

หมายเหตุ: ตารางนี้แสดงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สำหรับการตั้งครรภ์ของทารกคนเดียว
Key Highlight
การเพิ่มน้ำหนักในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ที่ตามเกณฑ์ จะสามารถช่วยให้ทารกมีสุขภาพสมบูรณ์เมื่อคลอดบุตร
ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวเล็กเกินไป และทารกน้ำหนักแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ก็อาจจะมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น ทั้งยังเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการล่าช้า ไม่เติบโตตามวัยด้วย
แต่ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวสูงเกินกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่เกินไป ซึ่งเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดหรือการผ่าตัดคลอด ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และโรคอ้วนในเด็ก
What's up here?
• ทำความเข้าใจกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
• น้ำหนักคนท้อง ควรเป็นเท่าไหร่
• BMI หญิงตั้งครรภ์
• คนท้องน้ำหนักขึ้นกี่โล
• น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ คำนวณอย่างไร
• น้ำหนักหญิงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส
• วิธีดูแลน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์
• สาเหตุที่คนท้องน้ำหนักลด
• สาเหตุที่คนท้องน้ำหนักขึ้น
• ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำหนักคนท้องกับ Enfa Smart Club
ช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10-16 กิโลกรัม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักนั้นมีนัยสำคัญและมีที่มาที่ไป คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และเด็กทั้งในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด
บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณแม่มาดูกันว่า เมื่อวัดจากโปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้องแล้ว น้ำหนักของคุณแม่ยังอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ น้ำหนักคนท้อง ควรเป็นเท่าไหร่ และBMI หญิงตั้งครรภ์ ที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร
การเพิ่มน้ำหนักในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ที่ตามเกณฑ์ จะสามารถช่วยให้ทารกมีสุขภาพสมบูรณ์เมื่อคลอดบุตร และคุณแม่มีน้ำนมพร้อมสำหรับดูแลลูก
ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวเล็กเกินไป และทารกน้ำหนักแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ก็อาจจะมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น ทั้งยังเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการล่าช้า ไม่เติบโตตามวัยด้วย
แต่ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวสูงเกินกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่เกินไป ซึ่งเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดหรือการผ่าตัดคลอด ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และโรคอ้วนในเด็ก
น้ำหนักคนท้องแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เพราะพื้นฐานน้ำหนักเดิมของคนท้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน จำเป็นจะต้องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะเห็นภาพว่าคุณแม่ควรจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเท่าไหร่ แต่โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักคนท้องจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-16 กิโลกรัม ในกรณีที่น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ก่อนที่คุณแม่จะทราบว่าน้ำหนักของตัวเองนั้นตามเกณฑ์หรือไม่ แล้วน้ำหนักที่ควรเพิ่มขณะตั้งครรภ์ควรจะเป็นเท่าไหร่ คุณแม่จะต้องทราบข้อมูลสำคัญในการคำนวณหาน้ำหนักคนท้องที่เหมาะสมอย่าง ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI เสียก่อน โดยวิธีการคำนวณง่าย ๆ ก็คือ
ค่าดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว[กิโลกรัม]
ส่วนสูง[เมตร] ยกกำลังสอง
ก็จะได้เป็น 60 กิโลกรัม / 1.75 เมตร x 1.75 เมตร = 19.5 ก็จะได้ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ
หรือเพื่อความสะดวก คุณแม่สามารถทดลองใช้โปรแกรมคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI เพื่อหาค่า BMI ของตนเองได้
เมื่อได้ค่า BMI มาเรียบร้อยแล้ว คุณแม่ก็สามารถนำมาเทียบกับตารางด้านล่าง เพื่อดูว่าค่าBMI ของตนเองนั้น มากหรือน้อยกว่าเกณฑ์
โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักคนท้องจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-16 กิโลกรัม โดยจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรก 1-2 กิโลกรัม และหลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ไปจนกระทั่งคลอด ในกรณีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การคำนวณหาน้ำหนักของแม่ตั้งครรภ์นั้น ใช้สูตรเดียวกับการหาค่าดัชนีมวลกาย BMI ดังนี้
ค่าดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว[กิโลกรัม]
ส่วนสูง[เมตร] ยกกำลังสอง
ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่หนัก 60 กิโลกรัม สูง 175 เซนติเมตร
ก็จะได้เป็น 60 กิโลกรัม / 1.75 เมตร x 1.75 เมตร = 19.5 ก็จะได้ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ
หรือเพื่อความสะดวกคุณแม่สามารถที่จะคำนวณโดยใช้โปรแกรมคำนวณหาค่าBMI เลยก็ได้เช่นกัน
ข้อสำคัญคือต้องมีค่า BMI เมื่อได้ค่า BMI มาแล้ว ก็สามารถนำมาเทียบกับตารางเพื่อดูว่าน้ำหนักของคุณแม่ต่ำกว่าเกณฑ์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือมากกว่าเกณฑ์ และดูว่าค่าเฉลี่ยน BMI เท่านี้ ควรจะเพิ่มน้ำหนักตอนตั้งครรภ์ให้ได้เท่าไหร่ ดังตารางด้านล่างนี้
น้ำหนักของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสจะมีความแตกต่างกันไป ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าคุณแม่แต่ละคนมีปัจจัยทางร่างกายที่แตกต่างกัน น้ำหนักตัวต่างกัน ค่าBMI ต่างกัน ระบบเผาผลาญต่างกัน ทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสก็จะต่างกันไปด้วย
แต่โดยทั่วไปแล้ว สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสแรกนี้ทารกยังตัวเล็กอยู่ คุณแม่ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มน้ำหนักให้มากเกินกว่า 1-2 กิโลกรัม
ไตรมาสที่ 2 ระยะนี้ทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น ทำให้คุณแม่อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 5-6 กิโลกรัม
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสสุดท้ายทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง โดยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.5-4.5 กิโลกรัม แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น คุณแม่บางคนอาจอึดอัดท้องจนกินอะไรได้น้อยลง
ในช่วงไตรมาสที่สามคุณแม่บางคนมีน้ำหนักที่ลดลง หากน้ำหนักลดลงเพียงเล็กน้อย ก็อย่าตกใจ ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่หากน้ำหนักลดลงมากในไตรมาสที่ 3 ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจจะมีความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้
ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำหนักตอนท้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับค่าBMIของตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารก และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพคุณแม่
โดยคุณแม่สามารถดูแลน้ำหนักขณะตั้งท้องได้ง่าย ๆ ดังนี้
เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ แม้จะใกล้คลอดและท้องโตมากแค่ไหน แต่ก็อย่าลืมว่าคุณแม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เดินไปมา หรือพยายามมีกิจกรรมเบา ๆ ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เพื่อให้ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมต่อการคลอด และช่วยควบคุมน้ำหนัก
ใส่ใจอาหารการกิน กินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบทุกด้าน ซึ่งจะดีต่อทั้งสุขภาพของแม่และทารก เน้นผักและผลไม้ ขนมปัง ธัญพืช รวมถึงอาหารที่มีไขมันต่ำทั้งนม และเนื้อสัตว์
จำกัดของหวาน ทั้งขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ไม่ควรกินเยอะ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าเกณฑ์ได้ หากกินในปริมาณที่เยอะเกินไป ควรกินแต่พอดี
หลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงในอาหาร และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง ที่จริงคุณแม่สามารถกินได้บ้าง แต่...ไม่ควรกินทุกวัน พยายามเลือกแต่อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำจะดีต่อสุขภาพและน้ำหนักมากกว่า
คนท้องน้ำหนักลด อาจจะต้องแยกออกเป็นกรณีไป เพราะไม่สามารถนำมาพิจารณารวมเป็นเรื่องเดียวกันได้
กรณีแรก คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน ในที่นี้ การควบคุมน้ำหนักให้ขึ้นตามเกณฑ์ อาจเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ และลดความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งลดความเสี่ยงของการต้องผ่าคลอดเนื่องจากทารกมีขนาดตัวมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักขณะตั้งครรภ์
กรณีที่สอง คุณแม่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ หรือมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ กรณีนี้หากน้ำหนักลดลงจนผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่สังเกตได้ถึงความผิดปกตินี้
กรณีที่สาม น้ำหนักคุณแม่ลดลงในช่วงไตรมาสที่สาม ซึ่งกรณีนี้สามารถพบได้บ่อย และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ทารกมีขนาดตัวโตมากขึ้นและพร้อมต่อการคลอด ขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นของทารก อาจจะทำให้คุณแม่อึดอัด กินอะไรเข้าไปนิดหน่อยก็อิ่มจนอึดอัด ทำให้อาจจะกินอาหารได้น้อยลง จนเป็นสาเหตุให้น้ำหนักลดลงได้
ระดับน้ำคร่ำเริ่มลดลง เมื่อมวลน้ำคร่ำเริ่มลดลงก่อนที่จะแตกออก และคลอด จึงทำให้น้ำหนักลดลงตามไปด้วย
ร่างกายขับของเหลวออกเร็วขึ้น เนื่องจากขนาดตัวของทารกที่ใหญ่ขึ้น ท้องที่โตขึ้น จึงไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย เป็นผลให้มวลน้ำในร่างกายลดลง น้ำหนักจึงอาจจะลดลงตามไปด้วย
เหงื่อออกมากขึ้น ช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนคลอดคุณแม่อาจจะมีอาการเหงื่อออกมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการล้างของเหลวที่สะสมในร่างกาย อาจทำให้น้ำหนักลดลงได้
อย่างไรก็ตาม น้ำหนักคุณแม่ไม่ควรลดมากเกินไป หากลดมากเกินไปควรไปพบแพทย์
คนท้องน้ำหนักขึ้น เกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
กรณีแรก แม่ทุกคนจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักตัวให้เหมาะสมกับค่า BMI เพื่อให้สุขภาพของแม่และทารกสามารถประคับประคองไปได้อย่างปลอดภัยจนกระทั่งคลอด การมีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไปขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อสุขภาพของทารกเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนท้องถึงน้ำหนักขึ้น
กรณีที่สอง ทารกมีมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ แน่นอนว่าขนาดตัวที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยน้ำหนักตัวของทารกจะอยู่ระหว่าง 3-3.5 กิโลกรัม
มากไปกว่านั้น เจ้าตัวเล็กยังนำพาเอาพลพรรคของตนเองมาทำให้น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่
รก หนักประมาณ 1.-1.5 กิโลกรัม
น้ำคร่ำ หนักประมาณ 1.-1.5 กิโลกรัม
เนื้อเยื่อบริเวณเต้านม หนักประมาณ 1.-1.5 กิโลกรัม
เลือด หนักประมาณ 2 กิโลกรัม
ไขมัน หนักประมาณ 2.5-4 กิโลกรัม
ขนาดของมดลูกที่โตขึ้น หนักประมาณ 1-2.5กิโลกรัม
คนท้องไม่ควรลดน้ำหนักไม่ว่าจะในไตรมาสใดของการตั้งครรภ์ก็ตาม ยกเว้นเสียแต่ว่า คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน กรณีนี้คุณหมออาจจำเป็นจะต้องขอให้คุณแม่พยายามควบคุมน้ำหนักให้เพิ่มอย่างเหมาะสม เพราะเป็นผลดีต่อแม่และทารกในครรภ์มากกว่า
คนท้องจะเริ่มน้ำหนักขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่เนื่องจากทารกยังมีขนาดตัวเล็กอยู่ ในไตรมาสแรกจึงอาจมีน้ำหนักขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัม หรืออาจจะมีน้ำหนักลดลงได้เล็กน้อย เนื่องจากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องในไตรมาสแรก
กรณีที่หากพูดถึงในแง่ของรูปร่าง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะต้องมีรูปร่างที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากทารกมีขนาดตัวที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ไตรมาส และใหญ่ที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 จึงทำให้คุณแม่ดูอ้วนหรืออวบขึ้น สิ่งที่คุณแม่ทำได้ ไม่ใช่การลดน้ำหนักตอนท้อง แต่ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับค่า BMI ของตัวเอง เพื่อป้องกันโรคอ้วนหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โดยสามารถควบคุมน้ำหนักได้ง่าย ๆ ดังนี้
เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
ใส่ใจอาหารการกิน จำกัดของหวาน
หลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงในอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง
น้ำหนักคนท้องในไตรมาส 3 นั้นจะแตกต่างกันไป เพราะแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่างกัน ทั้งยังมีค่า BMI ต่างกัน ทำให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 แตกต่างกันไป
แต่สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.5-4.5 กิโลกรัม ในช่วงไตรมาสที่ 3
น้ำหนักคนท้องในแต่ละเดือนนั้นจะแตกต่างกันไป เพราะแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่างกัน ทั้งยังมีค่า BMI ต่างกัน ทำให้น้ำหนักของคุณแม่แต่ละคนในแต่ละเดือนไม่เหมือนกัน
แต่ช่วง 6 เดือนนี้ นับเป็นไตรมาสที่ 2 ในระยะนี้ทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น ทำให้คุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยน้ำหนักจะขึ้นประมาณ 1.5 - 2 กิโลกรัมใน 1 เดือน ในคุณแม่ที่น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
น้ำหนักคนท้องในแต่ละเดือนนั้นจะแตกต่างกันไป เพราะแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่างกัน ทั้งยังมีค่า BMI ต่างกัน ทำให้น้ำหนักของคุณแม่แต่ละคนในแต่ละเดือนไม่เหมือนกัน
แต่ช่วง 8 เดือนนี้ นับเป็นไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ ก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.5-4.5 กิโลกรัม
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์