ระวังกระดูกลูกแตก

       เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วขึ้น เด็กก็มักนึกสนุกเล่นโลดโผนจนเกิดการบาดเจ็บ หกล้ม หรือตกจากที่สูง ถึงขั้นส่งผลให้กระดูกหัก กระดูกแพลงตามมา คุณแม่หลายรายทีเดียวที่คิดว่าไม่น่าร้ายแรงอะไร เพราะกระดูกลูกยังอ่อนอยู่ นั่นก็มีส่วนจริงค่ะ แต่ไม่ทั้งหมด

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

       กระดูกของเด็กวัยนี้จะนิ่มหรือมีความยืดหยุ่นได้ดีกว่ากระดูกผู้ใหญ่ ถ้าในกรณีที่กระดูกหักไม่รุนแรงการรักษาจึงทำได้ง่ายกว่า แต่ข้อเสียจะไปอยู่ที่การวินิจฉัย เพราะขณะที่กระดูกแตกจะแตกไปถึงกระดูกอ่อน ทำให้วินิจฉัยได้ยาก การเอ็กซเรย์จุดที่ได้รับบาดเจ็บเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องมีการตรวจร่างกาย หรือบางรายอาจต้องมีการตรวจคลื่นแม่เหล็กร่วมด้วย
       ลักษณะของกระดูกอ่อนในเด็กที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ทำหน้าที่ให้กระดูกงอกยาวออกไป ถ้ากระดูกอ่อนเหล่านี้แตกก็จะทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกผิดไปจากธรรมดา แม้ว่าจะมีการรักษากระดูกแตกให้ติดกันแล้วก็จริงอยู่ แต่เซลล์ของกระดูกอ่อนตายไปแล้ว เมื่อผ่านไป 2-3 ปี จะเห็นค่อนข้างชัดขึ้นว่าการงอกของกระดูกบิดเบี้ยว แขนขาจะโก่งงอ ดังนั้นหลังจากที่รักษาอาการกระดูกแตกหรือหักให้ติดเรียบร้อยแล้วในขั้นต้น ควรไปพบคุณหมออย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี บางคนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 4 ปี
       ช่วงอายุ 3-6 ปีนี้ถือเป็นโอกาสทองของการดูแลและบำรุงให้กระดูกแข็งแรงมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เพราะกระดูกจะหยุดการเจริญเติบโตที่อายุ 25 ปี ดังนั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง รวมทั้งการออกกำลังกายที่เพียงพอ คือสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกที่แข็งแรง