ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
7 เส้นทางเชื่อมสัมพันธ์ม่ามี้กับเบบี๋ในท้อง

7 เส้นทางเชื่อมสัมพันธ์ ม่ามี้กับเบบี๋ในท้อง

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกน้อยตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์นั้น ถือเป็นข้อดี เพราะผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยืนยันเป็น เสียงเดียวกันว่า การรับรู้ต่างๆ ของลูกเริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์ ก่อนที่จะลืมตาดูโลกเสียอีก และยังมีการค้นพบจาก นักจิตวิทยาด้วยว่า อารมณ์ของคุณแม่ มีผลต่อลูกน้อยโดยตรง ยิ่งคุณแม่อารมณ์ดีมีความสุขระหว่างตั้งครรภ์มากเท่าไร ลูกน้อยของคุณแม่ก็จะมีความสุข สุขภาพแข็งแรงมากเท่านั้น หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ คุณแม่สามารถสร้างพัฒนาการ ของลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ และยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี!

1. ร้องเพลงกับเจ้าตัวเล็กในครรภ์

เมื่อคุณแม่เข้าสู่ช่วงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 25 ลูกน้อยจะสามารถได้ยินเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Queen’s ชี้แจงว่า ทารกจะสามารถจดจำเสียงของคุณแม่ของตัวเองได้ ตั้งแต่ก่อนคลอดเสียอีก โดยการวิจัยพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์จะเพิ่มขึ้นเมื่อได้ยินเสียงของแม่ และหัวใจจะเต้นช้าลงเมื่อมีเสียงของคนแปลกหน้าเข้ามา ดังนั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ตั้งแต่ในท้อง คุณแม่สามารถเริ่มเล่าให้ลูกน้อยฟังถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างวัน อ่านนิทานออกเสียงดังๆ หรือร้องเพลงไปกับลูกน้อยก็ดีเหมือนกันนะคะ

7 เส้นทางเชื่อมสัมพันธ์ ม่ามี้กับเบบี๋ในท้อง

2. ทานอาหารดีๆ แฮปปี้สุดๆ

คุณแม่รู้หรือไม่ว่า...อาหารที่ทานเข้าไป มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง รสชาติของสารละลายกรดอะมิโนที่อยู่รอบๆ ตัวลูกภายในครรภ์ ลูกน้อยจะดื่มสารละลายเหล่านี้ลงไปในปริมาณมากในแต่ละวันด้วย มีงานวิจัยเผยว่าเมื่ออายุครรภ์ 21 สัปดาห์ เจ้าตัวเล็กจะสามารถรับรู้ รสชาติได้ ดังนั้นการทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการพัฒนาเติบโตของลูก

นอกจากนี้เด็กๆ มีแนวโน้มที่จะชอบหรือเลือกทานอาหาร ที่มีรสชาติคุ้นเคยมากกว่าปกติทั่วไป ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการให้ เจ้าตัวเล็กชอบทานผักแล้วล่ะก็ คุณแม่ก็ต้องเริ่มทานผักมากๆ ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ด้วยนะ

3. สัมผัสแห่งรักจากแม่

แน่นอนว่าคุณแม่ไม่สามารถอุ้มเจ้าตัวเล็กได้จนกว่าจะคลอด แต่คุณแม่ก็สามารถเริ่มสื่อสารกับลูกน้อยได้ผ่านการสัมผัส บริเวณท้อง จากงานวิจัยพบว่า ลูกน้อยในครรภ์มีปฏิกิริยาตอบสนองกับสัมผัสของแม่ โดยลูกจะเคลื่อนไหวเมื่อคุณแม่สัมผัส บริเวณท้อง ดังนั้นเมื่อลูกน้อยออกท่าทางหรือเคลื่อนไหว คุณแม่อย่าลืมสื่อสารตอบด้วยการลูบเบาๆตอบกลับด้วยนะคะ

4. เก็บสะสมภาพสแกนของเจ้าตัวเล็ก

ภาพสแกนที่ได้กลับมาบ้านในทุกๆ ครั้งหลังพบแพทย์ เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่าลูกน้อยของคุณแม่กำลังเติบโตขึ้นในทุกๆ วัน คุณแม่สามารถนำเอาภาพเหล่านี้มาติดไว้ที่ตู้เย็น พกติดตัว หรือใส่กรอบวางไว้บนโต๊ะทำงานเป็นที่ระลึกถึงการพัฒนาของเจ้าตัวเล็ก ที่กำลังจะลืมตามาดูโลก และเมื่อคุณแม่เข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 26-30 คุณแม่จะสามารถเห็นภาพของลูกน้อย ในรูปแบบของภาพ 3 หรือ 4 มิติได้อีกด้วย ด้วยวิธีนี้ คุณแม่จะได้เห็นหน้าเจ้าตัวเล็กอย่างชัดเจนแน่นอน

5. เข้าคลาสเตรียมพร้อมก่อนคลอด เช่น โยคะสำหรับว่าที่คุณแม่

คอร์สโยคะที่เหมาะสมนั้นมีประโยชน์ต่อคุณแม่ เพราะช่วยให้ คุณแม่เข้าใจรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น และยังช่วยให้รู้สึก ผ่อนคลายหลังออกกำลังกายอีกด้วย งานวิจัยบางชิ้นถึงกับยืนยัน ว่าการออกกำลังด้วยโยคะจะช่วยให้การคลอดง่ายขึ้น ลดความเครียด และส่งผลให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง แต่แน่นอนว่าก่อนคุณแม่ จะเลือกเข้าคลาส อย่าลืมปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง

7 เส้นทางเชื่อมสัมพันธ์ ม่ามี้กับเบบี๋ในท้อง

6. ให้ว่าที่คุณพ่อได้มีส่วนร่วม

เนื่องจากคุณพ่อไม่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเหมือนคุณแม่ ดังนั้นอาจจะยากกว่าสักเล็กน้อยที่คุณพ่อจะรู้สึก ผูกผันกับเจ้าตัวเล็กก่อนคลอด ดังนั้นคุณแม่ควรให้คุณพ่อเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น คลาสเตรียมคลอด อ่านหนังสือให้ลูกในท้องฟัง หรือสัมผัสท้องของคุณแม่เมื่อลูกน้อยดิ้น ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความผูกผันภายในครอบครัวให้มากขึ้น แล้วเมื่อเจ้าตัวน้อยเกิดมาคุณแม่และคุณพ่อจะมีความรู้สึกเดียวกัน ที่จะสนับสนุนกันและกันเพื่อเลี้ยงดูเจ้าตัวเล็ก

7. จดบันทึกการตั้งครรภ์

ไม่ว่าการตั้งครรภ์ของคุณแม่จะเต็มไปด้วยความตื่นเต้น หรือราบลื่นไม่มีปัญหาอะไรเลยแม้แต่น้อย การจดบันทึกจะช่วยให้คุณแม่มุ่ง ความสนใจไปยังเรื่องต่างๆ ของการตั้งครรภ์ได้ ข้อความที่เขียนบันทึกลงไปนั้นควรเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะจะช่วยให้คุณแม่ ได้มีโอกาสทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอีกครั้ง ไม่แน่นะในอนาคตเมื่อลูกน้อยของคุณแม่โตขึ้น คุณแม่อาจจะให้พวกเขาได้ลองอ่านเรื่องราวที่คุณแม่บันทึกไว้ตอนตั้งท้องเค้าก็ได้นะ

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

*คำแนะนำบางส่วนนำมาจาก BabyCentre, Mother&Baby, Bounty และ BellyBelly

  • 1 Eshleman, A. (2009 February 23). Probing Question: Can babies learn in utero? Retrieved April 6, 2017, from http://news.psu.edu/story/141254/2009/02/23/research/probing-question-c…

  • 2 Change in Mother’s Mental State Can Influence Her Baby’s Development Before and After Birth. Retrieved 7 June 2017 from, https://www.psychologicalscience.org/news/releases/a-fetus-can-sense-mo…

  • 3 Fetal development: The 2nd trimester. (2015, January 15). Retrieved April 10, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-d…;

  • 4 Kisilevsky, B. S., Hains, S. M., Lee, K., Xie, X., Huang, H., Ye, H. H., Wang, Z. (2003). Effects of Experience on Fetal Voice Recognition. Psychological S cience,14(3), 220-224. doi:10.1111/1467-9280.02435

  • 5 Mennella, J. A., Jagnow, C. P., & Beauchamp, G. K. (2001). Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics, 107(6).

  • 6 Marx, V., & Nagy, E. (2015). Fetal Behavioural Responses to Maternal Voice and Touch. Plos One, 10 (6).

  • 7 Chuntharapat, S., Petpichetchian, W., & Hatthakit, U. (2008). Yoga during pregnancy: Effects on maternal comfort, labor pain and birth outcomes.  Complementary Therapies in Clinical Practice, 14(2), 105-115.

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

7 เส้นทางเชื่อมสัมพันธ์ม่ามี้กับเบบี๋ในท้อง
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner