ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กินนมผสมนมแม่และนมผงแล้วถ่ายน้อยลง

เมื่อลูกยังเป็นทารก ระบบต่างๆ ในร่างกายยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ซึ่งบ่อยครั้งที่คุณแม่มักพบว่า ลูกมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย แต่กลไกธรรมชาติก็ให้ “นมแม่” มาเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพื่อเป็นทางออกสำหรับปัญหานี้ ทารกที่ได้รับนมแม่มักมีโอกาสท้องผูกน้อย เพราะนมแม่ย่อยง่ายและมีใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย  แต่บางครั้งคุณแม่ก็มีความจำเป็นที่ต้องให้ลูกกินนมผง หรือกินนมแม่สลับกับนมผง จากที่ไม่เคยมีปัญหาการขับถ่าย ก็พบว่าลูกถ่ายน้อยลง สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับนมผงที่ลูกกินใช่หรือไม่ และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร เรามาหาคำตอบกันค่ะ

เมื่อต้องให้ลูกกินนมผสมระหว่างนมแม่และนมผง

คุณแม่บางคนมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะให้ลูกกินนมแม่นานที่สุด แต่ด้วยความจำเป็นบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้ คุณแม่จึงหาทางออกด้วยการให้ลูกกินนมผสมระหว่างนมแม่และนมผง โดยบางคนอาจใช้วิธีสลับมื้อนม บางคนก็ใช้วิธีผสมนมแม่กับนมผงในขวดเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยให้ชงนมผงตามสัดส่วนที่ผลิตภัณฑ์นมนั้นๆ แนะนำก่อน แล้วจึงเทใส่ขวดที่เตรียมนมแม่ไว้ (ไม่แนะนำให้ละลายนมผงลงในนมแม่โดยตรง) แล้วนำไปให้ลูกกิน แต่ก็พบว่าลูกถ่ายน้อยลง ถ่ายยาก บางครั้งก็ท้องผูก ทั้งนี้เนื่องจากนมผงมีส่วนผสมที่อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานมากขึ้น เช่น นมผงเสริมธาตุเหล็ก ก็จะทำให้ความถี่ในการขับถ่ายน้อยลง ถ่ายเป็นก้อนมากขึ้น สีเข้มขึ้น ร่างกายเด็กจะใช้เวลาในการปรับตัวนั่นเอง

ให้ลูกกินนมผสมอย่างไรไม่ให้มีปัญหาการขับถ่าย

เมื่อต้องการให้นมเด็กแรกเกิด การใช้นมผงผสมกับนมแม่นั้นเป็นเรื่องปกติที่จะช่วยคุณแม่ให้เกิดความสะดวกในการเตรียมนมลูกเมื่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดลูก หรือคุณแม่มีปัญหาในการให้นมลูก

 

เพื่อให้ลูกมีปัญหาการขับถ่ายน้อยที่สุด คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมผสมระหว่างนมแม่กับนมผงด้วยวิธีผสมนมแม่และนมผงในขวดเดียวกัน ดังนี้

  • - วันที่ 1-3 ใช้นมผง 1ออนซ์ แทนนมแม่ในทุกขวด เช่น ถ้าลูกกิน 6 ออนซ์ต่อขวด ให้ลดนมแม่จาก 6 ออนซ์ เหลือ 5 ออนซ์ แล้วตวงนมผงมาผสมอีก 1 ออนซ์ เพื่อช่วยให้ร่างกายลูกค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับการย่อยและรสชาติของนมผงได้

  • - วันที่ 4-6 ใช้นมผงแทนนมแม่ 2 ออนซ์ ในทุกขวด โดยลดนมแม่ลงมาอีก จากนมเดิม 5 ออนซ์ เหลือ 4 ออนซ์

  • - วันที่ 7-9 ใช้นมผงแทนนมแม่ 3 ออนซ์ในทุกขวด ลดนมแม่ลงเหลือ 3 ออนซ์

  • - วันที่ 10 ใช้นมผงแทนนมแม่ 2 ออนซ์ ในทุกขวด ลดนมแม่ลงเหลือ 4 ออนซ์

  • - วันที่ 11 ใช้นมผงแทนนมแม่ 5 ออนซ์ ในทุกขวด โดยลดนมแม่ลงเหลือ 1 ออนซ์

  • - วันที่ 12 ให้ลูกกินนมผงทั้งขวด

สิ่งที่คุณแม่ควรทราบคือ การปรับเปลี่ยนวิธีกินนมนี้ ลูกอาจมีปัญหาการการขับถ่าย เช่น อาการถ่ายเป็นก้อนแข็ง ท้องผูก หรือท้องเสียได้บ้าง แต่ประมาณ 5-7 วัน ลูกจะค่อยๆ ปรับตัวกับนมใหม่ได้ คุณแม่จึงควรให้เวลาร่างกายลูกน้อยสักนิดนะคะ แต่ถ้าลูกยังมีปัญหาท้องผูก ถ่ายแข็ง หรือปัญหาขับถ่ายอื่นๆ อย่างต่อเนื่องควรปรึกษาคุณหมอ หรือเลือกนมผงที่ป้องกันปัญหาการขับถ่ายค่ะ

  • เลือกนมผงอย่างไรช่วยป้องกันปัญหาการขับถ่าย

    เมื่อลูกได้กินนมแม่จะมีโอกาสท้องผูกน้อย เพราะนมแม่ มีโอลิโกแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นใยอาหารธรรมชาติที่ย่อยง่าย ช่วยให้ลูกน้อยขับถ่ายได้ดี แต่หากคุณแม่จะต้องให้ลูกกินนมผสม ก็ควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงกับนมแม่ นั่นคือ...

  • มี พีดีเอ็กซ์ (PDX) ใยอาหารสุขภาพ เป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ ด้วยโครงสร้างของพีดีเอ็กซ์ที่ซับซ้อนกว่าใยอาหารชนิดอื่น จึงทำให้กระบวนการย่อยเป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง เป็นการรักษาสมดุลในลำไส้ของเด็ก

  • กอส (GOS) เป็นพรีไบโอติกส์ หรืออาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในลำไส้ของคนเราด้วยเช่นกัน ช่วยกระตุ้นและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดีแล้ว ยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้เด็กอีกด้วย

เส้นใยอาหารสุขภาพทั้ง 2 ชนิดนี้ พีดีเอ็กซ์และกอส จะทำงานควบคู่กันภายในลำไส้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพหรือจุลินทรีย์ชนิดดี สนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพและการขับถ่ายของเด็ก จึงลดอาการท้องผูกที่เป็นปัญหาใหญ่เมื่อเด็กปรับเปลี่ยนนม

หรือหากเป็นนมที่มี MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมที่พบในน้ำนมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเด็กที่พบในนมแม่ คุณแม่ยิ่งมั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับประโยชน์จากนมที่กินอย่างเต็มที่

การได้รับสารอาหารจากนมอย่างเต็มที่จะช่วยให้สมองและร่างกายของลูกน้อยได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกนมผสมที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่จะส่งผลต่อพัฒนาการของร่างกายและสมองลูกค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner