คุณแม่มือใหม่หลายๆคน คงจะกังวลเกี่ยวกับการเลือกโภชนาการให้ลูกน้อยวัย 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะไม่รู้ว่าเด็กในวัยนี้ที่ต้องเริ่มทานอาหารอย่างอื่นเสริมนอกจากนมแม่แล้วนั้นควรจะทานอะไร การเลือกโภชนาที่เหมาะสมให้ลูกน้อยในวัยนี้นั้นจะช่วยให้ลูกปรับตัวสามารถทานอาหารกึ่งแข็งได้ และสามารถทำความคุ้นเคยกับรสชาติและลักษณะต่างๆของอาหารที่คุณแม่ป้อนให้ได้ ซึ่งคุณแม่ควรคำนึงสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อตัวลูกน้อย เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ก้าวล้ำและสุขภาพร่างกายแข็งแรง วันนี้เอนฟามีโภชนาการอาหารสำคัญสำหรับคุณแม่มาแนะนำ 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

นมแม่ โภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือน 

นมแม่ถือเป็นอาหารของเด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน คุณแม่ควรเริ่มต้นด้วยการให้ลูกกินน้ำนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้น้ำและอาหารอย่างอื่นเพิ่มเติม คุณแม่มือใหม่ที่กังวลว่าหากให้อาหารเด็กที่เป็นน้ำนมแม่อย่างเดียว ลูกจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือไม่ ขอบอกว่าในน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อร่างกายของเด็กอย่างแน่นอนค่ะ

ทำไมอาหารเด็ก 6 เดือนแรกจึงต้องเป็นนมแม่อย่างเดียว

เหตุที่อาหารเด็ก 6 เดือนยังควรเป็นนมแม่เพียงอย่างเดียว นั่นก็เพราะ...

  • สมองของลูกน้อยเติบโตเร็วมาก นมแม่เหมาะสมกับสมองที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารอันสำคัญและจำเป็นต่อสมองมากมาย โดยเฉพาะ MFGM และดีเอชเอ

  • ระบบการย่อยอาหารของลูกยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงย่อยอาหารอื่นได้ไม่ดี นมแม่ย่อยง่ายและเหมาะเป็นอาหารเด็ก 6 เดือนแรกที่สุด เพราะประกอบด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ย่อยง่ายตามธรรมชาติ จึงเหมาะกับระบบทางเดินอาหารอันเปราะบางของลูกอย่างที่สุด

  • ระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังทำงานได้ไม่ดี นมแม่มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จึงเป็นเสมือนวัคซีนป้องกันโรคชุดแรกให้ลูก

  • กระเพาะอาหารของลูกยังมีขนาดเล็กและยืดหยุ่นได้ไม่มาก ถ้ารับอาหารอื่น (ซึ่งมีคุณค่าสู้นมแม่ไม่ได้) ก็จะไปแย่งพื้นที่ของนมแม่ในกระเพาะของลูก

เพราะฉะนั้น อาหารเด็กช่วง 6 เดือนแรก ควรเป็นนมแม่อย่างเดียวจึงปลอดภัยที่สุด ทำให้ลูกได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างเต็มที่ ส่วนอาหารเสริมควรให้หลัง 6 เดือนไปแล้ว

อาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไป : วัยรับอาหารเสริม

อาหารเด็ก 6 เดือน อาหารสำหรับเด็ก 1 ขวบขึ้นไปควรมีลักษณะหยาบมากขึ้น

เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ลูกต้องได้รับอาหารเสริมเพิ่มจากนม การได้รับอาหารเสริมตามวัยนั้นมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกมาก

ช่วงวัย 6-12 เดือน เป็นช่วงเวลาดีที่ลูกพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่เกี่ยวกับอาหาร เพราะลูกมีความพร้อมของร่างกายและสนใจเรียนรู้เรื่องกิน ลูกจะได้เรียนรู้การเคี้ยวอาหารอ่อนอาหารหยาบ เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญที่ต้องมาก่อนการใช้ช้อน คือ การใช้นิ้วมือหยิบจับสำรวจอาหาร ลูกจะสำรวจด้วยความอยากรู้ผิวสัมผัสและรสชาติ โดยใช้ประสาทสัมผัสหยิบจับเข้าปาก คายออกมาดู ละเลงบนโต๊ะหรือจาน คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกทำโดยไม่ควรกลัวว่าจะเลอะ เพราะลูกกำลังเล่นเพื่อเรียนรู้กับอาหาร และจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อการกินในวัยต่อๆ ไป หากเลยช่วงนี้ไปแล้วลูกไม่ได้รับการฝึกฝน ลูกจะหันไปสนใจเรื่องอื่น การกลับมาสอนลูกเรื่องกิน อาจเป็นเรื่องยาก

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

อาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไป

อาหารเสริมสำหรับเด็ก 6 เดือน - 1 ขวบ นั้นต้องเป็นอาหารที่ไม่ใส่เครื่องปรุงรสใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นซอสถั่วเหลือง น้ำปลา หรือน้ำตาล ควรเป็นอาหารที่มีรสธรรมชาติที่สุด เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนจนถึง 1 ขวบ ที่เราแนะนำมีดังนี้

  • อาหารเด็กวัย 6 เดือน

    เมนูอาหารสำหรับเด็ก 6 เดือนแรกควรเป็นอาหารเสริมที่บดให้ละเอียด สามารถให้แทนนมแม่ได้วันละ 1 มื้อ เมนูแนะนำได้แก่

    1. ข้าวบดตำลึงปลาช่อน
    2. ข้าวบดฟักทองกับตับหมู
    3. ข้าวบดและแกงจืดเต้าหู้อ่อน
    4. ข้าวบดผสมตับไก่บด
    5. โจ๊กตับไก่บดใส่น้ำซุปผัก

     

  • อาหารเด็กวัย 7 เดือน

    อาหารสำหรับเด็กในวัย 7 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรปรับเนื้อสัมผัสของอาหารให้หยาบขึ้นและข้นขึ้น โดยสามารถป้อนลูกแทนนมแม่ได้วันละ 2 มื้อ เพื่อให้ลูกเริ่มได้ฝึกการเคี้ยวมากขึ้น เมนูแนะนำสำหรับเด็กวัย 7 เดือน ได้แก่

    1. เนื้อสัตว์สับหยาบผสมผักต้มสุก
    2. ข้าวต้มผักใส่ไข่แดง
    3. ข้าวตุ๋นใส่ตำลึงและเต้าหู้
    4. โจ๊กข้าวโอ๊ตและผักใบเขียว
    5. ข้าวบดใส่น้ำซุปผักต้ม

     

  • อาหารเด็กวัย 8-9 เดือน

    เมนูเด็กวัย 8-9 เดือน ควรปรับอาหารให้โปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ให้มีความหยาบมากขึ้น และควรเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถให้แทนนมแม่ได้วันละ 2 มื้อ

    1. ไข่ตุ๋นผัก
    2. โจ๊กเห็ดหอมใส่เต้าหู้
    3. แกงจืดแตงกวายัดไส้หมูสับ
    4. ไข่กวนผสมผักหลากชนิด
    5. หมูสับผัดผักและแครอท

     

  • อาหารเด็กวัย 10-12 เดือน

    สำหรับอาหารเด็ก 1 ขวบหรือลูกน้อยในช่วงวัย 10 – 12 เดือนนี้ ควรให้อาหารควรหยาบมากขึ้น ควรเปลี่ยนจากอาหารบดและสับ มาเป็นอาหารอ่อนนิ่มชิ้นเล็กๆ ให้เปลี่ยนเป็นอาหารหลัก 3 มื้อแทนนมแม่ได้ โดยนมแม่เป็นอาหารเสริม เมนูแนะนำสำหรับเด็กช่วงวัยนี้ ได้แก่

    1. ซุปมักกะโรนีไก่
    2. ผัดวุ้นเส้นราดซอสแครอท
    3. โจ๊กหมูสับ
    4. ข้าวหมูอบมะเขือเทศ
    5. ก๋วยเตี๋ยวน้ำหมูสับ

     

เมื่อต้องเลือกนมผงแทนนมแม่

อาหารสำหรับเด็ก 1 ขวบควรมีสารอาหารเสริมเพิ่มเติมจากนมแม่

หากคุณแม่มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมแม่ที่เป็นอาหารหลักเด็ก 6 เดือนแรกได้ ต้องการเลือกนมผงให้ลูกแทนนมแม่สำหรับลูกทุกช่วงวัย ควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ เช่น มี MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ MFGM, ดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*

รวมทั้งนมผงที่ผสม พีดีเอ็กซ์ (PDX) ใยอาหารสุขภาพที่ละลายในน้ำได้ เป็นพรีไบโอติกหรืออาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ กอส (GOS) เส้นใยอาหารที่เป็นพรีไบโอติกเช่นเดียวกัน ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดี ลดอาการท้องผูกในเด็กได้ ด้วยการผสมเส้นใยสุขภาพสองชนิดนี้ จะช่วยป้องกันลูกจากปัญหาการขับถ่ายได้

ดังนั้นเด็กทุกช่วงวัยควรได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัย คุณพ่อคุณแม่อาจลองปรับใช้คำแนะนำและเมนูอาหารเด็ก 6 เดือนและเด็ก 1 ขวบมาปรับให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยดู เพราะอาหารเด็กแรกเกิดและเด็กวัยต่อๆ มา เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อลูกจะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

* Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012; 28: 749-752.
นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่