ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล


อาหารที่ดีที่สุดของลูกวัยทารกคือ นมแม่ แต่คุณแม่บางคนก็มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมแม่ได้ นมผงจึงเป็นทางเลือกของคุณแม่ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการใช้นมผงก็คือ “การชงนม” เพราะหากคุณแม่ชงนมไม่ถูกต้องจะส่งผลให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องเสียได้ และอาจทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในนมน้อยลงด้วย คุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามวิธีชงนมที่ถูกต้อง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

วิธีชงนมที่ถูกต้องป้องกันลูกไม่สบายท้องได้

  • ล้างมือให้สะอาด

  • ทำความสะอาดขวดนม จุกนม และนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ชงนมทุกชิ้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค

  • ต้มน้ำให้เดือดจนเห็นฟองอากาศผุดขึ้นมา ทิ้งไว้ให้เย็นลงที่อุณหภูมิห้อง

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำปริมาณการชงนมบนกล่อง

  • ใส่น้ำสุกอุ่นที่ตั้งทิ้งไว้ลงในขวดตามปริมาณที่แนะนำ

  • เติมนมผงตามปริมาณที่กำหนด

  • ปิดฝาขวด แกว่งขวดเบา ๆ (ไม่จำเป็นต้องเขย่าแรง) หรือใช้ข้อมือหมุนขวดวนเป็นวง เพื่อให้นมผงละลาย และป้องกันการเกิดฟอง

  • หยดน้ำนมลงบนหลังมือเพื่อทดสอบอุณหภูมิว่าไม่ร้อนจนเกินไป

  • หากนมมีฟองมาก ให้ตั้งทิ้งไว้สักครู่ก่อนป้อนเด็ก เพราะหากป้อนขณะมีฟอง เด็กจะดูดฟองนี้เข้าไปทำให้ท้องอืดได้

  • ไล่ลมให้ลูกหลังมื้อนมทุกครั้ง

วิธีเก็บรักษานมที่ชงแล้ว

  • นมที่ชงและกินแล้ว

    นมที่ชงแล้วจะเสียเร็ว นมที่ป้อนเด็กแล้ว ควรให้เด็กกินให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าไม่เช่นนั้นก็ต้องทิ้งไป

  • นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและนำไปแช่เย็น

    หากชงนมแล้วยังไม่กินทันที ให้ปิดฝาขวดนมให้มิดชิด นำไปแช่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 - 4 องศาเซลเซียส ไม่แนะนำให้แช่นมในช่องแช่แข็ง และไม่ควรเก็บนมที่ชงแล้วเกิน 24 ชั่วโมง

  • นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและไม่ได้นำไปแช่เย็น:

    ไม่ควรให้เด็กกินนมที่ชงแล้วโดยไม่แช่เย็นเกินกว่า 2 ชั่วโมง

เทคนิควิธีชงนมที่ถูกต้อง และการเลือกนมสูตรย่อยง่าย ช่วยป้องกันลูกไม่สบายท้อง
 

ทำไมไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมเด็ก

สำหรับวิธีชงนมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันลูกไม่สบายท้องนั้น คุณแม่ไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมให้ลูก เพราะความร้อนจะไปทำลายสารอาหารบางอย่างในนม เช่น โปรตีนและวิตามินอย่างวิตามินซี ที่จะไม่ทนความร้อน และนมที่ผสมจุลินทรีย์สุขภาพก็จะถูกทำลายได้ง่าย ลูกก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากจุลินทรีย์สุขภาพและวิตามินเหล่านั้น หากต้องการให้ลูกกินนมอุ่นก็ให้ใช้น้ำอุ่นประมาณ 60 องศาเซลเซียสชงนม เพื่อป้องกันการทำลายจุลินทรีย์สุขภาพและสารอาหารในนม อีกทั้งการใช้น้ำร้อนจะทำให้ไขมันในนมจับตัวเป็นก้อน ทำให้นมไม่ละลายด้วย

ใช้น้ำอุณหภูมิห้องชงนมเด็กได้หรือไม่

นอกจากการใช้น้ำอุ่นชงนมให้ลูกแล้ว ปัจจุบันได้มีการพัฒนานมผงให้สามารถละลายได้ทั้งในน้ำอุณหภูมิห้องและน้ำอุ่น คุณแม่จึงสามารถใช้ทั้งน้ำอุณหภูมิห้องและน้ำอุ่น (เช่น อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส) ชงนมให้ลูกได้ด้วย และความเชื่อที่ว่าลูกกินนมชงจากน้ำที่ไม่อุ่นแล้วจะทำให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องอืดจึงไม่เป็นความจริง ที่สำคัญน้ำที่ใช้ชงนมต้องเป็นน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มสุกแล้วเท่านั้น

เทคนิคการเขย่าขวดนมให้เกิดฟองน้อย

การใช้น้ำเย็นชงนมให้ลูก ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องอืด แต่ขั้นตอนการชงนมที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเขย่านมให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกันจนเกิดฟองอากาศขึ้นในขวด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการ ท้องอืด ไม่สบายท้องของเด็ก เทคนิคการเขย่าให้เกิดฟองน้อยที่สุดที่เป็นวิธีชงนมที่ถูกต้องนั่นก็คือ การจับขวดนมแล้วหมุนมือเป็นวงกลม (คล้ายการเอาขวดนมแกว่งน้ำ) จะทำให้เกิดฟองในขวดน้อยกว่าการเขย่าขวดนมขึ้นลง และหากเห็นว่าในขวดมีฟอง ควรวางให้ฟองลดลงก่อนนำไปป้อนเด็ก

เลือกนมที่ช่วยป้องกันลูกไม่สบายท้องหรือท้องอืด

แนะนำคุณแม่ให้นมแม่กับลูกน้อยตลอด 6 เดือนแรก เนื่องจากนมแม่มีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของเด็กทารกที่ยังพัฒนาไม่ได้เต็มที่เท่าผู้ใหญ่ ช่วยลดอาการไม่สบายท้องของลูกน้อยที่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการไม่สบายท้องหรือท้องอืด ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ลูกได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

กรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมชงและอยู่ระหว่างการให้นมชงแก่ลูก คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องของวิธีชงนมที่ถูกต้อง รวมทั้งการไล่ลมให้ลูกหลังมื้อนมทุกมื้อ จะช่วยป้องกันปัญหาลูกไม่สบายท้องต่างๆ ให้ลูกได้เป็นอย่างดี คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้นะคะ

อึไม่ออก ต้องทำยังไง พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่