ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เทคนิคลดอาการทารกแหวะนม ลูกแหวะนมบ่อย

ลูกแหวะนมบ่อย จัดการได้ด้วย 9 เทคนิคลดอาการแหวะนม

อาการลูกแหวะนม คือ อาการปกติของเด็กเล็ก ที่คุณแม่ทุกคนต้องเจอ เพราะเป็นอาการที่เกิดจากระบบการย่อยอาหารของเด็กยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เป็นลิ้นที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท เมื่อเด็กกินอาหารมากเกินกว่าที่กระเพาะจะรับได้ น้ำนมจึงไหลย้อนกลับ แม้ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณแม่จะมองข้าม และสร้างความกังวลใจไม่น้อย

วิธีการช่วยลดอาการลูกแหวะนม
 

  1. พยายามให้ลูกกินนมก่อนที่เขาจะหิวมากเกินไป ความหิวจะทำให้ลูกกินมากและรีบกินเร็วกว่าปกติ จนอาจทำให้ลูกแหวะนมได้
  2. ค่อยๆ ป้อนนม อย่าเร่งรีบ การรีบกินจะทำให้ลูกกลืนอากาศเข้าไปในท้อง
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมารบกวนระหว่างมื้อนม
  4. ตั้งศีรษะเด็กให้ตรงขณะป้อนนม
  5. ไล่ลมให้ลูกทุกๆ 3-5 นาที ระหว่างป้อนนม
  6. จับให้ลูกนั่งตรงๆ ระหว่างป้อน
  7. ห้ามลูกเคลื่อนไหวร่างกายหนักๆ แรงๆ หลังอิ่มอาหาร
  8. ถ้าเลี้ยงลูกด้วยขวดนม คุณแม่ควรมั่นใจว่าจุกนมไม่ใหญ่เกินไป (ซึ่งจะทำให้นมไหลเร็วมากเกินไป) หรือ จุกเล็กเกินไป (ซึ่งทำให้เด็กดูดลมเข้าไปแทนนม) ถ้านมหยดออกมาเพียง 2-3 หยดในช่วงที่คุณแม่ลองทดสอบแสดงว่ารูจุกนมมีขนาดที่พอดีแล้ว
  9. หากแก้ไขทุกวิธีแล้วลูกยังแหวะนมอยู่ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อดูอาการและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป
     

ลูกจะหยุดแหวะนมเมื่อไหร่?
 

คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจมากเกินไป ขอให้ทำใจเย็นๆ เพราะปัญหาลูกแหวะนม โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงที่ 6-7 เดือน ถ้าลูกแหวะนมมาก ก็อาจจะพบอาการนี้จนเด็กอายุ 10-12 เดือน แล้วอาการแหวะนมนี้ก็จะเริ่มน้อยลงในเดือนที่ 12 และมักจะหยุดเมื่ออายุ 18 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ระบบการย่อยของเขาแข็งแรงแล้ว

บทความที่แนะนำ

บทความที่แนะนำ

จริงหรือไม่ จุกนมป้องกันลูกท้องอืดได้
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner