครรภ์มีความพิการ
          ● เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดที่พบได้บ่อยที่สุด ก็คือการที่แม่ตั้งครรภ์จำไม่ได้ว่ามีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ หรือจำได้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จนทำให้การคำนวณอายุครรภ์ของคุณหมอผิดพลาด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด

การตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้

ความเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

          1. เสี่ยงที่จะทำให้ช่องคลอดฉีกขาดเนื่องจากทารกที่คลอดเลยกำหนดมักจะมีขนาดตัวใหญ่
          2. บริเวณช่องคลอดอาจมีบาดแผลจากการคลอดซึ่งจะทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดี
          3. หลังคลอดคุณแม่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดการตกเลือด
          4. เนื่องจากทารกมีขนาดตัวและขนาดหัวใหญ่ ทำให้กระบวนการคลอดตามธรรมชาติเป็นไปได้ยาก อาจจำเป็นต้องมีการผ่าคลอด หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการคลอด

ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

          1. ทารกเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บขณะคลอด เนื่องจากขนาดตัวที่ใหญ่ อาจทำให้กระบวนการคลอดเป็นไปอย่างยากลำบากและทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
          2. ยิ่งอายุครรภ์เลยกำหนดคลอดเดิมไปมากขึ้นเท่าไหร่ ทารกในครรภ์ก็มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นเท่านั้น
          3. ทารกที่อยู่ในครรภ์นานเกินกำหนดอาจเสี่ยงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหลังคลอดเนื่องจากสำลักน้ำคร่ำ
          4. การตั้งครรภ์เกินกำหนดเสี่ยงที่จะทำให้รกเสื่อม ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ที่จะทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
          5. การขาดออกซิเจนเรื้อรังเนื่องจากการตั้งครรภ์เกินกำหนดจะทำให้น้ำคร่ำน้อยลง และเมื่อมดลูกมีการหดรัดตัว ก็จะยิ่งทำให้รกขาดออกซิเจนมากขึ้นไปอีก อาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายบ่อย ๆ และไม่เครียด เพราะสุขภาพกายและใจที่ดีของคุณแม่จะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ สิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจก็คือการได้รับโภชนาการที่ดีและมีคุณภาพ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้สำคัญเฉพาะกับพัฒนาการของเด็กในครรภ์เท่านั้น หากยังส่งผลต่อสุขภาพ และช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย
โภชนาการที่ดีหมายถึงการที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่และวิตามิน) ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยส่งเสริมการ ทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่ มากไปกว่านั้น สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือสารอาหารสำคัญอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน

MFGM

วิธีรับมือเมื่อคุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด

เมื่อถึงกำหนดอายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์ที่สามารถคลอดได้แล้ว แต่คุณแม่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ไม่มีการ หดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ควรไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุว่า ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์มา 40 สัปดาห์แล้วยังไม่มีวี่แววว่าจะคลอด โดยคุณหมอจะทำการตรวจภายใน เพื่อตรวจดูว่าปากมดลูกพร้อมที่จะมีการคลอดหรือยัง

หากอายุครรภ์ 41 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น คุณหมอจะพิจารณาให้ทำการเร่งคลอดทันที เพราะการรอต่อไปเรื่อย ๆ อาจทำให้มีการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดได้ ซึ่งจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ไม่เพียงแต่เสี่ยงที่รกจะเสื่อมแล้วเท่านั้น แต่ทารกอาจจะขาดน้ำ ขาดอาหาร ทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตของแม่และเด็กมากขึ้นไปอีก โดยคุณหมออาจจะมีการเจาะถุงน้ำคร่ำ การใช้นิ้วกวาดปากมดลูก การใช้ยากระตุ้นให้คลอด เช่น ยาเหน็บ หรือถ้าปากมดลูกยังปิดแน่น และศีรษะเด็กยังไม่เคลื่อนลงต่ำ ก็มีโอกาสสูงที่คุณหมอจะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดคลอด

การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการคลอดเสมอ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Enfa A + Smart Club เพื่อรับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเคล็ดลับและบทความการตั้งครรภ์จากผู้เชี่ยวชาญ

Reference:
ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดอันตราย เสี่ยงทั้งแม่และลูก