รู้สึกเหมือน เท้าบวมหลังคลอด หรือเปล่านะ? มาลงลึกถึงสาเหตุการบวมน้ำช่วงตั้งครรภ์ และ 6 ขั้นตอนง่ายๆ เพื่อช่วยลดอาการบวมหลังคลอดกัน

เมื่อตั้งครรภ์มักจะมีการบวมน้ำบริเวณบางจุดของร่างกาย เช่น ข้อเท้า เท้า หรือมือ ถือเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ และบทความนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจการบวมน้ำมากขึ้น รวมถึงวิธีที่จะช่วยลดอาการลงอีกด้วย

คุณแม่กำลังรู้สึกว่าตัวเองมีอาการบวมแปลกๆ อยู่หรือเปล่าเอ่ย? การบวมน้ำช่วงระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ มือ ขา หรือแม้แต่ใบหน้าก็สามารถเกิดอาการบวมได้ แต่ส่วนที่เกิดบ่อยที่สุดก็คือ เท้าและข้อเท้า ถึงแม้ว่าอาการบวมนั้นจะเกิดขึ้นได้ ตลอดระหว่างการตั้งครรภ์ แต่โดยส่วนใหญ่มักเริ่มพบเมื่ออายุครรภ์ครบ 5 เดือน และเพิ่มอาการขึ้นเรื่อยๆ ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

อาการบวมนี้เกิดขึ้นจากปริมาณของเหลวและเลือดที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% ระหว่างตั้งครรภ์ และอาการบวมหลังคลอดจะค่อยๆ ลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ก็มีเคล็ดลับที่คุณแม่สามารถทำเพื่อช่วยลดอาการบวมเหล่านี้ลงได้

เข้าใจอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด

มีหลายปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดการบวมน้ำมากขึ้น แล้วปัจจัยไหนที่จะช่วยลดอาการบวมบ้างนะ?

  • อุณหภูมิที่สูงขึ้น

  • เดินหรือยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน

  • ปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไป

  • ปริมาณโซเดียมที่มากเกินไป

รับมืออาการขา-เท้าบวมหลังคลอด

ลดอาการบวมน้ำลงได้ด้วยการทานอาหารที่เหมาะสม อาหารเป็นส่วนหลักที่มีผลกระตุ้นอาการบวมน้ำ ดังนั้นคุณแม่ควรใส่ใจ กับปริมาณและชนิดของอาหาร เช่น ลดการดื่มกาแฟ และลดความเค็มของอาหารลง

ลองนอนตะแคงดูบ้าง ลองเปลี่ยนท่านอนมาเป็นตะแคงด้านซ้ายดูบ้าง จะสามารถลดอาการบวมหลังคลอดได้เพราะท่านอนหงายจะทำให้มดลูกกดทับลงบนเส้นเลือดใหญ่ ซึ่งเส้นเลือดใหญ่จะทำหน้าที่ส่งเลือดจากส่วนล่างของร่างกายไปยังหัวใจ เมื่อการไหลเวียนไม่เป็นไปอย่างที่เคย อาการบวมของร่างกายส่วนล่างจะเกิดขึ้นได้

แต่การนอนตะแคงนานๆ ก็อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวเช่นกัน เพื่อลดความไม่สบายตัวนี้ แก้ได้ด้วยการใช้หมอนนุ่มๆ หลายๆ ใบ วางไว้ระหว่างขาบริเวณเข่า หรือแค่วางไว้ใต้ขาขวา หรือจะเป็นหมอนรูปตัว C ตัว U หรือหมอนรูปถั่วก็ใช้ได้ดีเช่นกัน อีกทั้งเมื่อคลอดแล้วยังนำมาใช้เป็นหมอนสำหรับให้นมได้อีกด้วย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ดื่มน้ำมากๆ ช่วยลดอาการขา-เท้าบวมหลังคลอด

ดื่มน้ำให้มากๆ การดื่มน้ำจะช่วยในการขับน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย ออกทางปัสสาวะ โดยปริมาณที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำต่อวันก็คือ อย่างน้อย 10 แก้ว หรือ 2.3 ลิตรต่อวัน

ลดการเดินหรือยืนเป็นเวลานานๆ หากคุณแม่พบปัญหาการบวม ตามร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนเป็นเวลานานๆ และลดแรงกดที่เท้าให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่หากคุณแม่ต้อง เดินทางไกล ควรเลือกสวมถุงน่อง/ถุงเท้าเพื่อเพิ่มความดัน หรือถุงน่องรัดกล้ามเนื้อ เพื่อลดโอกาสการอุดตันของหลอดเลือดขา

ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เหมาะสม เลือกรองเท้าส้นเตี้ยสวมสบายแทนรองเท้าส้นสูง และปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามว่าการสวมถุงน่อง หรือถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการบวมหลังคลอดลงได้

ใช้ความเย็นเข้าช่วย เพื่อลดอาการบวมหลังคลอดและความไม่สบายตัว คุณแม่อาจลองการสวมผ้ารัดที่ตำแหน่งของร่างกายที่มีอาการบวม และนักวิชาการบางรายยังเสนอว่าการลงสระน้ำเป็นหนึ่งในวิธีช่วยลดอาการบวม เพราะแรงดันของน้ำจะช่วยลดอาการลงได้ และยังช่วยให้ผ่อนคลายได้อีกด้วย

ทั้งนี้ สังเกตอาการก่อนปรึกษาแพทย์ เพราะถึงแม้อาการบวมจะเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่การบวมแบบกะทันหัน บริเวณหน้า มือ หรือรอบดวงตานั้น อาจเป็นสัญญาณถึงอันตรายที่เรียกว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีหากพบ อาการบวมที่น่าสงสัย และอาการอย่างอื่นที่ควรระวังคือ การบวมอย่างรวดเร็วและเจ็บปวดบริเวณขา ซึ่งอาจเกิดการอุดตันของ เส้นเลือดที่ขา ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างด่วนที่สุด อาจฟังดูน่ากลัวเล็กน้อยแต่อาการบวมน้ำนั้น ถือเป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ ที่ทุกคนต้องเจอ ถ้าหากเทียบเป็นน้ำหนักแล้วกว่า 25% ของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์นั้น มีสาเหตุมาจากการอาการบวมน้ำนี่เอง

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

References:

  1. 1 Signs of labor: Know what to expect. (2016, June 18). Retrieved June 01, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/...

  2. 2 Stages of labor and birth: Baby, it's time! (2016, June 22). Retrieved June 01, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/...

  3. 3 Problems in the week after the birth. Retrieved on 16 June 2017 from, http://www.health.govt.nz/your-health/pregnancy-and-kids/birth-and-after...