พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33

  • ทารกในครรภ์อายุ 33 สัปดาห์ จะมีน้ำหนักตัวประมาณ  2 กิโลกรัม และลำตัวยาว 18-19 นิ้ว
  • สมองของทารกในครรภ์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทส่วนกลางของทารกพัฒนาไปอย่างมาก เส้นใยประสาทมีการสร้างเยื่อหุ้มที่มาจากไขมัน ทำให้การส่งผ่านสัญญาณในเส้นประสาททำได้รวดเร็วขึ้น มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของระบบประสาท 

  • กระดูกแข็งแรงและเชื่อมต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมถ้าต้องคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ

  • ผมของทารกหนาขึ้น สีผมในช่วงนี้อาจเปลี่ยนไป เมื่อทารกโตขึ้นขณะเดียวกัน ขนอ่อนลานูโก้ตามส่วนต่างๆ จะหลุดร่วงไปเกือบหมดและสร้างขนชุดใหม่ที่หนาขึ้นปกคลุมไขเคลือบผิวหนัง

  • นัยน์ตาของลูกน้อยเริ่มปรับให้เข้ากับแสงสว่างหรือความมืดได้แล้ว

  • ปริมาณน้ำคร่ำของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มา 33 สัปดาห์ จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ลูกตัวโตขึ้นเรื่อยๆ มีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้คุณแม่รู้สึกลูกดิ้นแรงน้อยลง แต่ความถี่ของการดิ้นยังไม่เปลี่ยนแปลง
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

คุณแม่มีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อตั้งท้องอายุครรภ์ 33 สัปดาห์

  • ภาวะโลหิตจางในตัวคุณแม่ที่ท้องได้ 33 สัปดาห์จะเริ่มลดลง  เนื่องจากปริมาณพลาสมาเริ่มมีปริมาณเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดงอีกทั้งภาวะร่างกายของคุณแม่ในช่วงนี้จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารมื้อปกติเพิ่มขึ้นคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลกับการบำรุงด้วยธาตุเหล็กอีกต่อไปแล้วเว้นแต่คุณแม่จะเป็นโรคโลหิตจาง

  • ในระยะที่ตั้งครรภ์ได้ 33 สัปดาห์ มดลูกอาจจะหดรัดตัวเป็นก้อนนูน  การเริ่มแข็งตัวจะแข็งช้าๆ คลายตัวช้าๆ ไม่สม่ำเสมอ ไม่รู้สึกเจ็บท้อง แต่หากมดลูกมีการบีบตัวถี่ผิดปกติ เจ็บมากกว่าปกติ หรือ มีของเหลวไหลออกมาทางช่องคลอดด้วย คุณแม่ต้องรีบไปพบคุณหมอทันที

  • ช่วงนี้คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาการปวดและชาที่นิ้วมือ ข้อมือและมือ คล้ายกับว่าเนื้อเยื่อในร่างกายกำลังกด ทับเส้นประสาทอยู่พยายามเหยียดนิ้วมือและข้อมือให้ตึง  แช่มือในน้ำอุ่นตอนเช้า 5 -10 นาที จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นอาการปวดและชาจะลดลง