ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

ประจำเดือนมาหลังคลอดทำให้น้ำนมลดลงใช่มั้ย?


คุณแม่ให้นมและปั๊มนมทำสต็อกต้องใจหาย เมื่อเห็นว่าประจำเดือนกลับมาอีกครั้ง เพราะรู้ดีว่าสิ่งนี้คือสัญญาณเตือนว่าน้ำนมจะน้อยลง พอหันไปถามเพื่อนๆ ที่ให้นมบางคนก็มาหลังคลอดไม่กี่เดือน บางคนเป็นปีแล้วก็ยังไม่มา มันยังไงกันแน่ จะถือว่าเป็นสัญญาณว่าร่างกายจะผลิตน้ำนมน้อยลงและมันจะค่อยๆ แห้งเหือดไปในไม่ช้าจริงหรือไม่ เอนฟามีคำตอบมาให้ค่ะ

หลังคลอดกี่เดือนประจำเดือนจะกลับมา?


ปกติแล้วหลังจากคลอดลูก ถ้าไม่ได้มีการให้นมแม่ ประจำเดือนจะกลับมาภายใน 6-8 สัปดาห์ แต่ถ้าคุณแม่ให้นมลูกเองอย่างเดียวหรือที่เรียกว่า Exclusive Breastfeeding ระยะเวลาของแต่ละคนจะแตกต่างกัน คุณแม่บางคนไม่มีประจำเดือนเลยระหว่างให้นมลูกอย่างเดียว แต่บางคนไม่กี่เดือน ประจำเดือนก็กลับมาแล้ว คำตอบอยู่ที่ฮอร์โมนชื่อว่า “โปรแลคติน” ที่ช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมออกมาจะไปกดฮอร์โมนเพศไม่ให้มีการตกไข่ ทำให้ช่วงให้นมจึงไม่มีประจำเดือนมา

ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่อย่างคุณฟรานซิส โจนส์ ที่โรงพยาบาล BC Women’s Hospital ในแวนคูเวอร์ แคนาดา บอกว่า “คุณแม่ที่ให้นมลูกไม่บ่อยมากพอ อาจเพราะลูกโตจนทำให้นอนยาวขึ้น หรือลูกเริ่มกินอาหารเสริมได้ คุณแม่อาจกลับมาเกิดการตกไข่ขึ้นในเวลาอีกไม่นาน” แต่ถึงประจำเดือนจะกลับมา คุณแม่ส่วนใหญ่จะไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในการผลิตน้ำนมมากนัก ยกเว้นคุณแม่นักปั๊มหรือให้นมลูกเองทั้งวัน บางคนอาจสังเกตได้เลยว่าปริมาณน้ำนมในช่วงที่กำลังมีประจำเดือนน้อยลงกว่าเดิม หรือไม่ลูกรู้สึกหงุดหงิดที่ดูดแล้วไม่ได้น้ำนมปริมาณเท่าเดิม ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมากเกินไป เพราะเรื่องนี้สามารถแก้ไขได้

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมตามความต้องการของลูก


อยากให้คุณแม่มองข้ามว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาจนท้อแล้วเลิกให้นมลูกหรือเลิกปั๊มไปเลย การมาของประจำเดือนหลังคลอดไม่ได้มีผลกระทบถึงเพียงนั้น ขอให้คุณแม่ที่รู้สึกว่าน้ำนมตัวเองน้อยลง พยายามให้ลูกเข้าเต้าบ่อยขึ้น สลับข้างซ้ายขวากันไป รวมทั้งขยันปั๊มนมในระหว่างที่ลูกดูดข้างหนึ่งก็ปั๊มอีกข้าง หรือไม่ก็ปั๊มต่อทันทีที่ลูกดูดเสร็จ เพราะร่างกายของแม่นั้นจะผลิตน้ำนมออกมาแบบ demand-supply คือลูกต้องการดูดเท่าไหร่ ร่างกายก็จะผลิตออกมาเรื่อยๆ เท่านั้น

อีกอย่างที่อยากให้คุณแม่ดูแลตัวเองเพิ่มก็คือในช่วงที่ประจำเดือนมา ระดับแคลเซียมในเลือดจะลดลง และเรื่องนี้อาจมีผลทำให้การผลิตน้ำนมน้อยลงด้วย ลองเสริมด้วยแคลเซียมและแมกนีเซียมเพิ่มเข้าไปให้ร่างกาย พร้อมกับดื่มน้ำเยอะๆ แล้วให้ลูกดูดบ่อยๆ เท่าที่ต้องการจนกว่าจะอิ่มหรือพยายามปั๊มให้ได้ถึงปริมาณที่เคยได้ อาจจะหยิบเครื่องปั๊มมาบ่อยขึ้นหรือปั๊มให้นานขึ้นก็ได้ค่ะ

ดูดหรือปั๊มบ่อย ช่วยให้น้ำนมมีเพียงพอ


อย่างที่บอกว่าร่างกายของแม่นั้นจะผลิตน้ำนมออกมาตามความต้องการของลูก แม้ว่าประจำเดือนจะมาแล้ว แต่การให้ลูกดูดหรือปั๊มนมบ่อยๆ จะช่วยให้น้ำนมยังมีอยู่ตลอด ลูกดูดหรือการปั๊มนมบ่อยแปลว่าลูกต้องการน้ำนมมาก ร่างกายก็ผลิตมาก หนำซ้ำการไม่ให้ลูกดูดนม คุณแม่จะเจ็บเพราะคัดเต้านม และทำให้เต้านมสร้างน้ำนมได้น้อยลงด้วย มีการศึกษาพบว่า การให้นมหรือปั๊มนมในช่วงเวลารุ่งสางประมาณตี 5 ถือเป็นชั่วโมงทอง ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดี เพราะเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนโปรแลคตินที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำนมหลั่งสูงสุดนั่นเอง 

หากน้ำนมลด น้ำนมไม่พอ ช่วยลูกอย่างไร


น้ำนมลดได้จาดความต้องการของลูกที่เริ่มน้อยลง / คุณแม่เริ่มเลิกให้นมลูกจากเต้าก็จะทำให้น้ำนมลดซึ่งไม่ได้เกิดจากการที่ประจำเดือนมาหลังคลอด

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่านมแม่มีน้อยไม่พอสำหรับลูก จนลูกหงุดหงิดงอแงเพราะหิว นอกจากการให้ลูกดูดหรือปั๊มนมบ่อยๆ และการป้อนอาหารเสริมสำหรับทารกที่อายุมากกว่า 6 เดือนแล้ว คุณแม่อาจเสริมนมผงให้ลูกได้ และควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ เช่น...นมที่มี

  • MFGM สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่

  • ดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

  • มีใยอาหารสุขภาพที่ช่วยในการขับถ่าย อย่างเช่น พีดีเอ็กซ์ (PDX) ใยอาหารสุขภาพที่ละลายในน้ำได้ เป็นพรีไบโอติกหรืออาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่

  • กอส (GOS) เป็นพรีไบโอติกเช่นเดียวกับพีดีเอ็กซ์ ช่วยกระตุ้นและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดี และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับเด็กด้วย

เมื่อ พีดีเอ็กซ์และกอสทำงานควบคู่กันภายในลำไส้ใหญ่ จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ สนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร จึงลดอาการท้องผูกในเด็กได้

ดังนั้น เมื่อคุณแม่พบว่าประจําเดือนมาหลังคลอด จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาน้ำนมลด เพราะปัญหานี้มีวิธีแก้ไข ขอเพียงคุณแม่ใจเย็นและมีวินัยการปั๊มนมและให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

นมแม่ดีที่สุดต่อสมองเด็ก


เพราะมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่