นักจิตวิทยาทางการศึกษาเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่แล้ว และสามารถพัฒนาได้ตามระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน หากเด็กคนนั้นๆ ได้รับการวางพื้นฐานการคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เด็ก

สร้างสรรค์ความสำเร็จ ด้วยความคิด

เมื่อสมองถูกกระตุ้นให้คิดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เซลล์สมองเด็กสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่ได้พบเห็นเข้าด้วยกันได้อย่างง่ายดาย เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ซึ่งก็คือเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมานั่นเอง เมื่อเด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ก็ง่ายที่เขาจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมา
 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ความสำคัญของการริเริ่มสร้างสรรค์ต่อความสำเร็จในอนาคต

 

สร้างสรรค์ความสำเร็จ ด้วยความคิด

มีแนวโน้มว่าเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มักเป็นเด็กฉลาดและประสบความสำเร็จได้ง่ายในอนาคต เพราะเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะมีความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร มีความคิดหลากหลายรวดเร็ว  มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบตั้งคำถามและหาคำตอบในทุกสิ่งที่สงสัย กล้าคิดกล้าลอง ไม่ติดกับกรอบเดิม จึงสามารถจัดการกับข้อมูลที่มีมากมายและทุกคนสามารถเข้าถึงได้เหมือนกัน ได้อย่างแตกต่างและโดดเด่นกว่าคนอื่น

 

สร้างสรรค์ความสำเร็จ ด้วยความคิด

 

กิจกรรมสำหรับ ลูกน้อยวัย 1-3 ขวบ

รายละเอียด

ให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน

การให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการกับสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องทำ อาจจะเป็นวิธีใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิม เช่น ลูกอาจจะสวมหรือถอดเสื้อด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป แปรงฟันในลำดับที่แตกต่างจากพ่อแม่ ฯลฯ ซึ่งหากสิ่งที่ลูกคิดต่าง ไม่ผิดกฎ กติกาของสังคม หรือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ก็ควรปล่อยให้ลูกได้ทำสิ่งนั้นๆ

ให้ลูกเล่นอย่างอิสระ

 นำของเล่นปลายเปิด เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อ ที่สามารถเล่นได้หลายรูปแบบ รวมถึงสิ่งของรอบตัว เช่น กล่องกระดาษ ทราย ดินน้ำมัน มาให้ลูกเล่น เพราะเป็นของเล่นที่ลูกสามารถใช้จินตนาการ สร้างสรรค์การเล่นด้วยตนเองอย่างอิสระ

เล่านิทานแล้วถามความเห็น

เล่านิทานประกอบภาพและอ่านหนังสือให้ลูกฟัง แล้วถามความเห็นว่า... ถ้าลูกเป็นกระต่าย จะนอนหลับจนแพ้เต่ามั้ย ทำไม ถ้าลูกเจอหมาป่าเหมือนหนูน้อยหมวกแดง ลูกจะทำยังไง หรือให้ลูกแต่งนิทานตอนจบของเรื่องที่ฟังเอง เป็นต้น

ตั้งคำถามปลายเปิด

เมื่อลูกเริ่มพูดและสื่อสารได้บ้างแล้ว ลองตั้งคำถามปลายเปิดให้ลูกตอบ เช่น “หนูเห็นอะไร” “หนูรู้สึกอย่างไร” เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ โดยอาจชวนลูกสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว แล้วถามในสิ่งที่เห็นว่าลูกสนใจ เช่น ใบไม้สีอะไร กลิ่นของดอกไม้เป็นอย่างไร หอมหรือไม่ เป็นต้น

ฝึกลูกคิดจากสิ่งที่คุ้นเคย

ให้ลูกบอกความน่ารักของลูกหมาของลูกมา 3 ข้อให้ลูกบอกความน่าเกลียดของลูกหมาของลูกมา 3 ข้อ หรือขณะเล่นก็บอกให้ลูกเล่นคุยโทรศัพท์กับคุณพ่อคุณแม่ โดยที่ไม่มีอุปกรณ์ให้ ดูว่าลูกจะทำอย่างไร เด็กบางคนอาจจะยกบล็อกไม้ ขวดน้ำ ฯลฯ มาพูดแทนโทรศัพท์ เป็นต้น เป็นการช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ของลูก

ตั้งคำถาม “ถ้า...” ฝึกคิดนอกกรอบ

เมื่อพูดคุยหรืออ่านหนังสือกับลูก คือ โอกาสอันดีที่จะตั้งคำถามให้ลูกได้คิดต่อ โดยควรใช้คำถามปลายเปิด หรือคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “ถ้า....” ซึ่งมีคำตอบหลากหลาย ไม่มีผิด-ถูก ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์หรือจินตนาการของเด็ก สมองของเด็กได้ทำงาน เพราะเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่หลากหลาย ไร้ขอบเขต ซึ่งทำให้เด็กกล้าคิด กล้าตอบ เป็นตัวของตัวเอง เช่น “ถ้ารถพ่อเสียวิ่งไม่ได้เราจะไปปากซอยกันได้อย่างไร” “ถ้าลูกเหาะได้ ลูกอยากไปไหน ไปทำอะไร” เป็นต้น

แต่งนิทานนอกกรอบ

ลองตั้งโครงเรื่องนิทาน แล้วให้ลูกคิดต่อ เช่น “กาลครั้งหนึ่งมีม้าตัวหนึ่งมีปีกบินและพูดได้...” ให้พ่อแม่และลูกช่วยกันเล่าเรื่องราวการผจญภัยของม้าตัวนี้

งดคำ “อย่า” “ห้าม”

การเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดสิ่งต่างๆ อย่างอิสระ ได้ลองทำอะไรๆ อย่างอิสระ โดยไม่อยู่ในกรอบที่เคยชิน ที่เคยทำ ที่เคยเห็น โดยไม่สกัดกั้นความคิดต่างของลูกด้วยคำว่า “อย่า” และ “ห้าม” (ยกเว้นสิ่งนั้นเป็นอันตรายและผิดกฎกติกาของสังคม) ก็จะทำให้ลูกคิดเป็น สนุก ท้าทายที่จะคิดอย่างสร้างสรรค์และหลากหลาย

สร้างสรรค์ดนตรีจากเครื่องครัว

เด็กๆ ชอบเคาะชอบตี ลองให้ลูกตั้งวงดนตรีจากเครื่องครัว เช่น หม้อ กะละมัง ทัพพี ฯลฯ ดูว่าลูกใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้สิ่งเหล่านี้อย่างไร ลูกอาจคิดเอาตะหลิวมาเคาะกับกระทะ หรือทัพพีมาตีกับหม้อ เอาแก้วน้ำหลายๆ ใบใส่น้ำในปริมาณต่างกันมาเคาะฟังเสียง เป็นต้น

ทำของเล่นเอง

คุณพ่อคุณแม่ลองชวนลูกทำของเล่นเองจากสิ่งใกล้ตัว เช่น สร้างหุ่นยนต์ สร้างบ้านจากกล่องกระดาษ สร้างลูกแซกจากขวดพลาสติกใส่ทราย (และทดลองว่าหากใส่สิ่งอื่นๆ เช่น เมล็ดถั่วขนาดต่างๆ จะให้เสียงที่แตกต่างกันอย่างไร)

ทำงานศิลปะ

งานศิลปะอย่างการวาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ปั้นแป้งโดว์ ฯลฯ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้มาก เพราะเขาสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างอิสระตามจินตนาการ (ให้หัดวาด หรือปั้นเองตามที่ลูกคิด ไม่ควรให้ทำตามแบบที่มี)

เปิดจินตนาการกับเงา

เด็กๆ จะตื่นเต้นกับเงาที่เขาได้เห็น คุณแม่สามารถชวนลูกใช้มือสร้างเงาเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปสุนัข เป็ด นก ฯลฯ (หาแบบได้จากอินเตอร์เน็ต) ให้ลูกดู ให้เขาทำตามและสร้างสรรค์เงาของเขาเอง และให้เขาเล่าเรื่องจากเงาเหล่านั้น

ตั้งคำถามจากธรรมชาติรอบตัว

ธรรมชาติรอบตัวสามารถนำมาฝึกความคิดสร้างสรรค์ลูกได้ เช่น เดินไปเจอใบไม้ ก็ลองให้ลูกคิดต่อว่า ใบไม้ไปทำอะไรได้บ้าง เขาอาจจะตอบว่าเอาไปลอยน้ำ เป็นเรือ เป็นมงกุฎ ฯลฯ หากให้ดีก็ลองนำความคิดลูกมาทำให้เป็นจริงด้วย