ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

พัฒนาการลูกน้อย วัย 4 ปี 5 เดือน

       พัฒนาการลูกน้อยวัยนี้ร่างกายและสมองมีการพัฒนามากขึ้นทำให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ดี และสามารถฝึกฝนทักษะต่างๆ ได้ก้าวหน้ามากขึ้น จนคุณแม่อดภูมิใจในตัวลูกไม่ได้ทีเดียว มาดูกันค่ะว่าพัฒนาการ 360° อัจฉริยะรอบด้านของลูกวัยนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ฉลาดเรียนรู้

  • ถึงจะเป็นวัยซนแต่ก็มีเหตุมีผล แต่เป็นเหตุผลแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่ความสามารถในการเข้าใจเหตุผลนี้จะดีขึ้นตามลำดับ หากคุณแม่คอยชี้แนะ

  • ลูกสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจอารมณ์ต่างๆ ที่ซับซ้อนได้มากขึ้น

  • มีสมาธิที่ยาวขึ้น มีความจำดีขึ้น และสามารถท่องจำได้แม่นยำ หากได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสมด้วยกิจกรรม การอ่าน การเล่นดนตรี กีฬา หรืองานศิลปะ รวมทั้งการเลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมและจำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์ของลูก

ฉลาดเคลื่อนไหว

  • ร่างกายที่เติบโตตามวัย รวมกับการได้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกแข็งแรง ส่งผลให้ทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างกระฉับกระเฉงมากขึ้น

  • สามารถวิ่งซิกแซก หยุด และกลับตัว และวิ่งรอบวงกลมได้

  • สามารถเดินต่อเท้าไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงโดยไม่ต้องกางแขน

  • กระโดดไปด้านข้างซ้าย-ขวา และถอยหลังได้โดยเท้าทั้งสองข้างไปพร้อมกันได้

  • กล้ามเนื้อมัดเล็กพร้อมสำหรับการเขียนหนังสือมากขึ้น

  • การทำงานประสานกันระหว่างมือและตาดีขึ้น สังเกตได้จากการร้อยลูกปัดหรือร้อยเชือกได้เร็วและคล่องแคล่วกว่าช่วงวัยก่อนๆ

ฉลาดสื่อสาร

  • ลูกสามารถเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ รวมทั้งภาษาใหม่ๆ ในการพูดได้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คือสามารถรู้ความหมายนั้นๆ เช่น สีขาว สีดำ สีแดง เล็ก ใหญ่ สั้น ยาว

  • พัฒนาการทางภาษามีมากจนสามารถรู้และเข้าใจความแตกต่างของคำในประโยคที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนได้ เช่น “แม่ชอบสีขาว” “แม่ชอบสีเทา” ฯลฯ

  • มีพัฒนาการทางภาษาทั้งการใช้ภาษาและการเข้าใจภาษามากขึ้น สามารถพูดและเล่าเรื่องราวของสิ่งต่างๆ ที่พบเจอให้คนอื่นรู้และเข้าใจได้

ฉลาดด้านอารมณ์

  • สมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ ได้แก่ สมองส่วนหน้าหรือเซรีบรัม (cerebrum) ของลูกกำลังพัฒนาอย่าต่อเนื่อง ยิ่งลูกมีประสบการณ์รับรู้อารมณ์มากขึ้นก็จะทำให้เขาเข้าใจอารมณ์แต่ละแบบได้มากขึ้น

  • เด็กที่มีต้นแบบการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ก็จะทำให้เขามีทักษะด้านนี้ดีและทำให้สามารถเข้าใจอารมณ์ที่ซับซ้อนได้มากขึ้น

  • หากลูกการแสดงออกทางอารมณ์ด้วยความรุนแรง  เช่น ทำร้ายร่างกาย หรือทำลายข้าวของ เมื่อไม่ได้ดั่งใจ  ต้องรีบแก้ไข้ ซึ่งไม่ใช่การใช้ความรุนแรง เช่น คำพูดดุด่าว่ากล่าว แต่ควรใช้อ้อมกอดของเราและน้ำเสียงที่นุ่มนวลปลอบโยน และบอกให้ลูกรู้ว่า “รู้สึกโกรธได้ แต่ไม่ควรทำร้ายคนอื่น”

  • หากได้รับสอนให้รู้จักให้อภัยและขอโทษเมื่อทำความผิด ถึงวัยนี้ลูกจะทำได้

       การส่งเสริมทักษะต่างๆ ให้ลูกวัยนี้สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะสมองของลูกน้อยกำลังพัฒนาและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เพื่อพัฒนาสู่อัจฉริยะรอบด้านนั่นเองค่ะ

บทความที่แนะนำ

โภชนาการและพัฒนาการเด็ก
ลูกน้อยวัยเรียน
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

  • Register bar

Leaving page banner

 

Leaving page banner