สิ่งหนึ่งที่คุณแม่หลายคนอาจจะไม่ได้สังเกตคุณหนูๆ ที่บ้านว่าเด็กๆ เป็นวัยที่พร้อมจะรับฟังและเก็บเข้าแฟ้มบุคลิกนิสัยส่วนตัวเอาไว้ใช้ตอนโตได้อย่างไม่น่าเชื่อ เห็นลูกของเราวิ่งไปรอบบ้าน เหมือนจะไม่ได้ยืนนิ่งๆ ฟัง แต่จริงๆ เขาสามารถเล่าและอธิบายทุกอย่างให้เราฟังอย่างมีเหตุผล ตอนนี้เลยเป็นวัยที่คุณแม่ควรให้เขาเข้าใจคอนเซปต์ของการเอื้ออาทร มีน้ำใจดีๆ ต่อกัน

สกรีนสิ่งที่เขาต้องรับรู้ผ่านสื่อ

ทุกวันนี้เด็กๆ อายุแค่ขวบกว่าๆ ก็ใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สไลด์ลื่นปรื๊ดได้คล่องอย่างน่าตกใจ เลยไม่ต้องเป็นห่วงว่าเกือบทุกครอบครัวมีสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์ที่เปิดให้ลูกดูเยอะมาก ขนาดในอเมริกาเอง กุมารแพทย์ใน The American Academy of Pediatrics มากกว่า 66,000 คนเรียกร้องให้ออกเป็นแถลงการณ์ในการใช้สื่อทั้งสมาร์ทโฟนและทีวีกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีว่าพ่อแม่ควรดูอย่างใกล้ชิดว่าเขากดดูอะไรและจำกัดเวลาในการเล่น เพราะจากการศึกษาพบว่าสื่อเหล่านี้ยังไม่ได้มีประโยชน์มากเท่ากับการใช้เวลาระหว่างพ่อแม่และลูก

ถ้าเราเห็นข่าวที่แชร์กันในโซเชียลมีเดีย เด็กๆ ที่โตขึ้นมาอีกหน่อยรับรู้และชินชากับความรุนแรง คิดว่าเป็นเรื่องปกติของสังคม การมาสอนเขาทีหลังจะกลายเป็นเรื่องยากทันที ดังนั้นคุณหมอเด็กเลยแนะนำให้ใช้ 4 หลักนี้ค่อยๆ วางรากฐานให้เขาอ่อนโยนในสังคมเมื่อต้องโตไป

1. สอนเขาให้เป็นธรรมชาติ เด็กๆ คงไม่มีสมาธิมานั่งฟังเราบรรยายยาวๆ คุยทฤษฎีจัดๆ แต่ให้ทุกอย่างเบลนด์เข้าไปในเรื่องประจำวันต่างๆ โดยที่จำไว้ว่าเด็กๆ ชอบฟังให้คุณแม่เล่า เราก็ใช้โอกาสนี้ บอกให้เขาเห็นคนในแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่ในครอบครัว เป็นคุณป้าที่ขายของริมถนน พาเขาไปทำกิจกรรมกับน้องๆ ที่บ้านเด็กกำพร้า และอย่าทำเป็นเรื่องตลกหรือล้อเลียนกับคนบางกลุ่มเด็ดขาด ถึงจะเก็บมาพูดกันเองที่บ้าน ก็ไม่ควรเลย เพราะทำให้เด็กๆ ไม่รู้จักการเคารพคนอื่น

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

2. ตอบกลับกับเรื่องรอบข้างอย่างใจเย็น คุณแม่อาจจะเข้าใจว่าความใจดีคือการช่วยเหลือคนอื่น ดูแลสัตว์ด้วยความทะนุถนอม เชื่อว่าคุณแม่ก็ควรสอนเข้าไปเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ที่คุณแม่หลายท่านมองข้ามคือการสอนให้ลูกไม่ทนกับความไม่ถูกต้องและไม่ให้เกียรติคนอื่น รวมทั้งรับมือด้วยความสุภาพ เช่น เหตุการณ์ที่สนามเด็กเล่นมีเด็กคนอื่นมาแย่งของเล่น แทนที่จะบอกเขาว่า “เอาคืนมานะ”ซึ่งอาจบานปลายกลายเป็นทะเลาะก็ให้เขารู้จักพูดว่า “อันนี้เป็นลูกบอลของเรา มาเล่นด้วยกันก็ได้นะ”

3. ทำตัวอย่างให้ลูกเห็นชัดเจน เวลาที่เราทำอะไรที่เป็นเรื่องดีๆ ควรหันไปเล่าและอธิบายให้ลูกฟังด้วย เช่น เราไปช่วยบริจาคของ แนะนำว่าให้พาเด็กๆ ไปดูและลงมือมอบของด้วยกัน อาจจะเหนื่อยและลำบากเล็กน้อย แต่ภาพครั้งเดียวอาจประทับในใจเขาตลอดกาล

4. ให้เขารู้สึกดีกับตัวเองและรักในสิ่งที่เป็น เด็กๆ ที่ไม่รู้จักคุณค่าในตัวเองจะใช้ข้อนี้กลายเป็นนิสัยชอบล้อหรือแกล้งคนอื่น เป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่จะตอกย้ำสิ่งดีๆ ของลูกให้เขามั่นใจ ใช้จุดแข็งนี้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ครอบครัวและประเทศต่อไป