ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ลูกงอแงร้องกวน สัญญาณไม่ถูกกับนม

เมื่อลูกงอแง ร้องไห้โยเย กวนคุณแม่ทั้งยามหลับยามตื่น อย่างนี้ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ เพราะนั่นคือการทำลายช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ของลูก ได้เวลาคุณแม่ต้องจับสังเกตอาการลูกน้อยให้ถี่ถ้วน หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการต่างๆ ของลูกให้เจอ เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจกำลังไม่ถูกกับนมที่กินอยู่

ชวนคุณแม่สังเกตอาการลูกน้อยหลังดื่มนม

  1. งอแง ร้องไห้โยเย ร้องกวน แสดงท่าทางไม่สบายตัว

  2. อาเจียนบ่อย

  3. แหวะนมบ่อย

  4. ถ่ายอุจจาระแข็ง

  5. ท้องเสียบ่อยๆ

  6. แน่นท้อง เนื่องจากมีลม มีแก๊สในช่องท้อง

  7. ท้องอืด ท้องป่องบ่อย

  8. ผายลมบ่อย

  9. ตื่นเร็ว นอนยาก เวลานอนหลับก็ไม่สนิท เนื่องจากไม่สบายท้อง

  10. ตื่นเร็ว นอนยาก เวลานอนหลับก็ไม่สนิท เนื่องจากไม่สบายท้อง น้ำหนักไม่ขึ้น

จากอาการข้างต้น หากลูกน้อยของคุณแม่มีอาการใดอาการหนึ่ง แสดงว่าลูกอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยนม อาการเหล่านี้ถือว่าเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก จากการสำรวจในกลุ่มคุณแม่ที่มีลูกอายุแรกเกิดถึง 12 เดือน พบว่า 1 ใน 2 ของเด็กทารกมีอาการร้องงอแงจากการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ร้องกวน และแหวะนม ซึ่งมีอาการมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป

สาเหตุของปัญหาเด็กงอแงหลังดื่มนม

ลูกไม่สบายท้อง ก็ทำให้เด็กทารกร้องไห้งอแงได้ / ทารกแพ้นมดูได้จากอุจจาระ อาการหลังให้นม หรือจะเป็นการที่เด็กทารกอาเจียนบ่อยๆ

 

การที่เด็กงอแง ร้องไห้เพราะไม่สบายท้อง รวมทั้งอาการอื่นๆ ดังกล่าวหลังดื่มนมในช่วงวัยขวบปีแรก อาจเกิดจากระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารของเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงยังย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ไม่สมบูรณ์และทำให้เด็กท้องเสียหรือไม่สบายท้องได้ ซึ่งสารอาหารที่ว่านี้ก็อยู่ในนมที่ลูกกินนั่นเอง จึงพูดได้อีกอย่างว่า “นม” คือ สาเหตุของอาการลูกงอแง เพราะท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องกวน และแหวะนมดังกล่าว

ลูกงอแง ร้องไห้ เพราะไม่สบายท้อง เกี่ยวข้องกับนมอย่างไร

ลูกงอแง ร้องไห้ เพราะไม่สบายท้อง เกี่ยวข้องกับนมโดยตรง เพราะเมื่อลูกดื่มนมที่มีโปรตีนและน้ำตาลแลคโตส เป็นส่วนประกอบสำคัญ หากระบบทางเดินอาหารมีการทำงานที่สมบูรณ์ เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยโปรตีนและน้ำตาลแลคโตสจะทำงานได้ 100% ก็จะไม่ทำให้เด็กท้องเสียหรือเกิดอาการไม่สบายท้อง แต่ในเด็กช่วงวัยขวบปีแรกเอนไซม์แลคเตส ซึ่งทำหน้าที่ย่อยแลคโตสอาจทำงานได้เพียง 70% ส่วนเอนไซม์เอนเทอโรไคเนส ซึ่งทำหน้าที่ย่อยโปรตีนทำงานได้เพียง 25 % ด้วยเหตุนี้น้ำตาลแลคโตสและโปรตีนบางส่วนในนมจึงไม่ถูกย่อย และถูกส่งผ่านมาจากลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีแบคทีเรียจำนวนมากอาศัยอยู่ และแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยน้ำตาลแลคโตสและโปรตีนที่ตกค้างอยู่นี้ ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร เป็นสาเหตุให้ทารกท้องเสียและเกิดอาการไม่สบายท้องนั่นเอง

การแก้ไขอาการลูกงอแง ร้องไห้ เพราะไม่สบายท้อง

“นมแม่” เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารก เพราะย่อยง่าย และมีสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนสำหรับลูกน้อย แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผงกับลูก แล้วพบว่าลูกร้องงอแง เพราะท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องกวนหลังกินนมผงนั้น ขอแนะนำให้คุณแม่ลองปรึกษาคุณหมอถึงปัญหานี้ รวมทั้งเปลี่ยนนมมาเป็นนมสูตรย่อยง่าย

นมสูตรย่อยง่ายช่วยให้สบายท้อง ลดอาการลูกร้องงอแงได้

นมสูตรย่อยง่าย ช่วยให้สบายท้อง ลดอาการลูกร้องงอแงได้ ด้วยคุณสมบัติดังนี้

  • มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้โปรตีนนมมีขนาดเล็กลงกว่านมสูตรปกติ ร่างกายลูกจึงย่อยและดูดซึมรับสารอาหารได้หมด ไม่ตกค้างเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่จะย่อยโปรตีนที่ตกค้างเหล่านี้จนเกิดเป็นแก๊สที่ก่อให้เกิดอาการสบายท้องต่าง ๆ ดังกล่าว

  • มีน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่านมสูตรปกติ  ซึ่งจะลดปัญหาเมื่อเด็กย่อยน้ำตาลแลคโตสได้จำกัด แต่ได้ปริมาณน้ำตาลแลคโตสเพียงพอสำหรับสมองของเด็กที่กำลังเติบโต และยังช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ทำงาน ทำให้อุจจาระเด็กนิ่มด้วย

  • มี DHA, ARA และสารอาหารสำคัญอื่นๆ  ซึ่งช่วยบำรุงสมองและร่างกายของลูกให้พัฒนาอย่างเหมาะสมตามวัย

ช่วยลูกสบายท้องหลังกินนม

นอกจากการเปลี่ยนนมมาเป็นนมสูตรย่อยง่ายแล้ว เพื่อให้ลูกสบายตัวหลังมื้อนมที่สุด คุณแม่ควรทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยค่ะ

  • อุ้มลูกพาดบ่าให้เรอลมออกมาหลังกินนมอิ่มทุกมื้อ

  • ยกปลายเท้าลูกขึ้นทำท่าปั่นจักรยาน โดยให้ลูกนอนหงาย คุณแม่จับปลายเท้าแต่ละข้างของลูก ยกปลายเท้าลูกขึ้นมาหมุนเหมือนกำลังปั่นจักรยานกลางอากาศ  โดยทำอย่างช้าๆ วิธีนี้จะช่วยไล่ลมในท้องของลูกได้

เมื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด คุณแม่จะไม่มีความกังวลใจกับปัญหาลูกร้องงอแง ร้องกวนจากการไม่สบายท้องต่างๆ ซึ่งเกิดจาก “นม” อีกต่อไปค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner