จะเริ่มขึ้นเมื่อไร?

การดูแลทารกแรกเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรเลย แค่ กิน เล่น นอน วนซ้ำไปอย่างนี้ แต่เมื่อทารกน้อยเติบโตขึ้นแล้ว ความต้องการและการตอบสนองต่อสังคม เริ่มที่จะต่างไปจากเดิม เค้าจะพึ่งพาตนเองมากขึ้น เรียนรู้วิธีการพูด การเดิน และทำอะไรหลายๆ อย่างด้วยตนเอง

การพึ่งพาตนเองนั้นจริงๆ แล้วถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญ ของพัฒนาการ แต่บางทีก็อาจจะกลายเป็นต้นตอของปัญหา ในการเลี้ยงดูลูก หลายคนเรียกว่าภาวะแบบนี้ว่า “วายร้ายวัย 2 ขวบ” หรือบางทีก็ “วายร้ายวัย 3 ขวบ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กพยายาม จะท้าทายขอบเขตของตัวเอง

พ่อแม่ควรจะทำอย่างไรเมื่อลูกทำตัวไม่น่ารัก อย่างเช่น ขว้างปาสิ่งของ แย่งจากคนอื่น หรือมีอารมณ์โมโห? เราต้องสอนให้ เค้ารู้จักควบคุมอารมณ์และการแสดงออก เพื่อให้เค้ามีพัฒนาการ อย่างเหมาะสม

(สามารถอ่านเพิ่มเติมที่: Why EQ is as important as ABC) [Why EQ is as important as ABC]

1. ยิ่งฝึกยิ่งเก่ง

คุณแม่สามารถช่วยเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ที่บ้าน ด้วยการสมมติเป็นบทบาทต่างๆ แล้วสอนการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เล่นเป็นเจ้าของร้านและสมมติเหตุการณ์ที่ทำให้เค้าไม่ได้ของที่ต้องการ ให้เค้าได้เคยชินกับเงื่อนไขที่เค้าต้องรู้อย่าง “ของหมด” หรือ “เงินไม่พอซื้อ” ซึ่งจะช่วยให้เค้าเข้าใจเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์แบบนี้ในชีวิตจริง

บางทีคุณแม่ก็สามารถสอนเค้าให้พร้อม ในการรับมือกับ สถานการณ์ที่ยากลำบากในตอนเข้าสังคม เช่น เมื่อมีคนมาแย่ง ของเล่น หรือมาทำให้เจ็บตัว การได้ลองซ้อมวิธีการโต้ตอบ ในสถานการณ์จำลองที่มีเพียงคุณแม่กับลูก แบบนี้จะทำให้ทุกอย่าง ง่ายขึ้น ให้อธิบายให้เค้าฟังว่ามันไม่ดีอย่างไร แล้วสอนเค้าให้รู้จักขอดีๆ “พอใช้เสร็จแล้ว ขอหนูยืมต่อได้ไหม?”

เด็กๆ มักจะชอบเลียนแบบในสิ่งที่เค้าเห็น เมื่อมีบางอย่างที่ คุณแม่เห็นว่าไม่ถูกไม่ควร คุณแม่ต้องทำเป็นแบบอย่างให้ดู ว่าควร จะต้องทำอย่างไร และบอกเค้าด้วยถ้อยคำที่นุ่มนวลแทนที่ จะตวาด บางทีเด็กอาจจะเข้าใจผิดเมื่อได้เห็นคนใกล้ชิดตะคอกใส่ ตำรวจจราจร หรือทำตัวหยาบคายใส่พนักงานเสิร์ฟ นอกจากนี้ เมื่อคุณแม่เกิด ทำอะไรผิดพลาดขึ้นมา ให้ขอโทษโดยไม่รอช้า ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ ว่าควรจะกล่าวคำขอโทษอย่างไร

2. ตั้งเป้าหมายให้ลูก

ช่วงเวลาที่กำลังเหนื่อย หรือหิวมักจะเป็นช่วงเวลาที่ควบคุมอารมณ์ได้ยากมาก ดังนั้น คุณแม่ต้องให้ลูกได้กินอิ่มนอนหลับ อย่างเพียงพอ ถ้าเค้างอแงในระหว่างกินข้าว หรือก่อนงีบหลับ คุณแม่อาจจะลองพยายามอธิบายว่าคนเราก็คล้ายกับรถ รถจะวิ่งได้ก็ต้องใช้น้ำมัน ส่วนคนเราก็ต้องการพลังงานจากการกินและการนอนเหมือนกัน

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกฝึกความพยายามและเข้าใจความสำเร็จ คือการตั้งเป้าหมายแต่ละวันอย่างง่ายๆ บอกให้ลูกรู้ว่าใน แต่ละวันคุณแม่อยากให้เค้าทำอะไรบ้าง และแต่ละกิจกรรมเค้าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน เป็นธรรมดาที่เมื่อมีคนตั้งความหวัง ก็ไม่อยากจะทำให้ผิดหวัง คอยดูเจ้าตัวเล็กพยายามเข้าหาเส้นชัยที่คุณแม่ตั้งไว้ได้เลย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

3. ใจเย็นลงก่อนค่อยเริ่มสอนลูก

ถ้าเกิดว่าลูกน้อยร้องไห้โวยวายข้างนอกบ้าน แทนที่ คุณแม่จะตื่นตกใจและตวาดให้เค้าหยุดร้อง ลองเปลี่ยนไปมองว่า จังหวะนี้เป็นโอกาสดีที่จะสอนเค้าได้

ในหนังสือ “Children of Character” เขียนโดย ดร.สตีเฟ่น คาร์ รูเบน (Dr. Steven Carr Reuben) บอกไว้ว่า ความสามารถ ในการเปลี่ยนช่วงเวลาที่ยากลำบากที่พบเจอในแต่ละวัน ให้กลายเป็น ช่วงเวลาที่ได้สั่งสอนลูก ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญที่พ่อแม่ควรจะต้องมี ถ้าหากมองได้แบบนี้แล้ว จะไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วจัดการกับสถานการณ์นั้นอย่างใจเย็น

ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางฝูงชน คุณแม่อย่าเพิ่งสอน เค้าตั้งแต่ตรงนั้นทันที ให้พาลูกหลบเข้ามาในที่ปลอดคนก่อน แม้บางที อาจจะไม่ใช่จังหวะเวลาที่ได้ผลที่สุด แต่ก็จะช่วยลดแรงกดดันจากผู้คน ที่จ้องมองดูเรา และช่วยให้ทั้งคู่พูดคุยหาทางออกกันได้อย่างใจเย็นขึ้น

4. ฟังอย่างตั้งใจ

การได้คุยกันสองคน จะทำให้คุณแม่รับฟังสิ่งที่ลูกอยากจะบอกได้อย่างตั้งอกตั้งใจ “How to Talk so Kids will Listen & Listen so Kids will Talk” หนังสือขายดีที่เขียนขึ้นโดยอะเดล เฟเบอร์ (Adele Faber) และเอเลน มาซ์ลิช (Elaine Mazlish) เผยเคล็ดลับว่าพ่อแม่มีโอกาสช่วยลูกๆ ให้หายจากอารมณ์ขุ่นมัว ในยามที่ลูกบอกว่าไม่อยากไปโรงเรียน โดยปกติเราก็มักจะตอบ กลับไปว่า “ลูกต้องไปนะ มันจำเป็น”

แต่ในหนังสือนี้ได้แนะนำให้ลองใช้วิธีที่แตกต่างออกไป ให้ลองฟังเค้าจากหัวใจมากกว่าที่จะสั่งให้เค้าทำตาม การรับรู้ความรู้สึก และรู้ชื่อของมัน (ความผิดหวัง ไม่พอใจ โมโห เจ็บ กลัว เป็นต้น) ไม่ได้แปลว่าคุณแม่จะเห็นด้วยเออออไปกับความรู้สึกของลูกน้อยไปเสียทั้งหมด แต่มันกลับจะช่วยให้เค้ายอมเปิดใจและทำให้สถานการณ์ มันดีขึ้น

พ่อแม่ตัวอย่างตามที่หนังสือเล่มนี้เขียนไว้จะต้องแสดงความเข้าอกเข้าใจลูก ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านให้กลับมา ดีขึ้นในแทบจะทันทีทันใด เด็กจะรู้สึกว่ามีคนรับฟังและยอมให้ ความร่วมมือด้วยดี และมักจะหาทางคลี่คลายได้ด้วยตัวเค้าเอง ไม่เพียงเท่านั้น มันยังช่วยฝึกเด็กๆ ให้เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ได้อีกด้วย

จำไว้เสมอว่ามันไม่มีคำตอบใดถูกผิดในการเลี้ยงดูลูก และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ทั้งหมด บางครั้งอาจจะเป็นการดีที่จะปล่อยให้ลูกได้เป็นตัวของตัวเองและให้ในสิ่งที่เค้าต้องการ แต่ก็ต้องมีบ้างที่คุณแม่จะต้องขึงขัง เวลาที่คุณแม่ต้องเจอบททดสอบที่ยากลำบากในการเลี้ยงดูลูกขณะอยู่ท่ามกลางฝูงชน ให้จำไว้เลยว่าสิ่งที่คนนอกมองไม่สำคัญเท่ากับ ความสัมพันธ์ของแม่ลูก และโอกาสที่จะได้เตรียมเค้าให้พร้อมรับอนาคตที่กำลังจะเข้ามา

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

ข้อมูลอ้างอิง:

1 Reuben, S. (1997). School of Education at Johns Hopkins University-Making the Most of Teachable Moments. Retrieved February 14, 2017, from http://education.jhu.edu/PD/newhorizons/lifelonglearning/early-childhood...

2 Faber, A., Mazlish, E., & Coe, K. A. (2012). How to talk so kids will listen & listen so kids will talk. New York: Scribner.