ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
หากลูกท้องเสียและถ่ายมีมูก เป็นน้ำ ไม่มีกาก ถือว่าเด็กทารกมีการขับถ่ายผิดปกติควรพบแพทย์, ผื่นแดงตามก้นเด็กอาจเกิดจากการที่เด็กปวดท้องแล้วถ่ายบ่อยๆ

ถ่ายทันทีหลังกินนม ลูกท้องเสียใชไหม

Another problem with bowel movements that mothers encounter is After eating milk, children defecate immediately Causing the mother to wonder why this is so Is this abnormal or not? Does the baby have diarrhea? This symptom will cause the child to have a stomach ache or affect other health conditions. Of children or not Is there a solution? We will find out the causes and effects of the problems that are the concerns of mothers too.

For the cause of baby problems, taken immediately after drinking milk Can be separated into breast-feeding children and milk powder

  • เด็กกินนมแม่ สำหรับเด็กที่กินนมแม่ ในเดือนแรกๆ มักจะถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย เพราะนมแม่ย่อยง่ายและดูดซึมได้เกือบหมด อึจึงมีกากน้อย มีน้ำมาก ลูกจึงถ่ายบ่อยทันทีหลังกินนม ทำให้คุณแม่คิดว่าลูกท้องเสีย ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นอาการปกติของเด็กกินนมแม่ อีกสาเหตุอาจจะเพราะแม่ให้ลูกกินนมไม่เกลี้ยงเต้า คือดูดเต้าแรกไม่นานก็เปลี่ยนไปกินนมอีกข้างหนึ่ง ทำให้ลูกได้แต่น้ำนมส่วนหน้าของทั้งสองเต้า หรือคุณแม่บางคนมีน้ำนมมาก ลูกได้กินเฉพาะนมส่วนหน้าก็อิ่ม ซึ่งในน้ำนมส่วนหน้าจะมีน้ำและน้ำตาลแลคโตส เป็นส่วนประกอบค่อนข้างมากจึงผ่านลงลำไส้ได้เร็ว ทำให้ลำไส้ย่อยและดูดซึมไม่ทัน ลูกจึงถ่ายออกมาเลยหลังกินนมมื้อนั้นๆ

ลูกท้องเสียใช่ไหม?

ถ้าอุจจาระที่ถ่ายออกมาเหลวแต่มีกากออกมาทุกครั้ง และลูกยังร่าเริงดี เล่นได้ กินนมได้ปกติ แม้จะถ่ายวันละ 10 ครั้งก็ถือว่าปกติ ไม่ใช่อาการที่แสดงว่าลูกท้องเสีย การแยกว่าเด็กท้องเสียหรือไม่นั้น จะไม่ได้ดูเพียงจำนวนครั้งของการถ่าย แต่จะต้องดูจากลักษณะอุจจาระประกอบด้วย ถ้าอุจจาระเหลวเป็นน้ำ โดยไม่มีกากปนเลย หรือมีมูก มีมูกเลือดปนแม้ถ่ายเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าลูกท้องเสีย ต้องพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

แนวทางแก้ไข : คุณแม่ช่วยลูกไม่ให้ถ่ายหลังกินนมแม่ได้ โดยให้ลูกดูดนมแม่ให้เกลี้ยงเต้า เพราะน้ำนมส่วนหลังมีไขมันสูง ลูกจะใช้เวลาย่อยและดูดซึมนานขึ้น ทำให้การขับถ่ายทิ้งช่วงห่างออกไปได้ หากยังไม่ดีขึ้นคุณแม่อาจใช้วิธีบีบน้ำนมแม่ส่วนหน้าที่ใสของเต้านมก่อนให้ลูกดูดทิ้งไปประมาณ 20-30 มิลลิลิตร หรือประมาณ 10-15 นาที ก่อนให้ลูกดูด เพื่อให้ได้น้ำนมส่วนหลังที่ข้นมากขึ้น

เด็กกินนมผง หากลูกกินนมผงเป็นไปได้ว่าลูกมีปัญหาในการย่อยสารอาหารในนมผง เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของลูกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนและแลคโตสยังทำงานไม่เต็มที่ เมื่อลูกกินนมสูตรปกติที่โปรตีนเป็นโมเลกุลใหญ่และมีแลคโตสเป็นส่วนผสม ร่างกายจะย่อยได้ไม่หมด สารอาหารบางส่วนจึงตกค้างในลำไส้จนเกิดเป็นแก๊ส ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กปวดท้อง แน่นท้อง และอาการไม่สบายท้องต่างๆ รวมทั้งอาการถ่ายท้องทันทีหลังกินนม

แนวทางแก้ไข : อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการปกติ เพราะจะทำให้ลูกได้รับสารอาหารจากนมไม่เต็มที่ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและพัฒนาการของลูก คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อเลือกนมสูตรย่อยง่าย ที่มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วนและมีน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่าปกติ ซึ่งสอดคล้องกับระบบการย่อยของลูกเพื่อแก้ไขปัญหานี้ (ใช้ได้ในเด็กที่มีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องกวน แหวะนมได้ด้วย) ส่วนสูตรผสมใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย อย่างเช่น พีดีเอ็กซ์ (PDX) และ กอส (GOS) ใยอาหารสุขภาพ ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ จะช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้สมดุลเหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูก

ลูกถ่ายแบบไหนที่ควรระวัง

 

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าแม้ลูกจะถ่ายบ่อย แต่หากอุจจาระที่ถ่ายออกมามีเนื้อปนออกมาด้วย และลูกยังร่าเริงดี กินได้ เล่นได้ น้ำหนักตัวขึ้นเป็นปกติ ไม่มีแสดงอาการว่าลูกปวดท้องใดๆ ไม่ใช่อาการที่แสดงว่าลูกท้องเสีย

ท้องเสีย ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก จะดูที่ลักษณะและความถี่ของอุจจาระ โดยใช้ลักษณะอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น เป็นเนื้อเหลวความถี่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรือเป็นน้ำปริมาณมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยคำจำกัดความนี้ไม่รวมถึงเด็กเล็กที่กินนมแม่ ซึ่งมักจะถ่ายบ่อยแต่อุจจาระเป็นเนื้อดีและมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามปกติ คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอุจจาระของลูกเพื่อดูว่าเข้าข่ายลูกท้องเสียหรือไม่

ผลข้างเคียงจากการถ่ายบ่อย

การที่ลูกถ่ายบ่อยไป อาจทำให้ลูกก้นแดง เกิดผื่นคล้ายๆ ผื่นผ้าอ้อม ส่งผลให้ลูกหงุดหงิด งอแง ร้องไห้โยเย ส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวก็ทำได้น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น และคุณแม่ก็มีปัญหาต่อเนื่องตามมาในการรักษาผื่นดังกล่าวด้วยค่ะ

ดังนั้น หากคุณแม่เผชิญกับปัญหาถ่ายทันทีหลังกินนม ซึ่งจะส่งผลต่อตัวลูกน้อยและคุณแม่เอง การแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่แนะนำ สามารถช่วยให้ลูกขับถ่ายน้อยลงได้ไม่มากก็น้อย ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner