ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

ปัญหาในการให้นมแม่ที่คุณแม่มือใหม่เผชิญกันมากคือ น้ำนมไม่พอหรือน้ำนมมีน้อย ซึ่งเกิดมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ปรับตัวไม่ได้ ตื่นบ่อย พักผ่อนไม่พอ เครียด ฯลฯ เมื่อน้ำนมไม่มานอกจากแม่จะเครียดแล้ว ตัวลูกเองก็อาจหงุดหงิดงอแงจากการที่ไม่ได้กินนมอย่างที่ต้องการ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องหาวิธีเพิ่มน้ำนมโดยเร็วค่ะ

ทำไมน้ำนมไม่มา

สำหรับคุณแม่มือใหม่ พบว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่มาหรือน้ำนมมีน้อยก็มาจากสองสาเหตุนี้

1. พักผ่อนไม่เพียงพอ ตอนกลางคืนคุณแม่มือใหม่มักได้นอนกันแค่ 2-3 ชั่วโมง เพราะต้องตื่นมาให้นมลูก ถ้าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลียไปเรื่อย ๆ จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าน้ำนมจะมีน้อย เพราะร่างกายผลิตน้ำนมได้ไม่เต็มที่

2. คุณแม่มีความเครียด ส่งผลให้ฮอร์โมนออกซิโตซินไม่หลั่ง จึงไม่มีการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อลานนมรอบๆ ถุงน้ำนมหดตัวให้น้ำนมที่ถูกสร้างไว้หลั่งออกมาให้ลูกได้กิน ทำให้น้ำนมไม่ไหลถึงจะมีน้ำนมอยู่เต็มเต้าก็ตาม

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

Tips วิธีเพิ่มน้ำนมของคุณแม่มือใหม่

  • ช่วงที่ลูกหลับหรือมีผู้ใหญ่ที่บ้านช่วยดูลูกให้ระหว่างวัน ให้คุณแม่หาเวลางีบหลับ 15 นาทีก็ยังดี

  • ช่วงดึกให้นมท่านอน ให้คุณแม่ได้พักบ้าง

  • สร้างบรรยากาศให้ลูกตื่นตอนดึกน้อยลง ห้องให้เงียบ ลูกจะหลับได้ง่าย

  • ในทางตรงกันข้าม ฮอร์โมนออกซิโตซินจะหลั่งได้ดีขึ้นเมื่อคุณแม่ผ่อนคลายและมีความสุข คุณแม่แค่คิดถึงหรือได้กลิ่นลูก ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาได้เลย คุณแม่อาจจะดูรูปลูกตอนปั๊มนม พอมีความสุข น้ำนมจะมาดีมาก ให้นึกเข้าไว้ว่าเมื่อฮอร์โมนหลั่ง น้ำนมยิ่งเพิ่มปริมาณ คุณแม่ต้องอยู่ในอารมณ์สบายๆ ไม่เครียดนะคะ

  • ทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่

  • คุณแม่ที่มีนมให้ลูกน้อย ควรกินสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนดีขึ้น และทำให้มีน้ำนมมากได้

  • ตรวจดูว่าลูกดูดนมถูกท่าหรือไม่ เพราะถ้าดูดผิดวิธี คือลูกดูดนมไม่มิดถึงลานนม น้ำนมก็ไหลน้อย

  • ให้ลูกดูดนมจากเต้านมให้บ่อยและนานขึ้น อย่างน้อยให้ได้ 8 ครั้งต่อวัน

  • การนวดประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นๆ ประมาณ 3 - 5 นาทีก่อนการให้นม จะช่วยให้น้ำนมพุ่ง และทำให้ปั๊มนมออกง่าย ช่วยลดอาการท่อน้ำนมตันหรือเต้านมเป็นไตได้

ให้ลูกดูดหรือปั๊มนมบ่อยๆ...เป็นวิธีเพิ่มน้ำนมจริงหรือ

การให้ลูกดูดนมหรือคุณแม่ปั๊มนมบ่อยๆ เป็นวิธีเพิ่มน้ำนมได้ดี เพราะร่างกายแม่ผลิตน้ำนมเท่าที่ปริมาณน้ำนมที่ถูกดูดหรือปั๊มออกไป ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใดต้องดูดหรือปั๊มให้มากเท่านั้น เช่น ถ้าลูกต้องการกินนมวันละ 24 ออนซ์ โดยแบ่งวันละ 8 มื้อๆ ละ 3 ออนซ์

  • หากแม่ให้ลูกดูดหรือแม่ปั๊มให้ลูกกินโดยไม่ใช้นมผสมเลย ร่างกายแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้ 24 ออนซ์เท่าที่ลูกดูดหรือแม่ปั๊มออกไป (น้ำนมพอสำหรับลูก แต่ไม่มีสำหรับการทำสต็อก)

  • หากแม่ให้ลูกดูดและให้นมผสมร่วมด้วย 1 มื้อ จำนวน 3 ออนซ์ ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมออกมาเพียง 21 ออนซ์ เพราะร่างกายแม่คิดว่าลูกต้องการเพียงเท่านั้น ซึ่งไม่พอสำหรับการกินของลูกในแต่ละวัน

  • หากแม่ให้ลูกดูดทั้งวัน และปั๊มอีกวันละครั้งๆ ละ 3 ออนซ์ ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้วันละ 27 ออนซ์ ซึ่งจะเหลือน้ำนมวันละ 3 ออนซ์ สามารถทำเป็นสต็อกได้ และหากต้องการทำสต็อกเพิ่ม ก็สามารถเพิ่มจำนวนการปั๊ม ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมเพิ่มได้อีก

หากน้ำนมไม่พอจริงๆ ต้องทำอย่างไร

อย่างไรก็ตาม หากนมแม่มีน้อย ไม่พอสำหรับลูกจริงๆ แล้วลูกก็ร้องงอแงเพราะหิว คุณแม่อาจเสริมนมผงให้ลูกได้ในช่วงแรก และควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่พบในนมแม่ เช่น MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว เป็นส่วนประกอบของสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*

รวมทั้งนมผงที่ผสม พีดีเอ็กซ์(PDX) ใยอาหารสุขภาพที่ละลายในน้ำได้ เป็นพรีไบโอติกหรืออาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ กอส(GOS)เส้นใยอาหารที่เป็นพรีไบโอติกเช่นเดียวกัน ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดี ลดอาการท้องผูก ด้วยการผสมเส้นใยสุขภาพสองชนิดนี้ คุณแม่จึงไม่ต้องกังวลว่าหากให้ลูกกินนมผงด้วยแล้วจะทำให้ลูกมีปัญหาการขับถ่ายนะคะ

นมแม่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ดังนั้นเมื่อพบว่าน้ำนมแม่มีน้อย คุณแม่ควรหาวิธีเพิ่มน้ำนมเพื่อให้ลูกได้กินนมแม่อย่างที่คุณแม่ตั้งใจที่จะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

 

นมแม่ดีที่สุดเพราะมีแลคโตเฟอร์ริน

แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย, MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

 

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.
นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่