ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ฝึกนิสัยการกินอาหาร ให้ลูกวัยเตาะแตะ

ฝึกนิสัยการกินอาหาร ให้ลูกวัยเตาะแตะ

เพราะการกินอาหารที่ดีคือพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี คุณแม่สามารถฝึกนิสัยการกินอาหารที่เหมาะสมให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะในวัยเตาะแตะ เพราะนิสัยการกินอาหารของลูกในวัยนี้ จะพัฒนาติดตัวเขาไปตลอดชีวิต จึงต้องฝึกนิสัยการกินของลูกน้อยเสียตั้งแต่ในช่วงวัย 3 ปีแรกนี้ค่ะ

วัยไหนต้องฝึกนิสัยการกินอาหารเรื่องอะไรกันบ้าง

เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ถึงวัยที่ลูกต้องได้รับอาหารเสริมเพิ่มเติมจากนม และเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องเริ่มให้ความสำคัญกับการฝึกนิสัยการกินที่ดีให้ลูก รวมทั้งการเลือกโภชนาการที่ดีให้ลูกด้วย มาดูกันค่ะว่าลูกวัยเตาะแตะในช่วงขวบครึ่งถึงสามขวบนั้น คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการฝึกนิสัยการกินอาหารของลูกในเรื่องอะไรบ้าง

อายุ 1 ขวบ 6 เดือน : ควรฝึกเรื่องต่อไปนี้

  • ฝึกเปลี่ยนการดูดนมจากขวดเป็นการดื่มจากแก้วแทน และควรงดนมมื้อดึกอย่างจริงจัง

  • ฝึกให้กินอาหารเอง โดยคุณแม่จัดเตรียมช้อน ถ้วยใส่อาหาร และแก้วน้ำที่ไม่หกหรือแตกง่าย ให้ลูก 1 ชุดไว้นั่งกินเป็นประจำ

  • ให้ลูกร่วมโต๊ะอาหาร เพื่อเห็นการกินอาหารของผู้อื่น เพื่อเป็นแบบอย่างและเลียนแบบ

อายุ 1 ขวบ 6 เดือน - 2 ขวบ : ควรฝึกเรื่องต่อไปนี้

  • ให้กินอาหารเองเพิ่มขึ้นจนกินเองได้ทั้งหมด โดยการตัดอาหารให้เป็นชิ้นพอดีคำ ทำให้อ่อนนุ่มเพื่อให้ลูกเคี้ยวง่าย ไม่ติดคอ

  • ฝึกเรื่องการตักอาหารทีละน้อย โดยตักอาหารให้ลูกทีละน้อยก่อนแล้วค่อยเติมให้จนลูกอิ่ม

  • ฝึกดื่มนมจากถ้วยหรือใช้หลอดดูดจากกล่อง

  • ฝึกกระตุ้นต่อมรับรสของลูกให้คุ้นเคยกับรสชาติใหม่ๆ เพิ่มขึ้น 

 
นิสัยการกินที่ดีสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ
 

อายุ 2 - 3 ขวบ : ควรฝึกเรื่องต่อไปนี้

  • การกินอาหารเป็นที่และเป็นเวลา

  • ฝึกการใช้ช้อนส้อมและมารยาทในการกินอาหาร เช่น การใช้ช้อนกลาง การไม่พูดขณะมีข้าวในปาก

  • ฝึกให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร การจัดโต๊ะอาหาร

  • ฝึกให้กินอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เด็ก 

 
ปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพให้กับลูก ๆ ของคุณ
 

อาหารเช้ากับลูกวัยเตาะแตะ

การฝึกให้ลูกกินอาหารเช้าที่ไม่ใช่กินเพียงนม 1 แก้ว ก็เป็นเรื่องที่ต้องฝึกให้ลูกวัยเตาะแตะคุ้นเคยเอาไว้เพื่อเป็นนิสัยการกินที่ดีเมื่อเขาโตขึ้น เราต่างรู้ดีถึงความสำคัญของอาหารเช้า คนเรานั้นจะพักผ่อนด้วยการนอนหลับคืนละประมาณ 8 ชั่วโมง (โดยเฉพาะเด็กๆ) ช่วงที่เรานอนหลับ การใช้สารอาหารต่างๆ ในร่างกายยังคงดำเนินไปตลอดเวลา ปริมาณสารอาหารต่างๆ  โดยเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงเมื่อเราตื่นขึ้นมา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกินอาหารเพื่อเพิ่มระดับสารอาหารในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติสำหรับการทำกิจกรรมต่อไป

เมื่อตื่นนอนในตอนเช้า นับจากอาหารมื้อเย็นเท่ากับว่าร่างกายไม่ได้รับสารอาหารมากกว่า 12 ชั่วโมง ร่างกายของลูกจึงต้องการอาหารเช้า เพราะเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ในขณะที่เด็กๆ ลุกขึ้นเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ หลังจากนั้น เขาจะรู้สึกหิว ศูนย์หิวที่สมองสั่งให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมา ทำให้ท้องว่าง เพราะร่างกายต้องการพลังงาน หากยังไม่เติมพลังงานให้กับร่างกาย หรือยังไม่กินอาหารเช้า ร่างกายต้องไปดึงพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่สะสมไว้ในตับ ซึ่งร่างกายเก็บเป็นเสบียงไว้ใช้ในยามจำเป็น มาใช้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและสมอง เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่นานนักพลังงานส่วนนี้จะถูกใช้จนหมดไปเพราะไม่มีใหม่มาเติม ฉะนั้นอาหารเช้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สมองของเด็กทำงานได้เฉียบไวจากการได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

 
พัฒนานิสัยการกินที่ดีในทารก
 

อาหารเช้าของหนู

เมื่อรู้ว่าอาหารเช้าสำคัญต่อลูกน้อยของเรามากมายขนาดนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการให้ลูกได้กินอาหารเช้า หากตอนเช้ามีเวลาไม่มาก เราก็สามารถเตรียมเครื่องปรุงต่างๆ ไว้ให้พร้อม หรือปรุงอาหารไว้ตั้งแต่ตอนเย็นแล้วนำมาอุ่น โรยผักลงไปในตอนเช้า ที่สำคัญต้องมีประโยชน์ ครบคุณค่า และหลากหลาย เพราะเด็กๆ เบื่อง่ายและจะพาลไม่กินเอาได้หากจำเจ

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำหนังสือ “คู่มือธงโภชนาการ” และได้กำหนดอาหารมื้อเช้าที่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งคุณแม่สามารถใช้เป็นตัวอย่างในการจัดเตรียมอาหารเช้าให้ลูกได้ เช่น

  • โจ๊กหมู ส้มเขียวหวาน นมสด

  • เกี้ยมอี๋ ลำไย นมสด

  • ข้าวต้ม ผัดผักบุ้ง ไข่เจียว มะละกอ

  • ข้าวสวย ต้มจืดเลือดหมูใบตำลึง ไก่ทอด ชมพู่ 

  • ข้าวสวย กะหล่ำปลีตุ๋น ปลาช่อนผัดขึ้นฉ่าย 

  • ข้าวต้มปลากะพง หรือข้าวต้มไก่,กุ้ง เงาะ 

  • ข้าวสวย มะระสอดไส้หมู ไข่ตุ๋น 

ลูกวัยนี้ต้องไม่ขาดนม

การฝึกให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งสำคัญ และการดื่มนมให้เป็นนิสัยก็เป็นเรื่องที่ต้องฝึกให้ลูก ลูกวัย 1 ขวบขึ้นไปนั้นแม้นมจะเป็นอาหารเสริม แต่ลูกยังต้องการสารอาหารจากนมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างสมองให้พร้อมเรียนรู้สิ่งรอบตัว โดยคุณแม่ควรเลือกนมที่มีสารอาหารช่วยพัฒนาสมองอย่าง MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว ที่พบมากในสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอเพียงอย่างเดียว*

คุณแม่สามารถเลือกนมให้ลูกวัยนี้ได้ทั้งนมผงและนม UHT โดยเมื่อลูกอยู่บ้านก็ชงนมผงให้ลูกดื่ม และเมื่อออกไปข้างนอกเพื่อความสะดวกก็นำนมกล่องสำหรับเด็ก 1 ขวบ อย่างนม UHT ซึ่งมีสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง MFGM ดีเอชเอ เช่นกัน ติดตัวไปด้วย เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่อง

เลือกนม UHT ให้ลูกน้อยอย่างไรดี คลิก

ตอนนี้คุณแม่คงมีแนวทางการในการฝึกนิสัยการกินอาหารให้ลูกวัยเตาะแตะกันแล้ว ฝึกบ่อยๆ แล้วนิสัยการกินที่ดีเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่ดีที่ทำให้ลูกรู้จักเลือกกินอาหารคุณภาพเมื่อเขาโตขึ้นค่ะ

 

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.

 

บทความที่แนะนำ

ฝึกนิสัยการกินอาหาร ให้ลูกวัยเตาะแตะ
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

  • Register bar

Leaving page banner

 

Leaving page banner