ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ตั้งท้องอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ กับพัฒนาการลูกน้อย

ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ กับพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการของทารกในอายุครรภ์ 10 สัปดาห์

  • ช่วงตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ ทารกในครรภ์ตัวยาวประมาณ 1 ¼ นิ้ว

  • เมื่ออายุครรภ์ 10 สัปดาห์ อวัยวะส่วนสำคัญทั้งหมดของทารกจะเริ่มปรากฏเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้น ส่วนหางซึ่งอยู่ที่ปลายสุดของกระดูกสันหลังจะหดหายไป

  • ลักษณะใบหูส่วนนอกติดกับศีรษะชัดเจนขึ้น เริ่มเห็นนิ้วมือนิ้วเท้าชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะนิ้วโป้งจะเห็นชัดมาก ทารกในท้อง 10 สัปดาห์มองโดยรวมจะเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายเด็กแล้ว แต่ยังผิดส่วนอยู่เพราะหัวโตพอ ๆ กับลำตัวอยู่

  • เล็บเริ่มงอกขึ้นมาบนนิ้วมือและนิ้วเท้า รวมทั้งเส้นผมบาง ๆ รวมทั้งขนอ่อน ๆ ก็เริ่มขึ้นแล้วเช่นกัน แขนน้อย ๆ ก็เริ่มงอเตรียมพร้อมสำหรับข้อมือในอนาคต

  • ทารกในท้อง 10 สัปดาห์ หน้าผากเริ่มนูนขึ้นเตรียมพร้อมสำหรับสมองที่ค่อย ๆ โตขึ้นทุกวัน เซลล์สมองจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วอาจแบ่งตัวได้ถึงนาทีละ 250,000 เซลล์ ระบบประสาทมีการสร้างโครงสร้างของสมองส่วนต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มองเห็นเป็นส่วนที่แยกจากไขสันหลังชัดเจน

  • กระดูกสันหลังของทารกในอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ก็เริ่มขึ้นมาเป็นสันบาง ๆ รวมทั้งระบบประสาทแถวกระดูกสันหลังก็เริ่มแตกกิ่งก้านมากขึ้น

  • กระดูกส่วนต่าง ๆ จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีแคลเซียมมาเกาะไม่มากนัก หน่อฟันของทารกในครรภ์จะเริ่มปรากฏ

คุณแม่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • ถ้าไปพบคุณหมอช่วงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจของทารกในครรภ์เต้นถี่ ๆ ผ่านเครื่องฟังของคุณหมอ

  • มดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ส่วนช่วงท้องตอนนี้ก็เริ่มพอง ๆ ขึ้นมาบ้างอาจทำให้คุณแม่รู้สึกตัวหนา ๆ กว่าเดิม ลองเลือกใส่ชุดหรือกางเกงที่เอวหลวม ๆ สักนิด จะได้ไม่รู้สึกอึดอึดที่ท้อง เวลานั่งก็จะได้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น

  • หัวใจของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังต้องไปหล่อเลี้ยงมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย การทำงานที่หนักขึ้นทำให้หัวใจของคุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย

  • ในการนัดฝากครรภ์ทุกครั้งคุณหมอจะทำการตรวจความดันของเลือด เพื่อให้แน่ใจว่าความดันไม่สูงเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษได้ นอกจากนี้ ยังต้องตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจเลือด และตรวจดูว่ามีอาการบวมมากผิดปกติ โดยดูที่บริเวณข้อมือและข้อเท้าของคุณแม่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ด้วย

บทความที่แนะนำ

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์
พัฒนาการลูกน้อยตลอด 9 เดือน
ตั้งครรภ์ 1-40 สัปดาห์ กับ พัฒนาการลูกน้อย
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner