หน้าที่และความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กต้องมีอะไรบ้างนะ

เมื่อพบพี่เลี้ยงวันแรกมีหลายสิ่งที่คุณแม่ต้องการถามและต้องการบอก วันนี้เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยแรกเกิด เรามีประเด็นสำคัญที่ครอบคลุมการดูแลลูกน้อยมาฝากค่ะ ว่าคุณแม่ควรต้องทำการตกลงและชี้แจงเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้กับพี่เลี้ยงตั้งแต่วันแรก เพื่อความสบายใจของคุณแม่และพี่เลี้ยง รวมทั้งความปลอดภัยของลูกน้อยด้วยนะ

เรียนรู้กฎของบ้าน และสิ่งที่คุณแม่คาดหวังจากพี่เลี้ยง

  1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก และกิจวัตรประจำวันภายในบ้าน

  2. สิ่งที่คุณแม่ให้ความสำคัญ เช่น ความซื่อสัตย์ หรือความอ่อนโยน เป็นต้น

  3. ลำดับความสำคัญ เพื่อให้พี่เลี้ยงเข้าใจ เช่น สุขอนามัย และความปลอดภัย

  4. กฎตารางเวลาในเปิดโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนของลูกน้อย

  5. สร้างข้อตกลงในการใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะทำงานของพี่เลี้ยง

    • การถ่ายรูปลูกของคุณ

    • การโพสต์รูปลูกน้อยของคุณทางโซเชียลมีเดีย

    • การโทรศัพท์ ส่งข้อความ หรือใช้งานโซเชียลมีเดียระหว่างชั่วโมงทำงาน

  6. บริเวณต้องห้าม เช่น ห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ หรือสิ่งของต้องห้ามของบ้าน

  7. ตารางเวลาทำงานและเวลาพักของพี่เลี้ยง

  8. รายการและตารางเวลามื้ออาหารสำหรับพี่เลี้ยง

  9. การพาบุคคลภายนอกเข้ามาในบ้าน

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

  1. รายละเอียดเพื่อการติดต่อคุณ เบอร์โทรศัพท์ ไลน์ และรายชื่อเบอร์โทรศัพท์สำรองในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อได้

  2. ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ติดต่อสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อาทิ

    • สถานีดับเพลิง

    • สถานีตำรวจ

    • กุมารแพทย์ประจำตัวลูก

    • โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

    • เพื่อนบ้านหรือญาติที่อาศัยใกล้เคียง

  3. ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านหากเกิดกรณีฉุกเฉิน

    • สวิตซ์ไฟ

    • อุปกรณ์ดับเพลิง

    • ช่องทางและตำแหน่งทางออกทั้งหมดของบ้าน

    • กล่องปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    • แผงวงจรไฟฟ้า คัตเอาท์

    • วาล์วปิด/เปิดน้ำ

    • กล่องชุดอุปกรณ์เพื่อกรณีฉุกเฉิน ประกอบด้วย ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ น้ำดื่มบรรจุขวด ผลไม้อบแห้งหรืออาหารแห้งอื่นๆ

    *อาจพิจารณาให้พี่เลี้ยงได้เข้ารับการอบรมแนวทางปฏิบัติ ในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กๆ ด้วยนะ อาทิ สภากาชาดไทย trainingredcross.in.th

เรียนรู้ตารางกิจวัตรประจำวันของลูก

  1. กิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน (หากเป็นไปได้ ควรระบุชัดถึง ชื่อหนังสือ เกม หรือของเล่นที่ต้องการให้เด็กเล่นในวันหรืออาทิตย์นั้นๆ ) จัดตารางเพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมต่างๆ ถูกวางแผนและออกแบบ เพื่อพัฒนาทั้งทางด้านสมองและอารมณ์ รวมทั้งความคิดอย่างรอบด้านอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงระหว่างที่คุณไม่ได้อยู่ด้วย

  2. ข้อกำหนดและขั้นตอนในการอาบน้ำ

  3. เวลารับประทานอาหารและอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร

  4. เวลานอนพักผ่อน และพื้นที่ในการนอน

  5. การออกนอกบริเวณบ้าน (หากอนุญาตให้สามารถออกนอกบริเวณบ้านได้ในช่วงที่คุณไม่อยู่)

สอนวิธีชงนมและประกอบอาหารให้ลูกน้อย

  1. เขียนตารางอาหารหรือวิธีการจัดเตรียมนมเด็ก (รายละเอียดฉลาก ตำแหน่งจัดเก็บ และวิธีการกำจัดนมเหลือทิ้ง)

  2. การเตรียมอาหารหรือการอุ่นนมเด็ก (ล้างทำความสะอาดมือและทำให้แห้งก่อนทุกครั้ง ที่จะเตรียมอาหารหรือนมให้เด็ก)

  3. อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กเล็ก

  4. ข้อมูลการแพ้อาหาร

  5. วิตามินเพิ่มเติมหรือเพื่อการรักษา (หากมี)

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • แนะนำพี่เลี้ยงว่าสิ่งใดมักเป็นสาเหตุของการงอแง หรือวิธีการรับมือให้ถูกใจเจ้าตัวเล็ก

  • ขอบเขตในการอบรมสั่งสอน เช่น การใช้เสียงดุ การตี เป็นเรื่องต้องห้าม

  • วิธีการปลอบเมื่อลูกมองหาคุณหรือได้รับบาดเจ็บ

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

 

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่