หากลูกวัย 3 ขวบส่งเสียงกรี๊ดเวลาที่อยากได้สิ่งของ หรือถูกขัดใจแม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการตามวัย แต่หากปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมนี้อยู่เนิ่นนาน จะกลายเป็นเด็กไม่น่ารักในสายตาคนอื่นและติดนิสัยนี้ไปจนโต

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

“ส่งเสียงกรี๊ด” เมื่อไม่ได้ตามความต้องการ เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกทางอารมณ์ที่ชัดเจนขึ้น คือรู้สึกอย่างไรก็จะแสดงออกมา หากเด็กๆ ได้รับการฝึกก็จะสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ เป็นเด็ก EQ ดี (Emotional Quotient) เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะสามารถควบคุมอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

“จะทำอย่างไร เมื่อลูกอารมณ์เสีย”

การช่วยเด็กให้สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ในทางบวก เป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้คุณพ่อและคุณแม่ควรต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดี ลองสังเกตว่าอาการกรี๊ด เอาแต่ใจของลูก อาจเกิดเพราะมีคนในบ้าน หรือเด็กได้ดูแต่ละครที่มีพฤติกรรมนี้อยู่บ่อยๆ เด็กวัยนี้เป็นวัยแห่งการเลียนแบบ และในขณะเดียวกันเมื่อทำแล้วพ่อแม่หรือคนในครอบครัวให้ความสนใจ เขาก็จะยิ่งทำ

  • เฉยถ้าลูกเริ่มเอาแต่ใจ เวลาที่เด็กส่งเสียงกรี๊ด ให้คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นไม่สนใจ เด็กจะเรียนรู้ได้เองว่าวิธีแบบนี้ใช้ไม่ได้ผล จะเลิกเลิกพฤติกรรมนี้ได้ในเวลาต่อมา

  • กอด สยบอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว หากลูกมีพฤติกรรมรุนแรงขึ้น เริ่มทำร้ายหรือทุบตี เมื่อไม่ได้ดั่งใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องจับหรือกอดลูกไว้นะคะ จะช่วยให้อารมณ์ของลูกคลายลง อย่าโต้ตอบด้วยอารมณ์โมโห ส่งเสียงดัง จะยิ่งทำให้ลูกเห็นว่าการแสดงพฤติกรรมแบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณพ่อคุณแม่เผลอดุหรือตีลูก หลังจากทั้งคู่อารมณ์สงบลงต้องเข้าไปพูดคุยกับลูกว่า แม่ขอโทษที่ตีลูก

  • เห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) เมื่อลูกทำความดีหรือประสบความสำเร็จ การชมจะช่วยทำให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเอง แต่หากลูกทำไม่ได้ก็ต้องให้กำลังใจ “ลองทำอีกครั้งนะ แม่เชื่อว่าลูกทำได้”เมื่อลูกทำความดี หรือทำตัวดี การชื่นชมจะทำให้เขาอยากทำบ่อยๆ

  • สำรวจอาการผิดปกติทางร่างกาย เด็กบางคนแสดงอาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย เพราะร่างกายเจ็บป่วย ง่วงนอน หรือหิว ตอบสนองลูกตรงจุด อาการนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น

การดูแลเด็กๆ ด้วยความรัก เอาใจใส่ สอนลูกด้วยเหตุและผล ไม่ตามใจหากสิ่งนั้นจะส่งผลเสีย และต้องรู้ถึงสาเหตุของอาการหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ และปรับพฤติกรรมของลูกได้อย่างเหมาะสม