คุณธรรมในที่นี้หมายถึง ความดีงามที่เกิดจากการรู้ “ผิด ชอบ ชั่ว ดี” ซึ่งไม่สามารถเกิดได้ในชั่วข้ามคืน แต่ต้องค่อยๆ ซึมซับจากวันเป็นปี จากปีเป็นหลายๆ ปี ในการสร้างทักษะด้านคุณธรรมนั้น เด็กจะต้องรับรู้ได้ด้วยสมองและจิตใจในการทำสิ่งต่างๆ เช่น ถ้าสิ่งไม่ดีก็ไม่ควรทำ เพราะสมองและจิตใจเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่จะทำ เป็นต้น ที่สำคัญ ลูกควรได้ฝึกทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นในแบบทีมเวิร์คได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีทักษะที่โดดเด่นหลากหลายต่างกันไป การทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือกัน หรือการทำงานแบบทีมเวิร์ค จึงเป็นทักษะสำคัญที่ลูกต้องมี

คุณธรรม ทักษะที่เด็กทุกคนต้องมี

คุณสมบัติข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เด็กต้องมีไม่ว่ายุคไหน เพราะการมีคุณธรรมหรือการรู้ผิด (ไม่ทำ) ชอบ (ทำ)  ชั่ว (ไม่ทำ)  ดี  (ทำ) จะช่วยส่งเสริมให้เขาประสบความสำเร็จ ที่สำคัญมีความสุข 

 

คุณธรรม ทักษะที่เด็กทุกคนต้องมี

คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนสำคัญในการเลี้ยงลูกให้รู้ผิด ชอบ ชั่ว ดี  โดยเป็นต้นแบบในเรื่องนี้ และกำหนดว่าคุณค่าของคนคืออะไร เช่น  ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจผู้อื่น  หรือแม้แต่การพาลูกไปทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นกรอบที่สร้างเสริมให้ลูกเข้าใจและปฏิบัติตาม เมื่อคุณพ่อคุณแม่เป็นคนซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา จริงใจ เป็นห่วงเป็นใยผู้อื่น จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ลูกน้อยจะได้เรียนรู้และทำตาม และเมื่อลูกทำได้ การชมเชยจะเป็นแรงเสริมที่จะทำให้เขาอยากทำดีอีก

คุณธรรม ทักษะที่เด็กทุกคนต้องมี

 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

กิจกรรมสำหรับ ลูกน้อยวัย 1-3 ขวบ

รายละเอียด

แบบอย่างจากพ่อแม่

พ่อแม่ต้องประพฤติปฏิบัติด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรมให้กับลูก ผ่านกิจวัตรประจำวันและการดำรงชีวิต เช่น ไม่พูดปดเพื่อปฏิเสธเมื่อเพื่อนบ้านมาขอความช่วยเหลือ ไม่ขับรถฝ่าไฟแดงโดยอ้างเหตุผลต่างๆนานา ตรงต่อเวลาเมื่อนัดกับลูกและคนอื่นทั้งในบ้านและนอกบ้าน รักษาคำพูดที่ให้ไว้กับคนอื่น ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง เป็นต้น 

ฝึกลูกช่วยเหลือตัวเอง

เด็กที่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องต่างๆ ได้ โดยไม่รบกวนคนอื่นถือเป็นสร้างคุณค่า คุณธรรมให้ตัวเอง คุณแม่จึงควรฝึกลูกให้ช่วยตัวเองให้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย นั่นคือ...     

  • หัดแปรงฟันเอง   โดยคุณแม่คอยช่วยเหลือก่อนในระยะแรก จากนั้นค่อยๆ ปล่อยให้ลูกทำเอง คุณแม่มาดูอีกครั้งว่าลูกแปรงได้สะอาดหรือไม่ 
  • หัดขับถ่ายให้เป็นเวลา เช่น นั่งกระโถนทุกเช้า 
  • หัดแต่งตัว ใส่เสื้อ-กางเกงเอง 
  • ใส่รองเท้าเอง
  • หัดตักอาหารกินเอง 

  ฯลฯ 

ให้ลูกช่วยทำงานบ้าน

การฝึกให้ลูกช่วยแม่ทำงานบ้าน เป็นการสร้างพื้นฐานคุณธรรมให้ลูก สร้างพื้นฐานการมีน้ำใจ โดยเริ่มจากคนในบ้านก่อน นั่นคือการช่วยเหลือพ่อแม่  คุณแม่ไม่ควรมองข้ามการให้ลูกช่วยทำงานบ้าน อย่าคิดว่าลูกยังเล็กทำอะไรไม่ได้ เราสามารถเริ่มจากงานง่ายๆ เช่น เก็บที่นอนเอง กวาดบ้าน หยิบเสื้อผ้าที่จะซักใส่เครื่องซักผ้า วางช้อนส้อมบนโต๊ะอาหาร ช่วยแม่จัดเก็บเสื้อผ้าใส่ตู้  ช่วยแม่รดน้ำต้นไม้ ช่วยแม่เก็บของ ฯลฯ เมื่อลูกทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ นี้จนเริ่มชินแล้ว จึงค่อยมอบหมายให้ลูกทำงานที่ยากขึ้นไปเมื่อลูกโตขึ้น

เล่านิทานคุณธรรมให้ลูกฟัง

คุณแม่เลือกนิทานที่ตัวละครมีคุณธรรมมาเล่าให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกได้ซึมซับการทำความดี มีคุณธรรมจากตัวละครเหล่านั้น

พูดคุยเรื่องคนดี

ในแต่ละวัน คุณแม่เล่าและชื่นชมตัวอย่างคนดีที่ช่วยเหลือผู้อื่นให้ลูกฟัง เช่น คนที่สละที่นั่งบนรถเมล์ให้คุณยาย คนขับแท็กซี่เก็บเงินคืนให้เจ้าของ คนที่นำอาหารไปให้สุนัขจรจัด ฯลฯ เพื่อลูกจะได้ซึมซับเรื่องราวดีๆ เหล่านี้เข้าด้วยหัวใจ

สอนลูกรักธรรมชาติ

สอนให้ลูกรักธรรมชาติด้วยการปลูกต้นไม้ เฝ้าดูต้นไม้ดอกไม้ที่ปลูกเติบโต ดูนก ผีเสื้อ ตัวหนอน ดูชีวิตสัตว์เลี้ยง ให้อาหารปลา อาหารหมาแมว เป็นต้น เป็นการสร้างความอ่อนโยนในจิตใจให้ลูก

พาลูกกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่

วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเกิดญาติผู้ใหญ่ พาลูกไปกราบญาติผู้ใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือไปทำบุญด้วยกัน ตักบาตรด้วยกัน โดยให้ลูกช่วยคุณแม่จัดของไปทำบุญใส่บาตรและไหว้ญาติผู้ใหญ่

ให้ลูกเลี้ยงสัตว์ 

การเลี้ยงสัตว์ทำให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องความมีเมตตา ความอ่อนโยน การแบ่งปัน ความรับผิดชอบ ฯลฯ อาจจะมอบหมายหน้าที่ให้ลูกได้มีส่วนร่วมการในเลี้ยงสัตว์ เช่น ให้อาหารน้องหมาน้องแมว การดูแลเอาใจใส่  โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน เพื่อให้ลูกได้ทำตาม

บริจาคของให้ผู้ด้อยโอกาส

ชวนลูกจัดของที่จะเอาไปบริจาคและบอกให้ลูกรู้ว่ามีคนอื่นที่ลำบากกว่าลูก ไม่มีเสื้อผ้า ไม่มีของเล่นเหมือนลูก เมื่อเราก็ควรให้ผู้อื่นบ้าง หรือเมื่อเห็นกล่องบริจาคหรือเห็นขอทาน ก็ให้ลูกนำเงินไปหยอดกล่องหรือไปให้ขอทานด้วยตัวเขาเอง

ฝึกลูกรู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปัน

คุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการแบ่งปันทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งคุยกับลูกขณะที่สอนด้วย เช่น ก่อนจะแบ่งขนมให้ลูกชิม ก็อาจพูดว่า  “ขนมของคุณแม่อร่อยมากเลย ลองชิมมั้ยคะ คุณแม่แบ่งให้นะคะ” และครั้งต่อไปก็อาจลองขอแบ่งขนมของลูกบ้าง เพื่อฝึกการแบ่งปันให้เขา หรือ “ของเล่นของลูกดูดีจัง น้องแคทอยากขอเล่นด้วยแป๊บหนึ่ง ลูกอยากให้น้องเล่นมั้ยลูก” หากลูกไม่ยอมก็ไม่ต้องบังคับหรือตำหนิ แต่พูดขอให้เขาแบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่นบ่อยๆ เมื่อเขายอมให้เพื่อนเล่น ให้ชมเขาว่าน่ารัก มีน้ำใจที่แบ่งปันของเล่นให้คนอื่น เพื่อเป็นแรงเสริมให้เขาอยากแบ่งปันต่อไป

ไม่รังแกคนอื่น

เด็กที่น่ารักมีคุณธรรม คือ เด็กที่ไม่รังแกคนอื่น นอกจากจะใส่ใจเรื่องลูกถูกเพื่อนรังแกแล้ว คุณแม่ต้องสอนลูกไม่ให้รังแกเพื่อน ไม่ตีเพื่อน ไม่แย่งของเล่น ฯลฯ รวมทั้งไม่รังแกสัตว์ด้วย

ปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม

การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม บ่งบอกถึงการมีคุณธรรมในใจ เราจึงควรสอนลูกในเรื่องนี้ตั้งแต่เล็กๆ เช่น สอนลูกไม่เอาของเล่นเพื่อนมาเป็นของตัวเอง ไม่นำของเล่นที่โรงเรียนกลับมาบ้าน สอนลูกทิ้งขยะลงถังเสมอ ไม่ส่งเสียงดังในที่สาธารณะ ไม่วิ่งเล่นบนรถไฟฟ้า ฯลฯ