2nd month baby development stimulation
- 2 month baby development in intelligence and learning
Create concentration to encourage children to learn
Usually, only one part of what enters the brain of 100 parts of a person can be of interest to us at that moment, and 99 parts are discarded. When children are happy and their hearts focus on activities, the Reward Circuit is stimulated to become more active and learning.
ด้วยเหตุนี้ สมาธิจึงเป็นดั่งจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้และการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กทารก 2 เดือนที่ดี ที่คุณแม่สามารถส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการนี้ได้ตั้งแต่ยังแบเบาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ลูกมีสมาธิแบบเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เพราะโดยพัฒนาการทารก 2 เดือนแล้ว การที่เขาจะสามารถจ้องวัตถุได้ หรือหันไปหาเสียงที่เขาได้ยิน แค่เพียงนาทีสองนาที นั่นก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสมาธิที่เหมาะสมกับวัยของเขาได้แล้ว สมาธิของเด็กวัยนี้คือการนิ่ง จ้องมองสิ่งที่ตนสนใจได้ชั่วเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของพัฒนาการเด็ก2เดือน
ดังนั้น กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิของลูกวัยนี้จึงเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่คุณแม่ทำกับลูกในทุกๆ วันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกได้ดูดนมแม่ การผสานสายตาระหว่างแม่ลูก ตาจ้องตา เนื้อแนบเนื้อ การร้องเพลงเห่กล่อม หรือแม้กระทั่งการนวดสัมผัส เหล่านี้ล้วนช่วยส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก2เดือนในการเสริมสร้างสมาธิ และปูทางลูกน้อยสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตได้แล้ว สำคัญที่ต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศแห่ง “ความสุข” และ “ความสงบ” ด้วยค่ะ
-
พัฒนาการทารก 2 เดือน ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ฝึกสายตา พัฒนาการเอื้อมคว้าด้วยโมบาย
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือน ในด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของลูก ขอแนะนำของเล่นง่ายๆ ที่ช่วยพัฒนาสายตาและการเอื้อมคว้าให้ลูกอย่าง “โมบาย” พ่อแม่สมัยก่อนใช้โมบายคลาสสิกอย่างปลาตะเพียนสาน มาฝึกพัฒนาการลูก ซึ่งสมัยนี้โมบายปลาตะเพียนสานก็ยังนำมาใช้ได้ดีอยู่ หรือคุณแม่อาจจะใช้โมบายสีสันสดใสรูปต่างๆ มีเสียงดังกรุ๋งกริ๋งอยู่ด้วยแทนก็ได้
เพียงคุณแม่แขวนโมบายไว้ในเหนือเตียงหรือเปลที่ลูกนอนหรือเล่น ซึ่งลูกจะได้มองเห็นและสามารถเอื้อมมือคว้าจับเล่นได้ แล้วชวนลูกพูดคุย ชี้ชวนให้ลูกดูโมบาย บอกศัพท์หรือชื่อของสิ่งที่ลูกเห็น เช่น ปลา ลิง ช้าง ฯลฯ ซ้ำทุกครั้ง เพื่อให้ลูกได้รู้จักและจดจำ คุณแม่ลองค่อยๆ ยกโมบายให้สูงขึ้น แล้วใช้มือแตะโมบายให้แกว่งเพื่อเพิ่มความสนใจของลูกให้มากขึ้น ลูกจะพยายามเอื้อมมือคว้าโมบายดูบ้าง การใช้โมบายจึงมีประโยชน์หลายอย่าง ในการช่วยเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือนของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี
กิจกรรมการเล่นแบบนี้ จะทำให้ลูกมีพัฒนาการเด็ก2เดือนที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างชัดเจน เพราะได้ฝึกการใช้สายตาในการมองวัตถุที่เคลื่อนไหว ฝึกการฟังเสียงดนตรีจากโมบาย และการที่ลูกเอื้อมมือจับโมบายนั้น ช่วยให้มือและสายตาของลูกประสานกันดีขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันต่อไปค่ะ
- พัฒนาการทารก 2 เดือน ด้านภาษาและการสื่อสาร
พูดคุยทักทาย ปูพื้นฐานภาษาให้ลูกน้อย
แม้ลูกยังเล็ก แต่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามการส่งเสริมพื้นฐานด้านภาษาและการสื่อสารของเขา เพราะการสื่อสารถือเป็นพัฒนาการทารก 2 เดือนที่สำคัญ คุณแม่จึงควรมีการพูดคุยกับลูก เช่น เรียกชื่อลูก พยักพเยิด ส่งเสียงทักทายลูก เช่น “จ๊ะเอ๋” “สวัสดีจ๊ะ...ลูก” สัมผัสเนื้อตัวลูกในขณะที่พูดคุย และแสดงท่าทางต่างๆ ประกอบคำพูดต่างๆ ขณะทำกิจกรรรม เช่น “อาบน้ำ...อุ๊ย...หนาวจังลูก” “มากินนมร้อนๆ กันนะ” เป็นต้น
คุณแม่ควรทำสิ่งเหล่านี้กับลูกตลอดเวลา (ที่ลูกตื่น) อย่าได้ละเลย เพราะเห็นลูกยังพูดไม่ได้นะคะ ลูกพูดไม่ได้ แต่หากเรามองตาเขา จะเห็นว่าเขามองเราอยู่ตลอดเวลา ลูกรับรู้สิ่งที่คุณแม่พูดได้ค่ะ
กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้ลูกได้มีพัฒนาการทางภาษา พร้อมการได้ยินเสียง เขาจะค่อยๆ เก็บข้อมูลคำศัพท์ที่เขาได้ยินและได้เห็นจากกิริยาประกอบ รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมให้ลูกได้มีพัฒนาการทารก 2 เดือนที่สมวัย
- พัฒนาการทารก 2 เดือน ด้านอารมณ์และสังคม
ตอบสนองลูกเมื่อร้องไห้ สร้างลูกฉลาดทางอารมณ์
พัฒนาการทางจิตวิทยาระบุว่า พัฒนาการช่วง 0-1 ปีนั้น เป็นช่วงของการพัฒนาทางด้านการรับรู้เชื่อใจ/ไม่เชื่อใจ (Trust VS. Mistrust) ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ว่าเมื่อทารกร้องเพื่อต้องการสิ่งต่างๆ และหากได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงที ทารกจะเกิดความเชื่อใจในพ่อแม่ และพัฒนาการอวัยวะต่างๆ ไปอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน หากทารกไม่ได้รับการตอบสนอง หรือได้รับการตอบสนองที่ช้า ทารกจะเกิดความคลางแคลงใจ ซึ่งการใส่ใจพัฒนาการทารก 1-2 เดือน จนถึง 1 ปีนั้นถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างลักษณะนิสัยเพื่อก้าวสู่ช่วงวัยอื่นๆ ต่อไป
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการตอบสนองที่ดีที่สุดเมื่อลูกร้องไห้คือ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทะนุถนอม ลูกน้อยและคุณแม่สามารถสื่อสารถึงกันได้ทั้งสองฝ่าย คุณแม่ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะทำให้ทารกรู้สึกกังวลน้อยลงเวลาที่เขาต้องการอะไรในคราวต่อไป ทารกจะเรียนรู้ที่จะร้องไห้เท่าที่จำเป็น การร้องไห้น่ารำคาญน้อยลง เพราะเขารู้แล้วว่าแม่จะต้องมาหาแน่ๆ การเรียนรู้นี้ถือเป็นพัฒนาการเด็ก2เดือน ที่ลูกได้เรียนรู้จากการปฏิบัติของแม่โดยตรง ซึ่งแม่สามารถจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมของทารกเพื่อเขาจะไม่จำเป็นต้องร้องไห้บ่อยๆ เช่น แม่จะให้ลูกอยู่ใกล้ๆ ตัวถ้ารู้ว่าเขากำลังง่วงและใกล้หลับ แม่จะเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อเสียงร้องเพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วตอนทารกยังเล็กและต้องการการดูแลใกล้ชิด หรือเมื่อเสียงร้องแสดงว่าสถานการณ์กำลังอันตรายจริงๆ แต่การตอบสนองจะช้าลงเมื่อทารกโตขึ้นและเริ่มจะเรียนรู้ที่จะจัดการต่อสิ่งรบกวนได้ด้วยตัวเองค่ะ