เมื่อพบพี่เลี้ยงวันแรกมีหลายสิ่งที่คุณแม่ต้องการถามและต้องการบอก วันนี้เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยแรกเกิด เรามีประเด็นสำคัญที่ครอบคลุมการดูแลลูกน้อยมาฝากค่ะ ว่าคุณแม่ควรต้องทำการตกลงและชี้แจงเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้กับพี่เลี้ยงตั้งแต่วันแรก เพื่อความสบายใจของคุณแม่และพี่เลี้ยง รวมทั้งความปลอดภัยของลูกน้อยด้วยนะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เรียนรู้กฎของบ้าน และสิ่งที่คุณแม่คาดหวังจากพี่เลี้ยง

  1. หน้าที่รับผิดชอบหลัก และกิจวัตรประจำวันภายในบ้าน

  2. สิ่งที่คุณแม่ให้ความสำคัญ เช่น ความซื่อสัตย์ หรือความอ่อนโยน เป็นต้น

  3. ลำดับความสำคัญ เพื่อให้พี่เลี้ยงเข้าใจ เช่น สุขอนามัย และความปลอดภัย

  4. กฎตารางเวลาในเปิดโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนของลูกน้อย

  5. สร้างข้อตกลงในการใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะทำงานของพี่เลี้ยง

    • การถ่ายรูปลูกของคุณ

    • การโพสต์รูปลูกน้อยของคุณทางโซเชียลมีเดีย

    • การโทรศัพท์ ส่งข้อความ หรือใช้งานโซเชียลมีเดียระหว่างชั่วโมงทำงาน

  6. บริเวณต้องห้าม เช่น ห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ หรือสิ่งของต้องห้ามของบ้าน

  7. ตารางเวลาทำงานและเวลาพักของพี่เลี้ยง

  8. รายการและตารางเวลามื้ออาหารสำหรับพี่เลี้ยง

  9. การพาบุคคลภายนอกเข้ามาในบ้าน

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

  1. รายละเอียดเพื่อการติดต่อคุณ เบอร์โทรศัพท์ ไลน์ และรายชื่อเบอร์โทรศัพท์สำรองในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อได้

  2. ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ติดต่อสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อาทิ

    • สถานีดับเพลิง

    • สถานีตำรวจ

    • กุมารแพทย์ประจำตัวลูก

    • โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

    • เพื่อนบ้านหรือญาติที่อาศัยใกล้เคียง

  3. ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านหากเกิดกรณีฉุกเฉิน

    • สวิตซ์ไฟ

    • อุปกรณ์ดับเพลิง

    • ช่องทางและตำแหน่งทางออกทั้งหมดของบ้าน

    • กล่องปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    • แผงวงจรไฟฟ้า คัตเอาท์

    • วาล์วปิด/เปิดน้ำ

    • กล่องชุดอุปกรณ์เพื่อกรณีฉุกเฉิน ประกอบด้วย ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ น้ำดื่มบรรจุขวด ผลไม้อบแห้งหรืออาหารแห้งอื่นๆ

    *อาจพิจารณาให้พี่เลี้ยงได้เข้ารับการอบรมแนวทางปฏิบัติ ในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กๆ ด้วยนะ อาทิ สภากาชาดไทย trainingredcross.in.th

เรียนรู้ตารางกิจวัตรประจำวันของลูก

  1. กิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน (หากเป็นไปได้ ควรระบุชัดถึง ชื่อหนังสือ เกม หรือของเล่นที่ต้องการให้เด็กเล่นในวันหรืออาทิตย์นั้นๆ ) จัดตารางเพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมต่างๆ ถูกวางแผนและออกแบบ เพื่อพัฒนาทั้งทางด้านสมองและอารมณ์ รวมทั้งความคิดอย่างรอบด้านอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงระหว่างที่คุณไม่ได้อยู่ด้วย

  2. ข้อกำหนดและขั้นตอนในการอาบน้ำ

  3. เวลารับประทานอาหารและอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร

  4. เวลานอนพักผ่อน และพื้นที่ในการนอน

  5. การออกนอกบริเวณบ้าน (หากอนุญาตให้สามารถออกนอกบริเวณบ้านได้ในช่วงที่คุณไม่อยู่)

สอนวิธีชงนมและประกอบอาหารให้ลูกน้อย

  1. เขียนตารางอาหารหรือวิธีการจัดเตรียมนมเด็ก (รายละเอียดฉลาก ตำแหน่งจัดเก็บ และวิธีการกำจัดนมเหลือทิ้ง)

  2. การเตรียมอาหารหรือการอุ่นนมเด็ก (ล้างทำความสะอาดมือและทำให้แห้งก่อนทุกครั้ง ที่จะเตรียมอาหารหรือนมให้เด็ก)

  3. อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กเล็ก

  4. ข้อมูลการแพ้อาหาร

  5. วิตามินเพิ่มเติมหรือเพื่อการรักษา (หากมี)

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • แนะนำพี่เลี้ยงว่าสิ่งใดมักเป็นสาเหตุของการงอแง หรือวิธีการรับมือให้ถูกใจเจ้าตัวเล็ก

  • ขอบเขตในการอบรมสั่งสอน เช่น การใช้เสียงดุ การตี เป็นเรื่องต้องห้าม

  • วิธีการปลอบเมื่อลูกมองหาคุณหรือได้รับบาดเจ็บ

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

 

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่