พัฒนาการสมองและการเรียนรู้ เกิดจากการเรียนรู้ของลูกน้อย

พัฒนาการสำคัญของลูกน้อย 1,000 วันแรก หรือก็คือช่วงเวลาสามปีตั้งแต่ตั้งครรภ์จนลูกน้อยคลอดออกมานั้น เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองของลูกน้อยจะพัฒนามากถึง 80 % คุณแม่สามารถใช้ช่วงเวลาล้ำค่าระหว่างตั้งครรภ์เหล่านี้ในการบำรุงสมองลูกโดยบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ จนเมื่อถึงช่วงเวลาที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก สมองของลูกจะมีพัฒนาการที่ก้าวล้ำ 

สำหรับเด็กวัยแรกเกิดแล้วนั้น การเรียนรู้ของพวกเขาจะเกิดจากสิ่งวดล้อมรอบๆตัว ผ่านระบบผระสาทสัมผัสทั้ง 5  ก็คือ ตา หู จมูก ปากและผิว คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจมีการเข้าใจผิดที่ว่าทารกในวัยนี้นั้นไม่ได้เรียนรู้อะไรนอกจากกินและนอน จึงไม่ได้ทำเสริมสร้างกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกน้อย ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยนั้นมีปฏิกิริยาในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ช้าและมีพัฒนาการที่ช้าตามไปด้วย ในความเป็นจริงแล้วนั้น การเรียนรู้ของเด็กแรกเกิดนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาเพียงสัปดาห์แรกที่ลูกลืมตาดูลูก ก็เป็นช่วงเวลาที่ล้ำค่าในการกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้แล้ว  

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เพราะฉะนั้น สำหรับลูกวัยแรกเกิด สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือไม่ปล่อยให้ลูกนอนเฉยๆ แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ใช้สัมผัสทุกส่วนบ่อยๆ เช่น โอบกอดลูก เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัส  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นสมอง สมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาทที่มีการแตกแขนงอย่างมากมาย ทำให้เกิดการรับรู้ การตอบสนอง และการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใด หรือเร็วเท่าใด สมองจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่ได้รับ จะทําให้เกิดการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง เกิดการเชื่อมโยงของเส้นใยประสาทสมองมากขึ้นนั่นเอง

  • ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

เช็คปฏิกิริยาตอบสนองของทารกวัยแรกเกิด

ลูกวัยแรกเกิดมีพัฒนาการอย่างหนึ่งที่แสดงออกมาทางกายให้เห็น  นั่นคือ  ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับ  ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ทารกตอบสนองโดยอัตโนมัติ และบ่งบอกถึงพัฒนาการของการทำงานสมองและเส้นประสาทที่เป็นปกติ และจะค่อยๆ หายไปเมื่อทารกเติบโตขึ้น  ร่างกายของทารกหลังคลอดจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับของเด็ก

ลูกน้อยแรกเกิดมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับใดบ้าง คุณแม่ลองเช็คกันดูค่ะ

--- เมื่อได้ยินเสียงดังๆ หรือเมื่อวางลูกนอนลงอย่างกะทันหัน ลูกแสดงอาการตกใจ สะดุ้ง หรือผวา

--- เมื่อแม่เอานิ้วมือไปสัมผัสบริเวณฝ่ามือของลูก ลูกจะค่อยๆ กำมือเข้าหา  ถ้าดึงออก ลูกจะยิ่งกำแน่นขึ้น

--- เมื่อแตะมุมปาก ลูกจะเผยอปากพร้อมกับหันหานิ้วที่แตะ ทำท่าเตรียมดูดนม

---เมื่อได้ยินเสียงดัง แสงจ้าเข้าตา หรือถูกอุ้มแบบกะทันหัน ลูกจะสะดุ้ง ร้องไห้ พร้อมๆ กับแอ่นหลัง แขนขา  กางออก แล้วหดกลับมางอตัวอย่างรวดเร็ว

---เมื่อแตะสันจมูกหรือส่องไฟเข้าหน้า ทารกจะหลับตาแน่น

---เมื่อแตะหลังมือหรือหลังเท้าลูก ทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้าจะกางออก

---เมื่อแตะที่ฝ่าเท้าเบาๆ เข่าและเท้าทารกจะงอ

---เมื่อทารกนอนเอียงศีรษะไปด้านหนึ่งพร้อมกับเหยียดแขนข้างเดียวกัน แขนอีกข้างจะงอขึ้นคล้ายท่ายิงธนู

การไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับเหล่านี้  อาจหมายถึงสัญญาณผิดปกติของพัฒนาการลูกได้ เช่น หากได้ยินเสียงดังแล้วลูกยังนอนเฉย อาจมีปัญหาเรื่องการได้ยิน คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตและตรวจสอบพัฒนาการของลูกค่ะ

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.
  • ด้านภาษาและการสื่อสาร

           ทดสอบการได้ยิน  :   จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ภาษา

            การได้ยินเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ภาษา เมื่อเด็กได้ยินเสียงพูดของคนรอบข้าง เขาจะเลียนแบบเสียงที่ได้ยินนั้น  และพัฒนาเป็นภาษาพูดต่อไป

แม้ลูกในวัยแรกเกิด จะเอาแต่นอนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เขาก็ได้ยินเสียงเสียงแล้ว เพียงแต่ยังหาต้นตอของเสียงไม่ได้  การตรวจสอบว่าลูกได้ยินเสียงหรือไม่จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องทำ ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้โดยสังเกตว่า....

  • เมื่อได้ยินเสียงดังๆ ลูกจะสะดุ้งตื่น หรือร้องไห้ หรือไม่
  • เมื่อแอบสั่นกระดิ่งข้างหูเบาๆ ลูกทำท่ากรอกตาหรือมีการเคลื่อนไหวหรือไม่

            หากลูกไม่มีปฏิกิริยาใดๆ  คุณแม่ควรพาลูกไปเช็คให้ละเอียดค่ะว่าเขามีปัญหาการได้ยินหรือไม่ 

หากลูกไม่มีปัญหาการได้ยิน คุณแม่ควรกระตุ้นการได้ยินของเขาตั้งแต่แบเบาะ  นั่นคือเมื่อเขาตื่นขึ้นมาก็ชวนเขาพูดคุย   ร้องเพลงกล่อม ลองหาของเล่นที่ส่งเสียงดังกรุ๋งกริ๋งให้ฟัง เป็นต้น จะช่วยให้ลูกทักษะการฟังที่ดี เมื่อเขาโตขึ้นมาก็ให้เขาได้ฟังเสียงที่หลากหลายต่อไปค่ะ

  • ด้านอารมณ์และสังคม

           สัมผัสโอบกอด สร้างพื้นฐานอารมณ์ที่ดีให้ลูกน้อย

 ลูกวัยแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนสลับกับการตื่นมากินนมและเล่นเพียงช่วงสั้นๆ คุณแม่สามารถใช้เวลาช่วงที่ให้นมลูกสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกด้วยการสบตา ยิ้ม พูดคุย ร้องเพลง และเล่านิทานให้ลูกฟัง ลูบสัมผัสไปตามเนื้อตัวของลูก  เพราะการสัมผัสผิวกาย การกอดและการนวดตัวลูกเป็นอีกวิธีที่ทำให้ลูกรู้สึกสบาย อบอุ่นใจ มีความสุขและสร้างความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยด้วย รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ลูกได้ซึมซับความสงบจากธรรมชาติรอบตัว ก็จะช่วยให้ลูกอุ่นใจ มีสมาธิ ไม่ตื่นกลัวต่อสิ่งรอบข้างได้ง่าย

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า สารเอนดอร์ฟิน หรือสารแห่งความสุข เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการเสริมพลังด้านบวก (Positive reinforcement) โดยปริมาณของสารเอนดอร์ฟินในพลาสมามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสบาย รู้สึกมีความสุข สงบ  การมีสุขภาพและอารมณ์ดี เป็นต้น

การแสดงออกด้วยความรักของพ่อแม่นั้นเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญถึงลูกน้อย เช่น การกอด ภาษารักจากพ่อแม่จะช่วยกระตุ้นสารความสุขในสมองของลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยมีความสุขและรู้สึกถึงความรักของพ่อกับแม่ สิ่งนี้จะเป็นการระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กต่อไปในอนาคต