ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เคล็ดลับรับมือเมื่อทารกท้องผูก

ถ้าถามคุณแม่ว่าปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายใดของลูกที่สร้างความกังวลให้คุณแม่มากที่สุด “ทารกท้องผูก” ดูจะเป็นปัญหาอันดับต้นๆ โดยเฉพาะหากลูกกินนมผง และคุณแม่รู้หรือไม่ว่าหากทารกท้องผูกมากและปล่อยไว้นานโดยไม่แก้ไข  อาจกลายเป็นท้องผูกเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ และการเรียนรู้ของเขาได้ เรามีเคล็ดลับรับมือเมื่อทารกท้องผูกมาฝากกันค่ะ

ทารกอาเจียนและมีไข้สูง

  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

  • ถ่ายอุจจาระลําบาก ต้องเบ่งถ่าย และใช้เวลาถ่ายนาน

  • อุจจาระแข็งเป็นเม็ดเหมือนขี้แพะและมีปริมาณน้อย

สาเหตุที่ทารกท้องผูก

ก่อนจะไปรู้จักกับเคล็ดลับรับมือเมื่อทารกท้องผูก เราควรรู้ถึงที่มาที่ไปของปัญหานี้กันสักนิด ทารกท้องผูกอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • ทารกไม่ได้กินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่จะมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง

  • ชงนมผงเข้มข้นเกินไป การชงนมผงเข้มข้นเกินไปก็ทำให้ลูกท้องผูกได้

  • ลูกขาดน้ำ เพราะกินนมหรือดื่มน้ำน้อยเกินไป

  • ลูกได้รับกากใยน้อย ซึ่งกากใยเหล่านี้มีมากในผัก ผลไม้

ทารกท้องผูกแบบไหนอันตราย

ท้องผูกที่เป็นอันตรายคือ ทารกถ่ายยากและถ่ายออกมาพร้อมเลือด หรือทารกไม่ถ่ายจนอึดอัดท้องส่งผลให้กินนมได้น้อยลงจนน้ำหนักลด

ท้องผูกในเด็กทารกอาจเกิดอันตรายถึงขั้นถ่ายมีเลือด โดยจะมีลักษณะอุจจาระที่แข็งมาก และทานนมได้น้อยลง

 

หรือในทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือน ควรพาลูกไปพบคุณหมอหากอยู่ๆ ลูกถ่ายอุจจาระแข็งมากทั้งที่เมื่อก่อนถ่ายเป็นปกติ

เคล็ดลับรับมือเมื่อทารกท้องผูก

  • ให้ลูกกินนมแม่ ทารกที่กินนมแม่จะมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่าเด็กกินนมผง เพราะนมแม่ย่อยง่าย

  • ให้ลูกกินนมอย่างเพียงพอ ควรให้ลูกกินนมอย่างเพียงพอตามความต้องการของลูก การที่ลูกกินนมไม่เพียงพอก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการทารกท้องผูก เพราะในน้ำนมมีน้ำเป็นส่วนประกอบช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น คุณแม่ต้องแน่ใจว่าได้ให้นมเพียงพอกับความต้องการของลูกน้อย

  • เปลี่ยนนมที่มีใยอาหารสุขภาพช่วยในการขับถ่าย อย่างที่บอกว่าเด็กกินนมแม่จะมีปัญหาท้องผูกน้อย เพราะนมแม่ มีโอลิโกแซคคาไรด์ (HMO) ซึ่งเป็นใยอาหารธรรมชาติ
ที่ย่อยง่าย ช่วยให้ลูกน้อยขับถ่ายได้ดี สำหรับเด็กกินนมผงแล้วท้องผูก คุณแม่อาจพิจารณาเลือกนมสูตรที่มีใยอาหารสุขภาพที่ช่วยในการขับถ่ายอย่างพีดีเอ็กซ์ (PDX) และ กอส (GOS) ซึ่งเป็นเส้นใยอาหาร และทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ ด้วยโครงสร้างของพีดีเอ็กซ์ที่ซับซ้อนกว่าไฟเบอร์ชนิดอื่น จึงทำให้กระบวนการย่อยเป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์สุขภาพ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง เป็นการรักษาสมดุลในลำไส้ ขณะที่กอส ก็จะช่วยกระตุ้นและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เด็กระบบขับถ่ายที่ดีแล้ว ยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับเด็กอีกด้วย

    เมื่อเด็กได้รับนมที่มีส่วนผสมของเส้นใยอาหารสุขภาพทั้งสองชนิด คือพีดีเอ็กซ์ และ กอส ซึ่งจะทำงานควบคู่กันภายในลำไส้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ สนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องผูก ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพและการขับถ่ายของเด็ก

  • อย่าชงนมเข้มข้นไป ลองตรวจสอบว่าคุณแม่ชงนมเข้มข้นเกินไปหรือเปล่า ถ้าชงตามสูตรแล้วยังท้องผูกก็ลองเปลี่ยนนมสูตรที่มีใยอาหารสุขภาพช่วยย่อยดังกล่าว จะช่วยลดอาการท้องผูกลงได้

  • กระตุ้นลำไส้และระบบย่อยอาหารของลูก เช่น การยกข้อเท้าลูกขึ้นและทำท่าเหมือนท่าปั่นจักรยานช้าๆ หรือการนวดท้องลูกวนไปตามเข็มนาฬิกา ซึ่งการออกกำลังกายเช่นนี้ จะช่วยให้ลำไส้ลูกเกิดการเคลื่อนตัวและคลายตัวลงจนลูกขับถ่ายได้

  • เพิ่มเมนูผักให้ลูก สำหรับลูกวัยกินอาหารเสริมได้แล้ว (6 เดือนขึ้นไป) หากลูกกินอาหารเสริมแล้วท้องผูก ไม่ถ่าย ให้เพิ่มเมนูผักใบเพื่อเพิ่มเส้นใย เช่น ตำลึง บรอกโคลี ผักกาดขาว ฯลฯ รวมทั้งให้ลูกกินผลไม้ เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุกเพิ่มด้วย

  • ให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้น ควรให้ลูกจิบน้ำบ่อยๆ ระหว่างวัน และอาจให้ลูกกินน้ำลูกพรุนหรือน้ำลูกแพร์ เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ด้วย

  • ปรึกษาหมอ ไม่ควรปล่อยให้ลูกท้องผูกติดต่อกันนานเกินหนึ่งสัปดาห์ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งจะแก้ไขได้ยากขึ้น

เมื่อทารกท้องผูกแล้วคุณแม่ดูแลอย่างเอาใจใส่ เชื่อมั่นค่ะว่าคุณแม่และลูกน้อยจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ไปได้ในไม่ช้า เมื่อลูกน้อยขับถ่ายได้อย่างปกติ เขาก็จะมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีตามมาค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner