ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เคล็ดลับโภชนาการการตั้งครรภ์: สัปดาห์ที่ 31

เคล็ดลับโภชนาการการตั้งครรภ์: สัปดาห์ที่ 31

กินอย่างไรป้องกันกรดไหลย้อนยามตั้งครรภ์

     ช่วงนี้ระบบการย่อยอาหารของคุณแม่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ อาการนี้คืออาการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ  ทั้งจากความเครียด การกินอาหารไม่เป็นเวลา กินอาหารหนักแล้วนอนเลย หรือแม้แต่ท่านอนที่ไม่เหมาะสม เช่น ศีรษะเสมอหรือต่ำกว่าลำตัว ก็เป็นสาเหตุให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอได้  

      อาการนี้หากเป็นแล้วจะค่อนข้างทรมาน เพราะจะมีอาการแสบร้อนยอดอก ขย้อนหรือสำรอก รู้สึกเปรี้ยว (กรด) หรือขม (ด่าง) ในปาก หรือบริเวณช่องคอด้านหลัง เรอ จุก เสียด แน่นในคอ หรือหน้าอกได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์แก่ที่มดลูกโตมากขึ้นจนไปเบียดกระเพาะอาหาร ทำให้น้ำย่อยล้นขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ง่ายกว่าเดิม

วิธีป้องกันกรดไหลย้อนยามตั้งครรภ์ทำได้โดย...

  • เลี่ยงอาหารที่ทำให้ กล้ามเนื้อหูรูดไม่กระชับ เช่น ช็อกโกแลต ของทอด และอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ผสมครีม อาหารขยะ เป็นต้น

  • เลี่ยงอาหารที่เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น  กระเทียม หัวหอม พริก และอาหารเผ็ดร้อน หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว แป้ง ข้าวโพด ลูกพรุน ส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม และน้ำตาล เป็นต้น 

  • ไม่ทานอาหารมากและอิ่มเกิน  ควรกินน้อยๆ แต่หลายมื้อแทน เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และไม่ดื่มน้ำพร้อมอาหาร 

  • ห้ามออกกำลังกายหรือนอนทันทีหลังกินอิ่ม แต่ควรทิ้งช่วงประมาณ 2-3 ชั่วโมง  

  • ควรสวมเสื้อผ้าที่สบายๆ ไม่รัดแน่นเกินไป 

  • ระหว่างนอน ควรหนุนหมอนให้ศีรษะสูงประมาณ 6-8 นิ้ว 

      ถ้ามีอาการแสบร้อน ให้ดื่มน้ำหรือดื่มนม  เพื่อชะล้างความเป็นกรดลงไปเวลานั่งให้นั่งยืดตัวตรง  การนั่งคู้ค่อมตัวจะทำให้ยอดมดลูกกดเบียดใต้กระเพาะอาหาร ทำให้น้ำย่อยไหลย้อนออกไปในหลอดอาหารได้ง่าย

ที่สำคัญคือ ต้องจัดการกับความเครียด ผ่อนคลายให้มากขึ้น เพราะความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีกรดมากขึ้น และไม่ส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ด้วยค่ะ 

 

 

 

บทความที่แนะนำ

ทุกสิ่งที่มาจากแม่ล้วนดีที่สุด
โภชนาการแม่ตั้งครรภ์
ทำไมต้อง
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner