ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
โภชนาการลูกน้อยวัย 3 ปี 3 เดือน

โภชนาการลูกน้อยวัย 3 ปี 4 เดือน

เมนูยามเช้า เพิ่มพลังงานให้สมองลูก

คนเรานั้นจะนอนหลับคืนละประมาณ 8 ชั่วโมง (โดยเฉพาะเด็กๆ) ช่วงที่เรานอนหลับ การใช้สารอาหารต่างๆ ในร่างกายยังคงดำเนินไปตลอดเวลา ปริมาณสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงเมื่อเราตื่นขึ้นมา เมื่อตื่นนอนในตอนเช้า นับจากอาหารมื้อเย็นเท่ากับว่าร่างกายไม่ได้รับสารอาหารมากกว่า 12 ชั่วโมง ยิ่งหากมีการงดอาหารเช้า โดยเฉพาะในเด็กๆ นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำแล้ว ยังส่งผลต่อน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ในสมองด้วย จะพบว่า ในช่วงสายของวัน เด็กที่ไม่ได้กินอาหารเช้าจะรู้สึกหิว กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดความฉับไวในการคิดหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

         สมองของคนเราจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้จำเป็นต้องมีพลังงานหล่อเลี้ยง ซึ่งพลังงานที่หล่อเลี้ยงสมองคือ กลูโคส ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรต กลูโคสจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้ามาในเลือด ผ่านเข้าไปในสมองแล้วเผาผลาญเป็นพลังงานให้แก่สมอง
         ร่างกายจึงต้องการเติมพลังงาน ซึ่งอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะเป็นตัวเริ่มขับเคลื่อนพลังงานให้กับร่างกาย ได้ดีที่สุด และเพราะสมองไม่สามารถเก็บสะสมกลูโคสส่วนที่เหลือได้เหมือนกับการที่ร่างกาย สะสมพลังงาน อาหารเช้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สมองของเด็กๆ ทำงานได้เฉียบไวจากการได้รับพลังงานสมองอย่างเพียงพอ
         อาหารเช้าของเด็กๆ ที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เพราะจะค่อยๆ ปลดปล่อยกลูโคสให้กับสมองโดยใช้เวลานานขึ้นในการย่อยและดูดซึม แนะนำให้เลือกธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้ เช่น...  

 

  ข้าวต้ม ที่ทำจากข้าวกล้อง หรือข้าวไม่ขัดสี อาจเป็นเมนูข้าวต้มปลา หรือข้าวต้มธัญพืช เติมสีสันด้วยผักหลากสีให้ครบคุณค่า + นม 1 แก้ว
         ซีเรียล+ นม +ลูกเกด (สตรอเบอร์รี่หรือผลไม้อื่นๆ )
          แซนด์วิชทูน่า โดย เลือกใช้ขนมปังโฮลวีต แทนขนมปังขาว + นม 1 แก้ว
           โจ๊กหมู 1 ชาม + นม 1 แก้ว + ส้มเขียวหวาน 1 ลูก 

เมื่อได้รับพลังงานอย่างเต็มที่ สมองก็พร้อมเรียนรู้ได้ไม่ยากค่ะ

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

บทความที่แนะนำ

เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก 3 ขวบให้เรียนรู้อย่างรอบด้าน
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner