ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

เราต่างทราบดีว่าการให้ลูกดูดนมจากเต้า เป็นการสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูก เป็นช่วงเวลาที่คุณและลูกน้อยได้มีความสุขร่วมกัน แต่บางครั้งคุณแม่ก็พบว่าเราไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดเวลา เพราะต้องมีช่วงที่ต้องออกไปทำธุระนอกบ้านหรือแม้แต่ต้องกลับไปทำงาน เราต้องเปลี่ยนให้ลูกที่เคยดูดนมจากเต้าเราไปดูดนมจากขวด ซึ่งถ้าลูกยอมก็ดีไป แต่คุณแม่ส่วนใหญ่พบว่าลูกติดเต้าจนไม่ยอมดูดนมจากขวดหรือจากแก้ว เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดีนะ?

ฝึกลูกรู้จักขวดนมเมื่อไหร่ดี


ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะแนะนำว่าเริ่มให้ลูกรู้จักขวดนมและการดูดนมจากขวดอย่างน้อยอายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อลดปัญหาที่ลูกอาจจะสับสนกับหัวนมและติดขวด หรือในช่วงคุณแม่ลาคลอด อาจจะก่อนไปทำงานสัก 2 สัปดาห์ค่อยฝึกเพื่อให้ลูกปรับตัว เพราะการดูดนมจากขวดต้องใช้การเคลื่อนไหวของปากกับลิ้นที่ต่างไปจากการดูดเต้านมคุณแม่ ดังนั้นลูกจึงต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคยและเรียนรู้การดูดที่แตกต่างกันนี้บ้าง

ฝึกลูกกินนมขวดจากขวด ป้องกันลูกติดเต้า


คุณแม่สามารถเริ่มต้นฝึกได้ดังนี้

  • ฝึกให้ดูดจุกยางก่อน ให้คุณแม่ฝึกลูกดูดจุกยางด้วยการป้อนจุกยางสลับกับป้อนนมจากเต้าสลับกันไปหลาย ๆ ครั้งระหว่างให้นม วิธีนี้จะทำให้ปากของลูกได้รู้จักสัมผัสใหม่ ๆ นอกจากเต้านมแม่ รวมถึงคุ้นเคยกับการดูดนมจากจุกมากขึ้น ตอนถึงเวลาป้อนขวดนมจริงลูกจะได้ไม่รู้สึกแตกต่างมาก

  • เลือกจุกนม ควรเลือกจุกนมซิลิโคนที่นิ่มและมีความยืดหยุ่นคล้ายหัวนมแม่ และอย่าให้จุกนมเย็นเกินไป ถ้าเอาออกมาจากตู้เย็น ให้แช่น้ำอุ่นก่อน เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับเต้านมแม่ คุณแม่บางคนที่มีประสบการณ์เล่าว่า กว่าลูกจะยอมดูดนมจากขวด เธอต้องเปลี่ยนจุกนมหลายแบบให้ถูกปากลูก เพราะจุกยางบางชนิดก็แข็งบาดปาก หรือรูของช่องดูดนั้นเล็กจนทำให้อากาศออกมาแทนน้ำนมในขวด ส่งผลให้ลูกท้องอืดและไม่รู้สึกอยากกินนม เป็นต้น

  • ให้ลูกเล่นกับจุกนมเพื่อให้คุ้นเคย คุณแม่ลองให้ลูกเล่นกับจุกนม เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับจุกนมก่อน ลูกอาจจะดูดเล่น เคี้ยวเล่น ก็ปล่อยให้เล่นไป เมื่อคุ้นเคยลูกก็จะยอมดูดนมจากจุกนี้ได้

  • ฝึกลูกดูดขวดก่อนเวลาหิวจริง คุณแม่บางคนเข้าใจผิดว่าการงดให้ลูกดูดนมจากเต้าตอนหิวจัด จะทำให้ลูกยอมกินนมจากขวดที่ป้อนทันที ความจริงก็คือ เมื่อเด็กหิวจะหงุดหงิด โมโห และร้องหาสิ่งที่ตนคุ้นเคยตามสัญชาตญาณ ซึ่งก็คือการดูดนมจากเต้า และจะโมโหยิ่งขึ้นเมื่อต้องมารับสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เพราะฉะนั้น อย่าให้ลูกดูดนมแม่จากขวดตอนที่ลูกหิวจัด เพราะเขาจะโมโหและหงุดหงิดจนไม่ยอมดูดขวด ให้ก่อนถึงเวลาที่เคยดูดนมแม่สัก 15 นาที หรือขณะลูกกำลังหลับๆ อยู่ใกล้จะตื่น (สังเกตจากการขยับตัว ขยับปากบ่อยๆ ) โดยเริ่มจากดูดนมในปริมาณน้อยๆ ประมาณครึ่งออนซ์ดูก่อนก็ได้

  • ใช้น้ำนมแม่แตะที่จุกนม ให้ลูกได้ลองชิมดูก่อน พอรู้ว่าเป็นน้ำนมแม่ที่กินประจำลูกจะมั่นใจในการดูดมากขึ้น

  • พยายามให้ดูดนมเลียนแบบการให้นมแม่ เช่น ใช้จุกนมแบบที่ไหลช้าๆ (ข้างกล่องจะเขียนว่า slow-flow) เหมือนการไหลจากเต้านมของคุณแม่ ให้ขวดนมอยู่ในแนวนอนไม่ตั้งขึ้น อุ้มเปลี่ยนข้างเหมือนเปลี่ยนเต้าขณะให้นมแม่ และหยุดป้อนนมเมื่อลูกทำท่าว่าอิ่มแล้ว (เหมือนที่ลูกหยุดดูดจากเต้าเมื่อเขารู้สึกว่าอิ่มแล้ว)

  • ให้คนอื่นป้อนนมแทนคุณแม่  เพราะถ้าคุณแม่ป้อนเอง ลูกจะร้องโยเยและไม่เข้าใจเมื่อคุณแม่ไม่เปิดเต้าให้เขาดูดอย่างทุกครั้ง ดังนั้นอาจจะเป็นคุณพ่อหรือคนที่จะมาช่วยเลี้ยงได้ฝึกลองให้นมเขา จะทำให้ลูกไม่สับสนในตอนแรก และคุณแม่ก็ต้องหลบไปข้างนอกหรือไปที่อื่นเลย อย่าให้ลูกมองเห็น และอยู่ห่างๆ เพราะสัญชาตญาณของลูกจะจำกลิ่นแม่ได้ ทำให้ลูกไม่ยอมดูดนมจากขวด

    สมัครสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับสิทธิ์! รถเข็นเด็กสุดพรีเมี่ยม ฟรี!
  • เปลี่ยนท่าอุ้มให้ไม่ซ้ำกับท่าที่แม่อุ้มดูดนม อาจจะให้นอนในเปล หรือบนที่นอนแทนขณะป้อนนม เพราะเด็กบางคนจะจำและเรียนรู้ว่า ถ้าอุ้มท่านี้จะต้องได้ดูดจากเต้าแม่ หรือลองป้อนพร้อมโยกตัวไปมาบนเก้าอี้โยกหรือแกว่งชิงช้า เพราะเด็กบางคนจะรู้สึกเพลิดเพลินขณะมีการเคลื่อนไหว

ช่วงแรกๆ ลูกอาจจะดูดนมได้ไม่มาก ให้คุณแม่ค่อยๆ ลองทุกวัน เมื่อเขาคุ้นเคยกับขวดนมก็จะดูดได้มากขึ้น ถ้าลองทุกวิธีแล้ว ลูกยังไม่ยอมดูดนมจากขวดยังติดเต้าแม่อยู่ ก็ลองป้อนด้วยช้อนหรือแก้ว แล้วค่อยฝึกเขาใหม่ไปเรื่อยๆ ไม่นานลูกก็จะเลิกติดเต้าได้ค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

นมแม่ดีที่สุดต่อสมองเด็ก


เพราะมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่