ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ให้นมลูกแล้ว แต่ละวันจะมีปัญหาหรือความสงสัยต่างๆ เข้ามาอยู่เสมอ เราได้รวบรวมคำถามบางส่วนที่คุณแม่ให้มักสงสัย พร้อมคำตอบเพื่อคลายความสงสัยนั้น มาดูกันค่ะว่าคำถามยอดฮิตของคุณแม่ให้นมมีอะไรบ้าง

1. เจ็บหัวนม ควรให้ลูกกินนมต่อหรือหยุดก่อน

ปัญหาเจ็บหัวนม หัวนมแตกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การให้ลูกดูดนมในท่าที่ไม่ถูกต้อง ลูกอ้าปากไม่กว้างพอ จึงอมแต่หัวนมแต่ไม่ลึกไปถึงลานนม ส่งผลให้ดูดแล้วไม่ได้น้ำนม ลูกจึงใช้เหงือกซึ่งข้างใต้นั้นคือฟันหันมาเคี้ยวหัวนมแทน หรือคุณแม่ถอนหัวนมออกจากปากลูกไม่ถูกวิธี เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด เมื่อเกิดอาการเจ็บหัวนม คุณแม่ก็สงสัยว่าควรให้ลูกกินนมต่อหรือหยุดก่อน

คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมต่อไปเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่เริ่มให้ลูกดูดนมจากข้างที่เจ็บน้อยที่สุดก่อน ถ้าทั้งสองข้างเจ็บเหมือนกัน ให้เอาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบและนวดเต้านมเบาๆ เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา แต่ถ้าคุณแม่เจ็บมาก งดให้ลูกดูดนมแม่สัก 1-2 วัน และบีบน้ำนมทาแผลที่แตก ผึ่งลมให้แห้ง และอาจกินยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดได้ ระหว่างงดให้นม ให้บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง และป้อนนมด้วยถ้วย ช้อน หรือขวดไปก่อน

เจ็บหัวนมนั้นเป็นปัญหาปกติที่คุณแม่ให้นมพบบ่อย / คุณแม่ไม่สบาย เป็นหวัด ก็ยังสามารถให้นมลูกได้เพียงใส่หน้ากากป้องกันบ้าง / หากต้องการเพิ่มน้ำนม ต้องทำให้เต้านมเกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่นการปั๊มนม

 

2. เป็นหวัดให้นมลูกได้มั้ย

หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งแพร่กระจายโดยการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก ของคนที่เป็นหวัดอยู่ ไม่ได้ผ่านทางน้ำนม คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ สามารถอุ้มลูกให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ และให้ใส่หน้ากากป้องกันการไอ หรือจามใส่ลูก ที่สำคัญ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนอุ้มลูกทุกครั้ง

หากเป็นหวัด คัดจมูก ควรบรรเทาอาการด้วยตัวเองก่อน เช่น กินอาหารที่มีวิตามินซีสูง ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ  แต่หากต้องใช้ยาลดไข้ เวลาไปหาหมอให้บอกหมอว่าให้นมลูกอยู่ คุณหมอจะได้เลือกยาที่มีผลต่อการให้นมน้อยที่สุด ส่วนใหญ่ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซลตามอล ยาละลายเสมหะทั่วไปสามารถกินได้ ไม่มีผลต่อลูก ปกติยาจะมีปริมาณสูงสุดในกระแสเลือดหลังจากกินไปแล้วประมาณ 1-3 ชั่วโมง ฉะนั้น จึงควรกินยาหลังจากให้ลูกกินนมเสร็จทันที หรือเลือกช่วงที่ลูกหลับนานที่สุด เพื่อช่วยลดโอกาสที่ยาจะผ่านน้ำนมไปสู่ลูก

สมัครสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับสิทธิ์! รถเข็นเด็กสุดพรีเมี่ยม ฟรี!

3. ขนาดเต้านมส่งผลต่อปริมาณน้ำนมหรือไม่

คุณแม่มือใหม่หลายคนมักกังวลใจว่าตนเองอาจมีเต้านมขนาดเล็กเกินไป แถมกังวลว่าจะเป็นเหตุให้มีน้ำนมสำหรับลูกน้อยกว่าคนที่มีเต้านมขนาดใหญ่ จริงๆ แล้ว ขนาดของเต้านมไม่สัมพันธ์กับการสร้างน้ำนมค่ะ

เต้านมเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันในเต้านม แต่ส่วนที่สร้างน้ำนม คือ ต่อมและท่อน้ำนม ซึ่งคุณแม่ทุกคนจะมีปริมาณเท่ากัน เพราะฉะนั้นจึงเน้นย้ำอีกครั้งว่า ขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อความสามารถในการสร้างน้ำนมให้ลูก และไม่ว่าหน้าอกคุณแม่จะมีขนาดเท่าใด มีความสามารถในการเก็บน้ำนมได้มากหรือน้อย ก็ล้วนแต่ผลิตน้ำนมได้เพียงพอสำหรับลูกของตัวเองค่ะ

การสร้างน้ำนมมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่ต้องทำคือ พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น เพื่อให้มีน้ำนมสะสมในเต้าในช่วงเวลาระหว่างมื้อน้อยลง นั่นก็หมายความว่า หากต้องการเพิ่มน้ำนม ต้องทำให้เต้านมเกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะทำได้ตลอดทั้งวัน ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • - นำน้ำนมออกจากร่างกายให้บ่อยมากขึ้น ด้วยการให้ลูกดูดบ่อยกว่าเดิม หรือเพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด

  • - พยายามทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการดูดหรือปั๊มแต่ละครั้ง เพื่อให้มีน้ำนมใหม่มาสะสมในเต้า

เจ็บหัวนมนั้นเป็นปัญหาปกติที่คุณแม่ให้นมพบบ่อย / คุณแม่ไม่สบาย เป็นหวัด ก็ยังสามารถให้นมลูกได้เพียงใส่หน้ากากป้องกันบ้าง / หากต้องการเพิ่มน้ำนม ต้องทำให้เต้านมเกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่นการปั๊มนม

 

4. ต้องทำความสะอาดหัวนมก่อนให้ลูกกินนมมั้ย

คุณแม่บางคนสงสัยว่าก่อนให้ลูกกินนม ควรทำความสะอาดหัวนมก่อนมั้ย เพราะเกรงว่าเต้านมตนเองจะไม่สะอาดจากเหงื่อไคล

คำตอบคือคุณแม่ควรล้างมือทุกครั้งก่อนจับเต้านม แต่ไม่ต้องทำความสะอาดเต้านม เพราะเสี่ยงต่อการทำให้หัวนมแตก เมื่อลูกร้องอยากดูดนม คุณแม่ก็สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้เลย ยกเว้นกรณีที่คุณแม่มีเหงื่อออกมาก ก่อนให้นมลูกควรใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว  เช็ดรอบหัวนมและลานนม แต่ไม่จำเป็นต้องเช็ดทุกครั้ง เพราะอาจทำให้หัวนมแห้งแตกได้ 

คุณแม่ไม่ควรไปกังวลกับหัวนมหรือเต้านมให้มากนัก ควรดูแลแบบปกติดังนี้

  • - อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้เต้านมแห้งเสมอ

  • - หลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาหัวนม เพราะจะไปอุดตันต่อมน้ำมันที่ลานนม และถ้าทาไปแล้วต้องเช็ดออกก่อนให้ลูกกินนมจากเต้า ซึ่งทำให้หัวนมและลานนมแห้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหัวนมแตก

  • - หลีกเลี่ยงการขัดถูที่หัวนม รวมถึงกำจัดไขมันบนหัวนม เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้

  • - ระวังบริเวณหัวนมไม่ให้อับชื้น รักษาหัวนมให้แห้งระหว่างมื้อให้นม ด้วยการซับแห้งด้วยผ้าสะอาดทุกครั้งหลังให้นมลูก หากหัวนมแห้งแตกอาจใช้น้ำนมทาหรือใช้ครีมลาโนลินทาให้ทั่วรอให้แห้งก่อนจึงสวมเสื้อ น้ำนมแม่มีคุณสมบัติเป็นมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ชั้นดีช่วยรักษาความชุ่มชื้นของหัวนมไว้ สามารถป้องกันหัวนมแห้งแตกได้

  • - ถ้ามีน้ำนมหยดไหล การใช้แผ่นซับน้ำนมที่ซักได้ จะระบายลมได้ดีกว่าทำความสะอาดง่ายกว่า และยังประหยัดและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

  • - ควรดูแลทำความสะอาดยกทรงอยู่เสมอ ยกทรงคุณแม่อาจเปียกชื้นจากเหงื่อและเปื้อนคราบนมตลอดเวลา จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ควรเปลี่ยนยกทรงทุกวัน  ซักทันทีที่ถอดออกและนำไปตากแดด เพื่อป้องกันเชื้อรา

5. ของแสลงที่ห้ามแม่ให้นมกินมีจริงมั้ย

คุณแม่ให้นมลูกสามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่มีของแสลงอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เช่น การให้กินข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มเป็นเวลานานและงดเนื้อสัตว์อื่นๆ งดไข่ที่เชื่อกันมา ความจริงนั้นสิ่งนี้จะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ หรือให้กินแต่เนื้อสัตว์อย่างเดียว ไม่ให้กินผักผลไม้เลย ก็จะทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งกากใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายที่ควรได้รับไป

อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่คุณแม่ควรเลี่ยงขณะให้นม เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ รวมถึงอาหารปรุงไม่สุก อาหารรสจัดมากเกินไป และอาหารหมักดองทุกชนิด เพราะจะส่งผ่านน้ำนมไปสู่ลูกได้ค่ะ

เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของคำถามที่คุณแม่ให้นมมักสงสัย เมื่อได้คำถามแล้วคงช่วยให้คุณแม่นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองได้ เพื่อให้การให้นมลูกเป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดต่อสมองเด็ก

เพราะมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่