เมื่อลูกเข้าอนุบาล เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ลูกควรจะไปโรงเรียนอย่างมีความสุข ช่างพูดช่างจา ต้องการอะไรก็บอกคุณครูได้ ช่วยตัวเองในเรื่องขับถ่าย เข้าห้องน้ำได้ กลับมาก็มีเรื่องเล่าสนุกๆ ถึงกิจกรรมที่ได้ทำที่โรงเรียนกับเพื่อนๆ ให้ฟัง ฯลฯ ใช่มั้ยคะ

หากคุณแม่ต้องการให้ภาพข้างต้นเป็นจริง ช่วงลูกอายุ 1-3 ขวบ นับเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ให้ลูกตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ลูกวัยเตาะแตะพร้อมสำหรับการเข้าสู่อนุบาลในวัย 3 ขวบเป็นต้นไป โดยเฉพาะการเตรียมพร้อมด้านร่างกายและสมอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนรู้ของเด็กในวัยอนุบาล

สมัครเป็นครอบครัวเอนฟากับชมวันนี้ ลุ้นสิทธิ์รับ Voucher 20,000.
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เตรียมภูมิคุ้มกันและร่างกายลูกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเตรียมอนุบาล

ร่างกายลูกจะแข็งแรงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเขาว่าสามารถปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคต่างๆ ได้เพียงใด โดยคุณแม่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้ร่างกายลูกได้ ดังนี้

  • สร้างด้วยโภชนาการที่ดี

    ลูกน้อยในวัย 1-3 ขวบ นั้น พัฒนาการด้านต่างๆ กำลังเจริญเติบโตอย่างรุดหน้า สมองและร่างกายพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลูกจึงต้องการสารอาหารจำเป็นอย่างต่อเนื่อง การขาดสารอาหารมีผลเสียต่อภูมิคุ้มกัน ร่างกาย และสมอง ลูกต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความสมดุล และมีความหลากหลาย มีปริมาณพอเหมาะกับความต้องการ ครบหลักห้าหมู่ อาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับทุกวันคือ ไข่และนม โดยเฉพาะนมที่มีสารอาหารอย่าง MFGM และ ดีเอชเอ ซึ่งช่วยเสริมสร้างสมองและภูมิคุ้มกันให้ลูกได้

  • สร้างได้ด้วยการพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ

    การพักผ่อนที่เพียงพอช่วยให้ร่างกายได้พัก เพื่อการเจริญเติบโต อีกทั้งการนอนหลับยาวจะช่วยระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทำงานได้ดี จึงส่งผลต่อความแข็งแรงของร่างกายด้วย เด็กๆ จึงควรได้รับการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง

  • สร้างได้ด้วยการออกกำลังกาย

    การที่ลูกได้ออกกำลังกายช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ส่งผลให้ร่างกายลูกแข็งแรงด้วย คุณแม่จึงควรให้ลูกได้ออกกำลังกายบ่อยๆ เช่น พาออกไปวิ่งเล่นในสวนสาธารณะ

  • สร้างได้ด้วยวัคซีน

    การฉีดวัคซีนคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบร่างกาย ซึ่งลูกจะได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรคตั้งแต่แรกเกิดจากน้ำนมแม่ และได้รับวัคซีนที่ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นอันตรายตั้งแต่เด็ก ในวัย 1-3 ขวบ มีวัคซีนที่ลูกยังต้องได้รับอย่างต่อเนื่องอยู่ คุณแม่จึงควรให้ลูกได้รับวัคซีนให้ครบ เพื่อความแข็งแรงของร่างกายลูก

 
เตรียมภูมิคุ้มกันและร่างกายลูกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเตรียมอนุบาล
 

เช็คพัฒนาการทางร่างกายของลูกวัยเตรียมอนุบาล

ลูกวัยเตรียมอนุบาลนั้น เริ่มมีอัตราการเจริญเติบโตช้าลง แต่ก็ไม่ควรมีน้ำหนักเท่าเดิมนานเป็นสัปดาห์ ส่วนความสูงที่เพิ่มขึ้นมักเกิดจากการยืดของช่วงล่างมากกว่าช่วงกลางลำตัว กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และมวลไขมันลดลง ทำให้เด็กวัยนี้ดูเหมือนตัวยืดขึ้น ซึ่งพัฒนาการทางร่างกายของลูกวัยเตรียมอนุบาลที่สำคัญๆ และคุณแม่ควรเช็คว่าลูกมีพัฒนาการเหล่านี้หรือไม่ ดังนี้

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • ลูกวัย 1-1 ½ ขวบ

    • จะพยายามหัดยืนและเดิน และทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

    • ปีนขึ้นบันไดได้แต่ต้องมีคนช่วย ลงบันไดโดยการคลานถอยหลัง ถ้าเดินลงต้องช่วยจับแขน

    • กระโดดสองขาได้

    • ชอบลาก ผลัก ดันสิ่งต่างๆ ลากเก้าอี้ไปยังชั้นวางของและพยายามปีนป่ายหรือเอื้อมหยิบของ

    • ต่อบล็อกได้ 3-4 ชิ้น

  • ลูกเด็กวัย 1 ½ - 2 ขวบ

    • ขึ้นบันไดได้แต่ต้องใช้มือหนึ่งจับราว เดินขึ้นลงบันไดตามลำพังได้เมื่ออายุ 2 ขวบแต่ยังสลับขาไม่ได้

    • ชอบวิ่ง ปีนป่าย กระโดดอยู่กับที่

    • เดินทีละก้าวบนกระดานไม้แผ่นเดียวได้

    • ขี่จักรยาน 3 ล้อได้

    • เริ่มถนัดใช้มือข้างใดข้างหนึ่งแล้ว

    • ร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่ๆ ได้

  • ลูกวัย 2 - 2 ½ ขวบ

    • สนุกสนานกับการเคลื่อนไหว ทั้งการวิ่ง กระโดดโลดเต้น หลบหลีกสิ่งกีดขวางบนทางเดินได้ดี

    • เดินถอยหลังได้ เดินเขย่งปลายเท้าได้ 2-3 ก้าว

    • ปีนขึ้นบนราวในสนามเด็กเล่นได้แต่ปีนลงไม่ได้

    • หมุนลูกบิดประตูได้ จับถือสิ่งของได้มั่นคง หยิบของชิ้นเล็กๆ ได้แต่หลุดมือง่าย ชอบขว้างและรับของ

    • ต่อบล็อกได้ 6 ชิ้น

  • ลูกวัย 2 ½ - 3 ขวบ

    • ยืนบนขาข้างเดียวได้นาน 2 วินาที

    • วิ่งได้ดีแต่ไม่สามารถเริ่มหรือหยุดได้โดยเร็ว

    • กระโดดขึ้น 2 ขาพร้อมกันและกระโดดลงจากเก้าอี้ได้ ขึ้นลงบันไดได้เองโดยต้องรอให้ขาทั้ง 2 อยู่ชั้นเดียวกันก่อนจึงก้าวต่อ

    • มือและนิ้วทำงานประสานกันได้ดี

    • ต่อบล็อกได้สูง 8 ชั้น

หากคุณแม่พบว่าลูกยังไม่ทำเรื่องใดไม่ได้ ก็สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการด้านนั้นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมลูกให้มากที่สุดก่อนถึงวัยอนุบาล

ช่วงเวลาของการเตรียมสมองลูกวัยเตรียมอนุบาล

การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการมีพัฒนาการสมองที่ดี คุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามช่วงเวลาสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกวัยนี้ โดยการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ลูก ซึ่งทำได้ โดย :

  • เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น คุณแม่ควรได้ช่วงเวลาสำคัญในการเล่นกับลูกให้มากที่สุด โดยนั่งเล่นด้วยกันกับลูก เช่น หาสิ่งของที่มีสีสันและรูปทรงที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมาให้ลูกฝึกจับคู่ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอิสระและใช้สมองพลิกแพลงกับสิ่งของภายในบ้าน เช่น กะละมัง จาน ช้อน กล่องกระดาษ ฯลฯ นอกจากลูกได้เรียนรู้แล้วยังมีความสุขกับช่วงเวลาที่มีแม่นั่งเล่นอยู่ด้วยกัน

  • เปิดโอกาสให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เช่น ตักอาหาร แต่งตัวเอง ฯลฯ ช่วงเวลาที่ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้เขาสามารถใช้ความคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ขณะทำสิ่งนั้นๆ ได้

  • อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังบ่อยๆ ช่วงเวลาที่ลูกได้ฟังเรื่องราวของนิทาน สมองของเขาได้ทำงาน ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ หัดจำคำหรือประโยคที่เขาได้ยินนั้น

  • สอนให้เรียนรู้จำนวนและตัวเลข เช่น ฝึกนับนิ้ว 1-10 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนในวัยอนุบาล

 
ช่วงเวลาของการเตรียมสมองลูกวัยเตรียมอนุบาล
 

เช็คพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกวัยเตรียมอนุบาล

  • ลูกวัย 1-2 ขวบ

    • บอกความต้องการได้ด้วยการชี้หรือจูงมือผู้ใหญ่ไปยังของที่ต้องการ

    • ชอบทำอะไรด้วยตัวเองมากขึ้น เช่น หยิบ ตัก อาหารเข้าปาก ใส่เสื้อเอง เป็นต้น

    • เริ่มรู้จักชื่อของคน สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว

    • เลียนแบบคนรอบข้างมากขึ้น เช่น เลียนแบบการกวาดบ้าน

    • แสดงความกระตือรือร้น สนใจใคร่รู้ ออกเดินสำรวจสิ่งต่างๆ มากขึ้น

    • รู้จักเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่และคนรอบข้าง เช่น ส่งเสียงเรียกหรือทำท่าต่างๆ

    • สามารถจับคู่ของที่มีสีหรือรูปทรงเหมือนกันได้

    • สามารถต่อบล็อกไม้ตามแบบง่ายๆ ที่ผู้ใหญ่ทำให้ดูได้

  • ลูกวัย 2-3 ขวบ

    • ชอบเล่นและสนุกกับสิ่งของใกล้ตัว เช่น กะละมัง จาน ช้อน กล่องต่างๆ ฯลฯ

    • เริ่มเข้าใจเรื่องเวลาบ้างแล้ว เช่น วันนี้ เดี๋ยวนี้

    • ชอบดูหนังสือภาพและชี้รูปภาพในหนังสือ

    • รู้จักสีต่างๆ 3-5 สี

    • มีทักษะแก้ปัญหามากขึ้น เช่น เมื่อเอาของไปวางไว้สูงกว่าที่เอื้อมถึง สามารถยืนต่อตัวบนเฟอร์นิเจอร์เพื่อเอื้อมไปเอาของนั้นได้

    • รู้ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทำและผลที่เกิด เช่น เมื่อชี้ที่ภาพนก สามารถบอกได้ว่าคืออะไร ส่งเสียงร้องอย่างไร เป็นต้น

    • สามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ง่ายๆ 6-12 ชิ้นได้

หากคุณแม่พบว่าลูกยังทำเรื่องใดไม่ได้ ก็สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ให้ลูก เพื่อเตรียมความพร้อมลูกให้มากที่สุดก่อนถึงวัยอนุบาล

นม : โภชนาการสำคัญเพื่อร่างกายแข็งแรงและสมองพร้อมเรียนรู้

แม้ว่าสารอาหารสำคัญทุกชนิด เด็กๆ สามารถได้รับจากการกินอาหารหลัก 5 หมู่  แต่เพราะส่วนใหญ่เด็กวัยเตรียมอนุบาลมักจะมีปัญหาเรื่องการกินยาก กินน้อย เพราะห่วงเล่น โอกาสได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเพิ่มขึ้น

ดังนั้นลูกจึงควรได้กินนมเสริมมื้ออาหาร ถ้าคุณแม่สามารถจัดหาอาหารมื้อหลักที่มีสารอาหารครบถ้วนจากข้าว ผัก เนื้อสัตว์และผลไม้ให้กับลูกได้ในปริมาณที่เหมาะสมได้ครบ 3 มื้อ ก็เลือกนมรสจืดเสริมให้ลูกวันละ 2-3 แก้ว เพื่อเสริมวิตามินและสารอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากแคลเซียม

ในการเลือกนม คุณแม่ควรเลือกนมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ คือมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคในนม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน, ดีเอชเอ กรดไขมันซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง และจอประสาทตา

ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า MFGM เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กได้หลากหลายด้าน ดังนี้

  • โปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เช่น พบว่า MFGM ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น เมื่อลูกน้อยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมเรียนรู้เรื่องราวรอบตัวได้ดี

  • จากงานวิจัยทางคลินิก พบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็ก ที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหารใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ DHA เพียงอย่างเดียว*

  • มีงานวิจัยพบว่า MFGM จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้**

  • มีงานวิจัยพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการร่างกาย โดยเฉพาะทักษะการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

  • มีงานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีและทักษะการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

  • งานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำนานกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

การได้เตรียมร่างกายและสมองของลูกให้พร้อมเสียตั้งแต่ตอนนี้ จะทำให้เมื่อถึงวัยลูกไปโรงเรียนอนุบาลลูกจะพร้อมและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ค่ะ