หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมลูกอยู่ แน่นอนว่าคุณแม่อาจกังวลว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัสมากน้อยแค่ไหน และไวรัสตัวนี้จะแพร่เชื้อสู่ลูกและส่งผลต่อสุขภาพของลูกหรือเปล่า

ระดับความเสี่ยงของคุณแม่ตั้งครรภ์

อย่างที่เราทราบกันดีว่า แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะรู้จักไวรัสตระกูลโคโรนา แต่สำหรับเจ้าโควิด-19 แล้ว นักวิทยาศาสตร์รู้จักมันน้อยมาก เพราะมันเป็นสายพันธุ์ใหม่นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ขณะนี้จึงยังไม่แน่ชัดว่าแม่ตั้งครรภ์นั้นจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนกลุ่มอื่นหรือไม่1,2

โคโรนาไวรัสกับแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมลูก

สิ่งที่ต้องยอมรับกันก็คือ แม่ตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสอีกสายพันธุ์) และเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับเชื้อโควิด-19 ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวัง เพราะอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และต้องพยายามหาวิธีป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงนี้

วิธีป้องกันตนเองที่คุณแม่สามารถทำไดดก็เป็นมาตรการที่มีการแนะนำกันทั่วไป อย่างที่เราทราบก็คือการรักษาสุขอนามัย อย่างการล้างมือบ่อยๆ อย่างน้อย 20 วินาที ใช้เจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เช็ดล้างพื้นผิวภายในบ้าน ลูกบิดประตู โต๊ะทำงาน โต๊ะเครื่องแป้ง และที่อื่นๆ ที่มีการใช้งานบ่อยๆ หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรออกจากบ้าน (หากต้องออกจากบ้านก็ต้องใส่หน้ากาก) หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในที่ชุมชนที่มีผู้คนแออัด รักษาระยะห่างกับคนอื่น 2 เมตร และหากงดรับแขกได้ก็ควรทำ นั่นคืออยู่บ้านเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อ กินอาหารที่มีประโยชน์ กินร้อน ช้อนตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

โคโรนาไวรัสกับแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมลูก

หากแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อ จะส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่

มีผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่าเชื้อไวรัสแพร่ผ่านรกหรือน้ำคร่ำไม่ได้3 และจนถึงตอนนี้เด็กทุกคนที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อนั้นต่างมีสุขภาพแข็งแรง4,5

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังไม่รู้แน่ชัดในเวลานี้ก็คือหากคุณแม่เกิดการติดเชื้อในช่วงครรภ์อ่อนๆ (1-6 เดือน) จะส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์บ้าง เพราะเรายังมีข้อมูลไวรัสตัวนี้น้อยอยู่และการศึกษาก็ยังไม่เสร็จสิ้น การศึกษาที่ทำกันก่อนหน้านี้จะศึกษาในกลุ่มแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้ายเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำในช่วงนี้คือการป้องกันตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการรับเชื้อให้มากที่สุด

หากคุณแม่กำลังให้นมล่ะ?

ผลการศึกษาที่ออกมานั้น ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่ามีไวรัสปนเปื้อนอยู่ในน้ำนมของแม่ที่ติดเชื้อ ดังนั้นสำหรับตอนนี้ทุกอย่างชี้ว่าเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถติดต่อผ่านการให้นมแม่ได้ 6

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างลงความเห็นว่า แม้คุณแม่ติดเชื้อ แต่ก็สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง7 ทั้งนี้เพราะนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของทารก ทั้งในแง่ของสารอาหารที่มีคุณค่าต่อพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก นอกจากนั้นหากคุณแม่ติดเชื้อ ร่างกายของคุณแม่จะสร้างแอนตี้บอดี้เฉพาะขึ้นมา ซึ่งจะผ่านเข้าไปในน้ำนมแม่เพื่อปกป้องลูกน้อย พูดได้ว่าการติดเชื้อของแม่จะกระตุ้นให้น้ำนมสร้างมาตรการป้องกันลูกจากไวรัสขึ้นมา

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อย่างไรก็ตาม แม้ลูกน้อยจะได้รับการปกป้องเพิ่มจากน้ำนมแม่ หากคุณแม่ติดเชื้อและมีอาการไม่มากหรืออยู่ระยะเฝ้าระวัง และต้องการให้นมแม่ จะให้นมแม่จากเต้าหรือบีบน้ำนมให้ลูก คงต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการให้นมลูก ถ้าจำเป็นคุณหมอก็ต้องแยกแม่จากลูก

ถ้าต้องแยกกับลูก คุณแม่สามารถบีบหรือปั๊มนมใส่ขวดแล้วให้คนอื่นป้อนนมแทนคุณแม่ได้ แต่เน้นย้ำว่าคุณแม่ต้องรู้จักวิธีป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่ถูกต้องและต้องทำอย่างเข้มงวด คือก่อนและหลังบีบหรือปั๊มนมให้ลูกต้องล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยป้องกันละอองฝอยจากแม่ไปสู่นมลูก นอกจากลูกจะได้กินนมแม่แล้ว ยังช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกต่อไปได้เมื่อหายจากการติดเชื้อแล้ว

หากคุณแม่มีปัญหาใดๆ ควรปรึกษาคุณหมอโดยเร็ว เพื่อจะได้แก้ไขและรักษาอย่างทันท่วงที

ดูแลตัวเองกันนะคะ

หากต้องการรู้เรื่องราวของโควิด- 19 เพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://www.covid-19facts.com/

 

References
1Centers for Disease Control and Prevention (CDC; 17 February 2020). Frequently Asked Questions and Answers: Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) and Pregnancy. Accessed 20 February 2020 via: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/specific-groups/pregnancy-faq.html
2Centers for Disease Control and Prevention (CDC; 15 February 2020). Coronavirus Disease 2019 (COVID-19): Frequently Asked Questions and Answers. . Accessed 19 February 2020 via: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/faq.html
3Chen H, Guo J, Wang C, et al. Clinical characteristics and intrauterine vertical transmission potential of COVID-19 infection in nine pregnant women: a retrospective review of medical records. Lancet 2020; Published 12 February 2020. Available at: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30360-3
4Lam, C.M., Wong, S.F., Leung, T.N., Chow, K.M., Yu, W.C., Wong, T.Y., Lai, S.T. and Ho, L.C. (2004), A case-controlled study comparing clinical course and outcomes of pregnant and nonpregnant women with severe acute respiratory syndrome. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology, 111: 771-774.
5Shek CC, Ng PC, Fung GP, et al. Infants born to mothers with severe acute respiratory syndrome. Pediatrics 2003; 112: e254. UNICEF (February 2020). Coronavirus disease (COVID-19): What parents should know. Accessed 18 February 2020 via : https://www.unicef.org/es/historias/coronavirus-lo-que-los-padres-deben-saber
6 Redigolo T. Coronavirus with a baby: Can I breastfeed while infected with COVID-19? Express Online. 13 March 2020. https://www.express.co.uk/life-style/health/1255041/Coronavirus-babies-newborns-breastfeed-safe-infected-coronavirus-covid-19 (Accessed 16 March 2020).
7 Center for Disease Control. COVID-19 Pregnancy & Breastfeeding, Information about Coronavirus Disease. 2020 https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/pregnancy-breastfeeding.html (Accessed 20 March 2020).