ด้วยเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด อาจทำให้คุณแม่บางท่านเจ็บท้องคลอดกะทันหัน จนจำเป็นต้อง คลอดลูกฉุกเฉิน อย่างไม่ทันตั้งตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกได้ วันนี้เอนฟาจึงมีความแนะนำและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคลอดลูกฉุกเฉินมาฝากค่ะ

คลอดลูกฉุกเฉิน คืออะไร

คลอดลูกฉุกเฉิน หรือคลอดก่อนกำหนด เป็นการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดฉุกเฉินมักจะมีปัญหาทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคลอดฉุกเฉินมักจะแตกต่างกันออกไป แต่ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนก็จะสูงขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถดูรายละเอียดของระดับการคลคลอดก่อนกำหนด (Preterm birth) โดยมีข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกได้ดังนี้

      - Extremely Preterm อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์
      - Very Preterm อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 ถึง 32 สัปดาห์
      - Moderate to Late Preterm อายุครรภ์ตั้งแต่ 32 ถึง 37 สัปดาห์ ทารกมักจะมีอวัยวะที่สมบูรณ์แล้ว และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มที่อายุครรภ์น้อยกว่า

สัญญาณเตือนของการ คลอดลูกฉุกเฉิน

การพยายามสังเกตอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องที่เหล่าคุณแม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการ คลอดลูกฉุกเฉิน มักจะมีสัญญาณบ่งบอกให้ได้รู้ตัวก่อน เพื่อจะได้ไปพบคุณหมอได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสัญญาณของการคลอดลูกฉุกเฉิน ได้แก่

          1. คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะมีอาการเมื่อยช่วงเอว ปวดท้องร้าวไปขาหนีบ เอว หรือช่วงหลัง หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไป อาจจะรู้สึกท้องแข็งมากคล้ายช่วงที่เคยเป็นตอนคลอดครั้งก่อน
          2. มีอาการปวดเกร็งมดลูกหรือท้องต่อเนื่องทุก ๆ 10 นาทีหรือภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งถ้ารู้สึกปวดมากกว่า 6 ครั้ง ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
          3. หากถุงน้ำคร่ำแตกทำให้มีน้ำไหลออกมานองพื้น ควรยกระดับเอวให้สูงขึ้นแล้วค่อย ๆ นอนลงพักผ่อน โดยเวลานอนให้ยกสะโพกให้สูงกว่าหัว อย่ายืน ขึ้นบันได หรือลงบันไดด้วยตัวเอง ให้แจ้งโรงพยาบาลและรอจนกว่ารถของทางโรงพยาบาลจะมารับ
          4. คุณแม่ที่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ตั้งครรภ์แฝด หรือมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากกว่าคนทั่วไป
          5. ผู้หญิงที่เคยคลอดลูกมาแล้ว หรือเคยมีประสบการณ์คลอดลูกฉุกเฉิน อย่ารอจนถึงนาทีสุดท้ายแล้วค่อยไปโรงพยาบาล แนะนำให้ไปรออยู่ในโรงพยาบาลจะดีกว่า

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

วิธีรับมือเมื่อต้องคลอดลูกฉุกเฉิน

 

1. รีบไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
หากเริ่มมีน้ำคล่ำไหลออกมาจากช่องคลอด แนะนำว่าควรพาคุณแม่ตั้งครรภ์ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าลืม!!! ที่จะหยิบเอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สมุดฝากครรภ์ ประกันสังคม ประกันชีวิต รวมถึงผ้าขนหนูสะอาด เพื่อใช้ในกรณีที่ฉุกเฉิน

2. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ
คุณแม่สามารถโทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือจากตำรวจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

     - สถานที่ตำรวจ โทร. 191
     - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
     - ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646
     - สถานีวิทยุ จส.100 โทร. 1137
     - สถานีวิทยุ สวพ.91 โทร. 1644

3. ปรับการหายใจเพื่อยืดระยะเวลาในการคลอด
เมื่อมดลูกหดตัว และตำแหน่งของทารกอยู่ต่ำพร้อมคลอด คุณแม่จะรู้สึกอยากเบ่งคลอดหรือเกิดลมเบ่ง ซึ่งถ้าคุณแม่อยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่พร้อมคลอดให้กลั้นลมเบ่งนั้นไว้ด้วยการหายใจเข้าออกสั้น ๆ ทางปาก หรือเป่าลมหายใจออกติดต่อกัน เพื่อยืดระยะเวลาการคลอดออกไปให้นานที่สุด

4. หากจำเป็นต้องคลอดฉุกเฉิน
เมื่อจำเป็นที่จะต้องคลอดลูกฉุกเฉินจริง ๆ ควรจอดรถให้นิ่งสนิท และพยายามหาสถานที่เหมาะสมที่จะใช้ในการคลอดลูก เช่น เบาะหลังรถ หากต้องทำคลอดด้วยตัวเอง คุณแม่ควรตั้งสติ และทำความเข้าใจว่า ตามธรรมชาติแล้ว คุณแม่สามารถคลอดเองได้โดยอาศัยแรงบีบของมดลูกร่วมกับแรงเบ่งของคุณแม่ หากคุณแม่ต้องคลอดในสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวย อย่าออกแรงเบ่งมากเกินไป เพราะการเบ่งมากเกินไปอาจทำให้บริเวณปากช่องคลอดและกล้ามเนื้อภายใต้อุ้งเชิงกรานฉีกขาดได้ นอกจากนั้นควรปฏิบัติตัว ดังนี้

     - คุณแม่ห้ามหนีบขาเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ลูกขาดอากาศหายใจ
     - เมื่อศีรษะของลูกโผล่ออกมา ห้ามออกแรงดึง แต่ให้ประคองเอาไว้ โดยมีผ้าขนหนูสะอาดรองรับ
     - หากทารกคลอดออกมาแล้วยังมีถุงน้ำคร่ำหุ้มอยู่ ให้ฉีกถุงน้ำคร่ำออก เพื่อให้เด็กหายใจได้
     - หากทารกยังไม่ส่งเสียงร้อง ให้จับขาลูกยกขึ้นสูงและให้ศีรษะห้อยลงต่ำกว่าเท้า ลูบหลังหรือตบฝ่าเท้าเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ทารกร้อง
     - ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวทารกให้มิดชิด หากมีรกคลอดออกมาด้วย ให้ห่อรวมกันเอาไว้ และวางทารกเอาไว้แนบหน้าอก
     - ห้ามตัดสายสะดือทารกเองโดดเด็ดขาดเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเลือดออกของทารกได้

หลังจากลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว ให้คุณแม่ลองให้นมลูกน้อย เนื่องจากการให้นมร่วมกับการนวดบริเวณมดลูกเบา ๆ จะช่วยกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี ซึ่งเป็นการช่วยลดการสูญเสียเลือด แต่ถ้าลูกน้อยไม่ยอมดูดนม คุณแม่ลองนวดที่หัวนมเบา ๆ ก่อนลองให้ลูกน้อยดูดนมอีกครั้ง จากนั้นควรส่งตัวคุณแม่และลูกน้อยให้ถึงมือคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอดูแลและรักษาร่างกายให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์

การคลอดลูกฉุกเฉิน เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่จึงควรศึกษาให้ดี ว่าหากต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้จริงๆ จะต้องทำอย่างไรให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยปลอดภัย ทั้งนี้คุณพ่อและคุณแม่ควรช่วยกันสังเกตอาการต่าง ๆ และดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ นอกจากนั้น ควรจะเตรียมของสำคัญเอาไว้ให้พร้อม เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบของที่เตรียมไว้ได้ทันที สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลอดลูก สามารถติดตามได้ ที่นี่

References