พญ.นริศรา สุรทานต์นนท์ อาจารย์แพทย์ประจำหน่วยภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมให้ความรู้และความคิดเห็นต่อการดูแลเด็กที่มีภาวะย่อยแลคโตสที่ผิดปกติ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ที่คุณแม่เข้าใจว่าลูกมีอาการแพ้แลคโตสสาเหตุเกิดจากอะไรคะ

“อาการที่คุณแม่เข้าใจดังกล่าว คือการมีภาวะย่อยแลคโตสที่ผิดปกติ หรือ Lactose Intolerance เกิดจากการที่ร่างกายเราไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตส ซึ่งใช้ย่อยแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมวัวได้ เมื่อกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว ร่างกายจึงไม่สามารถย่อยสลายน้ำตาลแลคโตสได้ น้ำตาลจึงยังคงค้างอยู่ในลำไส้ ทำให้มีการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้ และมีการเคลื่อนตัวของลำไส้เร็วขึ้น คนไข้จึงมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำและปวดท้อง นอกจากนี้แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะย่อยสลายน้ำตาล ทำให้เกิดแก๊สในท้อง อาจจะเกิดอาการท้องอืด อาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนมวัวประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง เมื่ออาการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นพ่อแม่บางคนอาจคิดว่าเป็นอาการของการแพ้โปรตีนนมวัว สิ่งที่สามารถแยกกันได้ง่ายๆ คือเด็กมักมีอาการถ่ายเหลวเพียงอย่างเดียว ไม่มีผื่นหรืออาการแสดงทางระบบหายใจ แตกต่างจากการแพ้โปรตีนนมวัวที่อาจมีอาการแสดงผิดปกติหลายระบบ”

ภาวะย่อยแลคโตสที่ผิดปกติมีอันตรายต่อเด็กอย่างไร

“ภาวะนี้มักไม่อันตรายถึงชีวิต แต่มักทำให้พ่อแม่กังวลใจ ภาวะย่อยแลคโตสที่ผิดปกติเกิดขึ้นได้ 2 แบบ ชนิดแรกเกิดขึ้นในเด็กที่ไม่สามารถสร้างน้ำย่อยแลคเตสได้เลยแต่กำเนิด (Primary lactase deficiency) ซึ่งพบไม่บ่อย ส่วนชนิดที่สองเกิดจากสาเหตุอื่น (Secondary lactase deficiency) เช่น การติดเชื้อไวรัสที่ลำไส้อย่างรุนแรง ทำให้เซลล์เยื่อบุบริเวณผิวลำไส้ส่วนบนถูกเชื้อไวรัสทำลายจนไม่สามารถผลิตเอนไซม์ได้ อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวมักเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากโดยปกติร่างกายเราจะสามารถสร้างเซลล์ของผิวลำไส้กลับขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในช่วงเวลานี้เด็กทารกอาจจำเป็นต้องกินนมที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส เพื่อช่วยเหลือพวกเขาให้สามารถกินนมวัวอย่างไม่มีปัญหา”

 

อึไม่ออก ต้องทำยังไง พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่