ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

ปัญหาหนึ่งที่คุณแม่มือใหม่พบบ่อยขณะให้นมก็คือ ปัญหาลูกไม่ยอมดูดนม ซึ่งส่งผลให้ลูกไม่ได้กินนม น้ำนมแม่จึงไม่ได้รับการระบายออก ทำให้เต้านมคัด และหากลูกไม่ดูดนมนานๆ เข้า ร่างกายก็ไม่สร้างน้ำนมใหม่ นมแม่ก็ค่อยๆ ลดลง จึงนับว่าปัญหาลูกไม่ยอมดูดนมเป็นปัญหาใหญ่ของแม่ให้นมเลยทีเดียว จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีแก้ไข เพื่อให้การให้นมแม่ไม่หยุดชะงักค่ะ

 

ทำไมลูกไม่ยอมดูดนม


การที่ลูกไม่ยอมดูดนมแม่นี้ อาจหมายถึงมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นลูก และลูกกำลังสื่อสารให้คุณแม่รู้ถึงสิ่งผิดปกตินั้น มาดูกันว่ามีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

  • ลูกเจ็บเหงือกเพราะฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก

  • ลูกหูติดเชื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะดูดนม

  • ความเจ็บปวดที่เกิดจากท่าให้นมไม่ถูกวิธี ทำให้ลูกไม่อยากดูดนม

  • ไม่สบาย เป็นหวัดคัดจมูก ซึ่งทำให้การหายใจลำบากขณะดูดนม หรือลูกเจ็บคอจากหวัด

  • ลูกเครียดที่ต้องพรากจากแม่เป็นเวลานาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงมากในกิจวัตรประจำวัน เช่น คุณแม่ที่เคยอยู่ด้วยทั้งวันต้องกลับไปทำงาน

  • ลูกถูกดึงดูดความสนใจโดยสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ รอบตัว จึงลดความสนใจในการดูด

  • ปริมาณน้ำนมแม่ที่ลดลงเนื่องจากให้ลูกดูดจากขวดเพิ่มขึ้น หรือดูดจุกหลอกมากเกินไป ทำให้ความถี่ในการดูดนมแม่ลดลง ส่งผลให้ต่อมน้ำนมผลิตนมน้อยลงตามไปด้วย ลูกดูดนมแม่ได้น้อยลงจึงไม่อยากดูด

  • ลูกเกิดความสับสนระหว่างดูดจากเต้าและดูดจากขวด

  • เครียดจากกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไป เช่น ได้กินนมช้าหรือเร็วกว่าเวลาปกติ

การแก้ปัญหาลูกไม่ยอมดูดนม


สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องไม่รู้สึกผิดหรือโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย แล้วลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัด และปัญหาที่นำไปสู่ท่อน้ำนมอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุเสริมให้ลูกปฏิเสธนมแม่มากขึ้นไปอีก

  • หากลูกป่วยหรือเจ็บปาก ลองใช้วิธีอื่นป้อนนมลูกเป็นการชั่วคราว เช่น ใช้ถ้วย หลอดหยด หรือช้อน ซึ่งลูกไม่ต้องใช้แรงเพื่อดูดมาก

  • ดูการปัสสาวะของลูกเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ คือประมาณวันละ 6 ครั้ง

  • ลองปรับเปลี่ยนท่าให้นมหลายๆ ท่า เพื่อหาท่าที่ลงตัวสำหรับคุณแม่และลูก

  • หากลูกเครียด เพราะต้องห่างคุณแม่จากการที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน กลับมาถึงบ้านต้องรีบเอาลูกเข้าเต้า ให้ความสนใจและปลอบโยนลูกด้วยการสัมผัสและกอดเขามากขึ้น

  • ให้นมในห้องที่เงียบ สงบ ปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ มีเพียงคุณแม่และลูกน้อยตามลำพัง

  • พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูดบ่อยๆ ถ้าลูกไม่ยอมดูด ให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง เมื่อหิวลูกจะยอมดูดในที่สุด

สมัครสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับสิทธิ์! รถเข็นเด็กสุดพรีเมี่ยม ฟรี!

 

ดูดผิดวิธี ทำให้ลูกไม่ยอมดูดนม


ท่าดูดนมที่ไม่ถูกต้อง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกไม่ยอมดูดนมได้ เพราะเขารู้สึกไม่สบาย ดูดแล้วนมไม่ออกมา จึงหงุดหงิดแล้วพาลไม่ยอมดูดนมเสียดื้อๆ ท่าดูดนมที่ถูกต้องนั้นทำได้ดังนี้

  • ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้านม และริมฝีปากบน-ล่างบานออก

  • ลูกเริ่มดูดทันที จากนั้นค่อยๆ ปรับจังหวะดูดแรงและหนักขึ้น

  • ลูกดูดแรงโดยใช้ลิ้นรีดน้ำนมเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ได้ยินเสียงกลืนนมเป็นจังหวะ

  • ขณะดูดนม สังเกตเห็นขากรรไกรและใบหูของลูกขยับเล็กน้อยตามจังหวะการกลืน

คุณแม่จึงควรตรวจสอบดูว่าได้ให้ลูกกินนมได้ถูกท่าถูกวิธีหรือไม่ จากนั้นก็ค่อยๆ ปรับให้ถูกต้องต่อไปค่ะ

 

ป้องกันเต้านมคัดเมื่อลูกไม่ยอมดูดนม


การที่ลูกไม่ยอมดูดนมนั้นเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเต้านมคัด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบได้ ดังนั้นคุณแม่ควรพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้เสียแต่เนิ่นๆ

  • เมื่อลูกจะไม่ยอมดูดนม คุณแม่ควรบีบหรือปั๊มนมเก็บไว้ เพื่อป้องกันเต้านมคัดและกระตุ้นการสร้างน้ำนมใหม่

  • เมื่อต้องกลับไปทำงาน พยายามปั๊มนมในเวลาเดียวกับที่ลูกเคยดูดนมที่บ้าน

  • สวมเสื้อชั้นในที่พอดี ไม่รัดเกินไป

  • ก่อนให้ลูกดูดนม พยายามบีบนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกก่อนเล็กน้อยเพื่อให้เต้านม ลานนม และหัวนมนิ่มลง หรือนวดเต้านมให้นุ่มและร้อนขึ้น

เมื่อรู้สาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาลูกไม่ยอมดูดนมแล้ว ขอให้คุณแม่ค่อยๆ แก้ไข อย่าเครียด กังวล หรือหงุดหงิด และอย่าถอดใจง่ายๆ อย่าลืมว่าลูกรอกินน้ำนมคุณแม่อยู่นะคะ

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย, MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

 

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่