เมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะ การกินของลูกก็เปลี่ยนไปคล้ายผู้ใหญ่ จากที่เคยกินแต่นมและอาหารบดหรือสับ ก็เริ่มกัดและเคี้ยวอาหารได้แล้ว แต่คุณแม่ก็อาจจะยังสงสัยว่าอาหารเด็ก 1 ขวบนั้น เขากินอะไรได้บ้าง ทำไมบางทีลูกก็ดูไม่ค่อยอยากกินอาหารเอาเสียเลย เรามาดูรายละเอียดกันนะคะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

พัฒนาการของลูกน้อยวัยเตาะแตะ

เด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยแห่งการเลียนแบบ เด็กเห็นผู้ใหญ่กินอะไรก็อยากจะกินบ้าง แต่บางครั้งเวลาที่ให้กินข้าวกลับไม่ยอมกินซะดื้อๆ เพราะห่วงเล่นจนคุณแม่กังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ กลัวลูกไม่โต พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยของเด็กในวัยนี้

เมื่ออายุย่างเข้า 1 ขวบ เด็กจะเริ่มใช้มือหยิบจับหรือคว้าของ เพื่อสำรวจและเรียนรู้สิ่งรอบตัว อีกทั้งเวลาคุณแม่ป้อนข้าวหรือป้อนอาหารเด็ก 1 ขวบ ลูกก็จะแย่งช้อนจากมือของคุณแม่เพื่อตักอาหารเอง คุณแม่จึงควรใช้โอกาสนี้เริ่มฝึกให้ลูกกินอาหารจากถ้วย และให้ใช้มือจับช้อนกินเองบ้าง สลับกับคุณแม่ป้อนบ้าง ลูกอาจตักข้าวหกเกลื่อนกลาดหรือกินไม่เรียบร้อย ก็ควรทำใจ ปล่อยให้ลูกกินเอง และอดทนจนกว่าลูกจะทำได้ ถ้าลูกกินช้า ก็ไม่ควรดุลูกหรือรีบป้อนลูกเอง เพราะเท่ากับคุณแม่ขัดขวางการเรียนรู้ของลูกในเรื่องการแก้ปัญหา การทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองของลูก

เมื่อลูกอายุครบ 1 ปี คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารหลักครบทั้ง 3 มื้อ กินนมเป็นอาหารเสริม โดยควรเลือกนมที่เหมาะกับวัยของลูกที่มีสารอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย เช่น มีสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง MFGM, ดีเอชเอ ฯลฯ และให้ลูกดื่มวันละ 2-3 แก้ว เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเขาให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ รอบตัว

ลูกวัยเตาะแตะห่วงเล่นมากกว่ากิน

 
ให้ลูกกินอาหาร
 

ห่วงเล่นมากกว่ากินเป็นปัญหาที่คุณแม่ที่มีลูกวัยเตาะแตะมักเจอ ซึ่งแนวทางแก้ไขสามารถทำได้ โดย :

  • จัดบรรยากาศให้ลูกรู้สึกอยากกิน

    สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งคุณแม่มีเวลาว่างและไม่เหนื่อยจากการทำงาน การหากิจกรรมในระหว่างมื้ออาหารเป็นการกระตุ้นให้ลูกอยากกินได้ทางหนึ่ง เช่น เล่นเกมทายปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่กิน เล่นเกมเก้าอี้ดนตรีก่อนกิน พยายามทำให้การกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นเรื่องสนุกสนาน เป็นต้น

  • กำหนดช่วงเวลามื้ออาหารไว้

    อาหารเช้าประมาณ 20-30 นาที อาหารเย็นประมาณ 30-40 นาที หากลูกเล่นอาหาร ขว้างปาช้อนหรือถ้วย อมข้าว หรือกินช้าจนเลยเวลาที่กำหนด ให้เก็บอาหาร ซึ่งคุณแม่ต้องใจแข็ง และไม่ควรให้อาหารอื่นกับลูกเลยระหว่างมื้อ เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อต่อไป ลูกจะกินอาหารได้มากขึ้น

  • จัดแต่งอาหารให้มีสีสันน่ากิน

    ตั้งชื่อให้น่าสนใจ เช่น ข้าวผัดสายรุ้ง ข้าวผัดพระอาทิตย์ และปริมาณที่ตักในครั้งหนึ่งๆ ให้เริ่มจากน้อยก่อน ลูกจะได้ไม่รู้สึกว่ามากจนไม่อยากกิน แต่หากตักน้อยแล้วเขาอยากกินอีกก็จะมาขอเพิ่มเอง

  • ภาชนะที่ใส่อาหารควรมีสีสันชวนมอง

    ในระยะแรกที่ลูกหัดกินเอง ควรใช้ภาชนะที่มีขอบสูง เวลาลูกใช้ช้อนตัก จะได้ไม่หกง่าย และไม่แตกง่าย ช้อนต้องมีด้ามยาวพอให้เด็กถือได้

  • ไม่ควรขู่หรือบังคับให้ลูกกินสิ่งที่ไม่ชอบ

    หรือบังคับให้กินให้หมดจานทั้งๆ ที่ลูกอิ่มแล้ว เพราะจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อการกิน

  • จัดบรรยากาศขณะกินให้สนุก

    พูดคุยกันถึงเรื่องดีๆ สบายใจ ไม่ควรดุ เตือน  หรือตั้งใจสอน  เอาผิด  คาดโทษ  หรือวิพากษ์วิจารณ์ลูกในขณะนั้น

  • ไม่ควรให้ลูกกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ

    พราะจะทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างไม่ครบและเพียงพอต่อความต้องการ

 
อาหารสำหรับทารก 1 ขวบ
 

ตัวอย่างเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบขึ้นไป : ปลากรอบแสนโปรด

เครื่องปรุง :

เนื้อปลาอินทรี / ไข่ไก่ตีพอเข้ากัน 1 ฟอง/ เกล็ดขนมปัง 1 ถ้วย / มันฝรั่ง / แป้งสาลี 3 ช้อนโต๊ะ / เกลือป่น / พริกไทยป่น / น้ำมันพืช/ ซอสมะเขือเทศ / พิมพ์กดรูปปลา

วิธีทำ

  1. ล้างเนื้อปลาให้สะอาด เสร็จแล้วซับน้ำใช้แม่พิมพ์กดให้เป็นรูปปลา

  2. นำเนื้อปลาคลุกกับเกลือ และพริกไทยให้ทั่ว

  3. นำเนื้อปลาไปคลุกกับแป้งสาลี แล้วนำมาชุบไข่ และนำไปชุบเกล็ดขนมปัง

  4. นำทอดในน้ำมันที่ร้อนพอให้เหลืองกรอบ

  5. ตักใส่จาน จากนั้นทอดมันฝรั่งให้เหลืองกรอบ เพื่อนำมากินด้วยกันพร้อมซอสมะเขือเทศ

เมนูนี้อาจถูกใจเด็กที่กำลังเบื่ออาหาร เพราะเด็กๆ รูปปลาน่ารักๆ และความกรอบของปลากับมันฝรั่ง ดึงดูดความสนใจของเขาได้ไม่น้อยเลยค่ะ

 
อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับทารกอายุ 1 ปี

 

ตัวอย่างเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบขึ้นไป : ซุปสปาเก็ตตี้ปลา

เครื่องปรุง :

สปาเก็ตตี้ / ผักสด เช่น แครอท ผักกาดขาว บร็อกโคลี่ / เนื้อปลาต้มสุก / น้ำมันมะกอก

วิธีทำ

  1. ลวกเส้นสปาเก็ตตี้ให้สุก ใช้น้ำมันมะกอกคลุกเคล้า เพื่อไม่ให้เส้นสปาเก็ตตี้ติดกัน

  2. ต้มน้ำซุป พร้อมใส่ผักลงไปต้มให้นิ่มพอควร

  3. นำเส้นสปาเก็ตตี้ใส่ถ้วย ตักน้ำซุปและผักลงไปรวมกัน คนเล็กน้อย ชิมพอให้มีรส

  4. สุดท้าย โรยเนื้อปลาสุกลงไป

เด็กวัยนี้สามารถกินอาหารแบบผู้ใหญ่ได้แล้ว แต่รสชาติยังอ่อนแบบเด็กอยู่ เมนูนี้นอกจากจะฝึกการกินอาหารแบบผู้ใหญ่แล้ว ยังมีได้รับดีเอชเอพัฒนาสมองจากเนื้อปลาด้วย

นมของลูก ยังสำคัญ

แม้ลูกวัยนี้จะกินอาหารหลัก 3 มื้อแล้ว แต่นมซึ่งเป็นอาหารเสริมก็ยังสำคัญ คุณแม่ควรเลือกนมที่มีการเสริมสารอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของลูก เด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป เริ่มเรียนรู้โลกรอบตัวมากขึ้น เพราะเขาเดินได้แล้ว จึงควรเสริมสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมองอย่าง MFGM ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว ที่พบมากในสมองและจอประสาทตา

ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*

เมื่อได้รู้แล้วว่าอาหารเด็ก 1 ขวบเป็นอย่างไร ลูกกินอะไรได้บ้าง คุณแม่ก็สามารถจัดหาให้ลูกได้ โดยเฉพาะตัวอย่างเมนูอาหารที่นำมาแนะนำค่ะ

 

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.

 

ไขรหัสลับ MFGM สารอาหารสำคัญที่พบในนมแม่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เขาแข็งแรง