Review by: Asst. Prof. Dischee
Lumpikanon, MD, Pediatric Branch of Neonatal and Perinatal
Department of Pediatrics Faculty of Medicine Vajira Hospital
Many new mothers People are worried about choosing baby food from 6 months to 1 year, because they don't know where to start and what kind of baby food at that age should be. Choosing the right baby food according to age will help your child adjust to a semi-solid diet. And familiar with the flavors and characteristics of a wide variety of food The feeding of the child must take into account the nutritional benefits that are appropriate for the child or not. In order to help develop the body to have good health. Healthy growth Let's take a look at what food should be from newborn to first year.
Breast milk: the best food for babies aged 0-6 months
นมแม่ถือเป็นอาหารของเด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน คุณแม่ควรเริ่มต้นด้วยการให้ลูกกินน้ำนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้น้ำและอาหารอย่างอื่นเพิ่มเติม คุณแม่มือใหม่ที่กังวลว่าหากให้อาหารเด็กที่เป็นน้ำนมแม่อย่างเดียว ลูกจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือไม่ ขอบอกว่าในน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อร่างกายของเด็กอย่างแน่นอนค่ะ
ทำไมอาหารเด็ก 6 เดือนแรกจึงต้องเป็นนมแม่อย่างเดียว
เหตุที่อาหารเด็ก 6 เดือนยังควรเป็นนมแม่เพียงอย่างเดียว นั่นก็เพราะ...
-
สมองของลูกน้อยเติบโตเร็วมาก นมแม่เหมาะสมกับสมองที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารอันสำคัญและจำเป็นต่อสมองมากมาย โดยเฉพาะ MFGM และดีเอชเอ
-
ระบบการย่อยอาหารของลูกยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงย่อยอาหารอื่นได้ไม่ดี นมแม่ย่อยง่ายและเหมาะเป็นอาหารเด็ก 6 เดือนแรกที่สุด เพราะประกอบด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ย่อยง่ายตามธรรมชาติ จึงเหมาะกับระบบทางเดินอาหารอันเปราะบางของลูกอย่างที่สุด
-
ระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังทำงานได้ไม่ดี นมแม่มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จึงเป็นเสมือนวัคซีนป้องกันโรคชุดแรกให้ลูก
-
กระเพาะอาหารของลูกยังมีขนาดเล็กและยืดหยุ่นได้ไม่มาก ถ้ารับอาหารอื่น (ซึ่งมีคุณค่าสู้นมแม่ไม่ได้) ก็จะไปแย่งพื้นที่ของนมแม่ในกระเพาะของลูก
เพราะฉะนั้น อาหารเด็กช่วง 6 เดือนแรก ควรเป็นนมแม่อย่างเดียวจึงปลอดภัยที่สุด ทำให้ลูกได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างเต็มที่ ส่วนอาหารเสริมควรให้หลัง 6 เดือนไปแล้ว
อาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไป : วัยรับอาหารเสริม


เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ลูกต้องได้รับอาหารเสริมเพิ่มจากนม การได้รับอาหารเสริมตามวัยนั้นมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกมาก
ช่วงวัย 6-12 เดือน เป็นช่วงเวลาดีที่ลูกพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่เกี่ยวกับอาหาร เพราะลูกมีความพร้อมของร่างกายและสนใจเรียนรู้เรื่องกิน ลูกจะได้เรียนรู้การเคี้ยวอาหารอ่อนอาหารหยาบ เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญที่ต้องมาก่อนการใช้ช้อน คือ การใช้นิ้วมือหยิบจับสำรวจอาหาร ลูกจะสำรวจด้วยความอยากรู้ผิวสัมผัสและรสชาติ โดยใช้ประสาทสัมผัสหยิบจับเข้าปาก คายออกมาดู ละเลงบนโต๊ะหรือจาน คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกทำโดยไม่ควรกลัวว่าจะเลอะ เพราะลูกกำลังเล่นเพื่อเรียนรู้กับอาหาร และจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อการกินในวัยต่อๆ ไป หากเลยช่วงนี้ไปแล้วลูกไม่ได้รับการฝึกฝน ลูกจะหันไปสนใจเรื่องอื่น การกลับมาสอนลูกเรื่องกิน อาจเป็นเรื่องยาก
อาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไป
อาหารเสริมสำหรับเด็ก 6 เดือน - 1 ขวบ นั้นต้องเป็นอาหารที่ไม่ใส่เครื่องปรุงรสใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นซอสถั่วเหลือง น้ำปลา หรือน้ำตาล ควรเป็นอาหารที่มีรสธรรมชาติที่สุด เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนจนถึง 1 ขวบ ที่เราแนะนำมีดังนี้
-
อาหารเด็กวัย 6 เดือน
เมนูอาหารสำหรับเด็ก 6 เดือนแรกควรเป็นอาหารเสริมที่บดให้ละเอียด สามารถให้แทนนมแม่ได้วันละ 1 มื้อ เมนูแนะนำได้แก่
- ข้าวบดตำลึงปลาช่อน
- ข้าวบดฟักทองกับตับหมู
- ข้าวบดและแกงจืดเต้าหู้อ่อน
- ข้าวบดผสมตับไก่บด
- โจ๊กตับไก่บดใส่น้ำซุปผัก
-
อาหารเด็กวัย 7 เดือน
อาหารสำหรับเด็กในวัย 7 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรปรับเนื้อสัมผัสของอาหารให้หยาบขึ้นและข้นขึ้น โดยสามารถป้อนลูกแทนนมแม่ได้วันละ 2 มื้อ เพื่อให้ลูกเริ่มได้ฝึกการเคี้ยวมากขึ้น เมนูแนะนำสำหรับเด็กวัย 7 เดือน ได้แก่
- เนื้อสัตว์สับหยาบผสมผักต้มสุก
- ข้าวต้มผักใส่ไข่แดง
- ข้าวตุ๋นใส่ตำลึงและเต้าหู้
- โจ๊กข้าวโอ๊ตและผักใบเขียว
- ข้าวบดใส่น้ำซุปผักต้ม
-
อาหารเด็กวัย 8-9 เดือน
เมนูเด็กวัย 8-9 เดือน ควรปรับอาหารให้โปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ให้มีความหยาบมากขึ้น และควรเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถให้แทนนมแม่ได้วันละ 2 มื้อ
- ไข่ตุ๋นผัก
- โจ๊กเห็ดหอมใส่เต้าหู้
- แกงจืดแตงกวายัดไส้หมูสับ
- ไข่กวนผสมผักหลากชนิด
- หมูสับผัดผักและแครอท
-
อาหารเด็กวัย 10-12 เดือน
สำหรับอาหารเด็ก 1 ขวบหรือลูกน้อยในช่วงวัย 10 – 12 เดือนนี้ ควรให้อาหารควรหยาบมากขึ้น ควรเปลี่ยนจากอาหารบดและสับ มาเป็นอาหารอ่อนนิ่มชิ้นเล็กๆ ให้เปลี่ยนเป็นอาหารหลัก 3 มื้อแทนนมแม่ได้ โดยนมแม่เป็นอาหารเสริม เมนูแนะนำสำหรับเด็กช่วงวัยนี้ ได้แก่
- ซุปมักกะโรนีไก่
- ผัดวุ้นเส้นราดซอสแครอท
- โจ๊กหมูสับ
- ข้าวหมูอบมะเขือเทศ
- ก๋วยเตี๋ยวน้ำหมูสับ
เมื่อต้องเลือกนมผงแทนนมแม่


หากคุณแม่มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมแม่ที่เป็นอาหารหลักเด็ก 6 เดือนแรกได้ ต้องการเลือกนมผงให้ลูกแทนนมแม่สำหรับลูกทุกช่วงวัย ควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ เช่น มี MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ MFGM, ดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก
ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*
รวมทั้งนมผงที่ผสม พีดีเอ็กซ์ (PDX) ใยอาหารสุขภาพที่ละลายในน้ำได้ เป็นพรีไบโอติกหรืออาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ กอส (GOS) เส้นใยอาหารที่เป็นพรีไบโอติกเช่นเดียวกัน ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดี ลดอาการท้องผูกในเด็กได้ ด้วยการผสมเส้นใยสุขภาพสองชนิดนี้ จะช่วยป้องกันลูกจากปัญหาการขับถ่ายได้
ดังนั้นเด็กทุกช่วงวัยควรได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัย คุณพ่อคุณแม่อาจลองปรับใช้คำแนะนำและเมนูอาหารเด็ก 6 เดือนและเด็ก 1 ขวบมาปรับให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยดู เพราะอาหารเด็กแรกเกิดและเด็กวัยต่อๆ มา เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อลูกจะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012; 28: 749-752.