ช่วง 3 ขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการเด็ก เพราะเป็นช่วงวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด การเรียนรู้จดจำ และทักษะชีวิตจำเป็นที่จะต้องติดตัวเด็กคนหนึ่งไปจนโต ต้องส่งเสริมอย่างตรงจุดตั้งแต่ช่วงวัย 0-3 ปี โดยเฉพาะทักษะการคิดเป็น คิดดี ทำดี สามารถพึ่งพาตัวเองเป็น และเอาตัวรอดในสังคมได้อย่างมีความสุข

สิ่งสำคัญคือการเข้าใจพัฒนาการตามวัยและพื้นอารมณ์ที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่แรกเกิด เมื่อพ่อแม่เข้าใจและปรับวิธีการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมในทุกด้าน ทั้งอาหารที่ครบถ้วนโภชนาการ ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ให้ความรักและผูกพัน ให้ลูกรู้สึกว่า ‘แม่มีอยู่จริง’ ก็เท่ากับได้สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้ลูก แม้ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงใดในอนาคตลูกเราก็สามารถรับมือและอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์

วัยแสบเจ้าหนู 1-2 ขวบ

เมื่อลูกพ้นวัยทารกอย่างสมบูรณ์แบบ ชีวิตของลูกจะเข้มขึ้น สิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้และเริ่มทำความเข้าใจตั้งแต่ตอนนี้ก็คือ การพึ่งพาตัวเอง ซึ่งเห็นได้ว่า เด็กมีพัฒนาการตามวัยมาเป็นลำดับ และคงจะดีกว่านี้ หากเด็กเติบโตขึ้น สามารถอยู่รอดได้ พึ่งตัวเองเป็น และเป็นที่พึ่งให้คนอื่นได้ด้วย ผู้เป็นพ่อแม่คงสบายใจ หายห่วงและเป็นสุข

พัฒนาการลูก 1-2 ขวบ : เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง

  • ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเมื่อถูกขัดใจ

  • ก้มลงหยิบของที่พื้นได้

  • ทิ้งของและสังเกตดูของเวลาตกลงสู่พื้น

  • ปีนบันไดขั้นต่ำๆ ได้

  • ชอบเต้นตามจังหวะดนตรี

  • ใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็กจากถ้วยได้

  • จำชื่อตนเองได้แล้ว

  • พูดเป็นคำได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากช่วงนี้ลูกยังคงได้รับMFGM สารอาหารสำคัญที่พบในนมแม่อย่างต่อเนื่อง มีงานวิจัยล่าสุดพบว่า ช่วยทำให้ความสามารถด้านภาษาของลูกดีขึ้น จากพูดเป็นคำก็สามารถนำคำมาต่อกันได้มากกว่า 1 คำ

  • พยายามที่จะส่งเสียงร้องเพลง

  • กังวลกับการแยกจากพ่อแม่

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ดับไฟในใจแม่ : เมื่อลูกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง และแม่ต้องรับมือกับอารมณ์ตัวเองให้ได้

  • เข้าใจและให้โอกาสลูก ได้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพราะ การได้ออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สมองปลอดโปร่ง ต่อยอดพัฒนาการสมอง ทำให้ลูกอารมณ์ดีมากขึ้น คุณแม่เองก็ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย

  • คุยกับลูกยิ่งเยอะ ยิ่งดี สามารถคุยเรื่องเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว หรืออ่านนิทานให้ฟังทุกวันก่อนนอน ชวนลูกตั้งคำถาม เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น นอกจากจะได้ใกล้ชิดและได้สื่อสารกันมากขึ้น คุณแม่ยังสอนทักษะชีวิตต่างๆ ผ่านเรื่องราวในนิทานที่ลูกชื่นชอบได้

  • พาลูกเล่นนอกบ้าน นอกจากจะช่วยให้ลูกได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่แล้ว ยังเป็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมร่วมกับคนอื่นด้วย ที่สำคัญการได้ออกไปพบปะเพื่อน หรือคนที่มีลูกวัยเดียวกัน จะยิ่งทำให้คุณแม่พูดคุย แลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูก หรือปัญหาต่างๆ ที่เจอเหมือนกันๆ ทำให้เราเบาใจลง และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้นเมื่อต้องรับมือกับเจ้าตัวน้อย

วิธีกระตุ้นลูกให้เรียนรู้การพึ่งพาตัวเองตามวัย

  • พึ่งพาตัวเองได้เพราะหนูมั่นใจ ช่วงวัยนี้ลูกเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง เริ่มหยิบจับช้อนส้อมได้ พ่อแม่ต้องเริ่มฝึกให้ลูกหยิบจับให้เป็น ซึ่งต้องหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

  • ฝึกโต้ตอบกับลูก ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น แต่พ่อแม่จะต้องฝึกให้ลูกเรียนรู้ว่า การเป็นตัวของตัวเองได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขต ให้เด็กได้พึ่งพาตัวเอง และช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเหมาะสมกับวัย

  • มีปฏิสัมพันธ์กับลูกอย่างสม่ำเสมอ ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นต้องพูดคุยกับลูก นอกจากช่วยทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจ และวางใจต่อคนรอบข้าง เพื่อต่อยอดส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และสติปัญญาต่อไป

12 กิจกรรมแสนง่ายๆ แต่ดีต่อพัฒนาการรอบด้าน

ลูกวัย 1-2 ขวบ เป็นวัยที่สนุกกับการเคลื่อนไหว เพราะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรง คุณแม่ใช้โอกาสนี้ส่งเสริมกิจกรรมที่ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระมากที่สุด

เคลื่อนไหว=กล้ามเนื้อมัดใหญ่แข็งแกร่ง

  • เต้น กระโดด ตามจังหวะเพลง

  • วิ่งเล่นอย่างอิสระ

หยิบจับ = พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

  • ปั้นแป้งโดว์ หรือคุณแม่สามารถใช้มันเทศนึ่งผสมแป้งเอนกประสงค์ นวดให้เข้ากัน ทำให้ลูกเล่นได้

  • เล่นกับเงา มือของแม่ที่ทำเป็นลูกต่างๆ นี่ล่ะสนุกที่สุดแล้ว

  • ลากเส้นอิสระ กางกระดาษสีขาวแผ่นใหญ่ แล้วปล่อยให้ลูกได้ละเลงอย่างเต็มที่

สนุกกับเสียง = ภาษาก้าวไกล

  • ฟังนิทานตามภาพ ฝึกความเชื่อมโยง

  • ชวนจดจำศัพท์จากของใกล้ตัว ต่อยอดพัฒนาการภาษา

  • เล่นบัตรภาพ บัตรคำสองภาษา

พบผู้คนหลากหลาย = เพิ่มทักษะสังคม

  • พบปะกับญาติๆ เสริมเรื่องการปรับตัว และทักษะทางสังคม

  • มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมที่มีเด็กวัยเดียวกันร่วมด้วย

เล่นคนเดียวดีกับการสร้างตัวตนลูกวัยป่วน 1-2 ขวบ

  • ฝึกการสังเกต วิเคราะห์​ วางแผน แก้ปัญหา ง่ายๆตามวัย

  • เล่นเลียนแบบเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์​

  • เรียนรู้การแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง

  • มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ในอนาคต​

Tips กิจกรรมที่ส่งเสริม 4 ทักษะพื้นฐานจำเป็นให้ลูก

  • ล้อมวงดนตรี

    ชวนลูกล้อมวงเล่นดนตรี จากอุปกรณ์ใกล้ตัวในบ้าน เช่น ถังพลาสติก หม้อ กระทะ ขวดน้ำ แก้วน้ำ มาเคาะให้เกิดเสียงและจังหวะ ซึ่งฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมือ ที่สำคัญยังทำให้ลูกได้ใช้ทักษะหลายอย่างพร้อมกัน ทั้งสายตา หู และการเชื่อมโยงของสมอง

  • พูดคุยคลังคำศัพท์

    จะใช้ของใกล้ตัว เช่น ของเล่น ข้าวของเครื่องใช้ หรือผักผลไม้ที่มีในครัว จะได้ฝึกจำคำศัพท์ง่ายๆ รอบตัว และยังช่วยพัฒนาทักษะการฟังและมีสมาธิจดจ่อใส่ใจได้ด้วย​

  • เต้นและหยุดตามจังหวะเพลง

    คุณแม่หาเพลงจังหวะสนุกๆ เปิดให้ลูกเต้นตาม โดยมีกติกาว่า เมื่อเพลงหยุดต้องหยุดนิ่ง และเต้นใหม่เมื่อเพลงเปิด ทำวนไปเรื่อยๆ กิจกรรมนี้จะช่วยฝึกการควบคุมตนเอง จดจ่อใส่ใจฟัง และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจากการเคลื่อนไหวด้วย

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช