ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

เรื่องขับถ่ายของทารกเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่คุณแม่ให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลูกถ่ายยาก ท้องผูก ลูกท้องเสีย ท้องอืด ฯลฯ เราจึงรวบรวม 10 คำถามเรื่องการขับถ่ายของทารกที่พบบ่อย พร้อมคำตอบของแต่ละคำถามมาฝากกัน มาดูกันค่ะว่าเป็นคำถามที่คุณแม่กำลังสงสัยอยู่หรือไม่

สมัครเป็นครอบครัวเอนฟากับชมวันนี้ ลุ้นรับฟรีโทรศัพท์มือถือ Samsung Galaxy Note 20 Ultra

1. ลูกถ่ายทุกวันคงไม่มีปัญหาท้องผูกใช่มั้ย

จำนวนหรือความถี่ของการอุจจาระไม่ได้บอกว่าลูกท้องผูก สิ่งสำคัญคุณแม่ต้องดูลักษณะของอุจจาระลูกว่าแข็งทำให้ลูกถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่ง และมีเลือดปนออกมาหรือไม่ เด็กบางคนถ่ายทุกวันแต่หากลักษณะอุจจาระเข้าข่ายดังกล่าวถือว่าท้องผูก เด็กบางคน 2-3 วันอาจจะถ่ายสักครั้ง แต่หากอุจจาระนิ่ม ถ่ายง่าย ไม่ต้องเบ่งถ่าย ก็ไม่ถือว่าลูกท้องผูก

2. ลูกไม่ถ่ายทุกวัน แต่ทำไมอุจจาระเหมือนท้องเสีย

จำนวนครั้งหรือความถี่ในการถ่ายอุจจาระ ไม่ได้บอกว่าลูกจะท้องผูกหรือท้องเสีย การถ่ายอุจจาระเพียงครั้งเดียวใน 1 วัน หรือ 2-3 วัน ถ่ายสักครั้ง ลูกก็อาจจะท้องเสียได้ โดยลักษณะอุจจาระที่บ่งบอกว่าลูกท้องเสียคือ อุจจาระเหลวเป็นน้ำ ไม่มีกาก หรือมีมูกเลือดปน ในทางตรงข้ามใน 1 วัน ลูกถ่ายมากกว่า 2 ครั้งแต่ลักษณะอุจจาระมีกากออกมาทุกครั้ง ก็ไม่ถือว่าลูกท้องเสีย จำนวนครั้งหรือความถี่ในการถ่ายจึงไม่อาจบอกได้ว่าลูกท้องเสียหรือท้องผูก ต้องดูลักษณะอุจจาระและอาการอื่นๆ ของลูกประกอบด้วย

3. ลูกท้องเสียเพราะยืดตัวหรือเปล่า?

พัฒนาการของร่างกายเด็กในขวบปีแรกนั้นจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำ คืบ นั่ง คลาน ยืน เดิน ซึ่งจะเห็นว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องท้องเสียแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าการยืดตัวทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวหรือท้องเสีย แต่เป็นไปได้ว่าพัฒนาการของเด็กในวัยที่เรียกว่า “ยืดตัว” นั้น เด็กจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น ใช้มือเอื้อมคว้าจับสิ่งของต่างๆ ได้ดีขึ้น เด็กจึงจับเอาสิ่งของเข้าปาก จึงเกิดการติดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนกับสิ่งของเหล่านั้น ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้แม้จะไม่ได้เกิดจากการยืดตัวโดยตรง คุณแม่จึงควรป้องกันอาการท้องเสียของลูก โดยการดูแลความสะอาดของอาหารการกิน ข้าวของเครื่องใช้ลูก รวมไปถึงดูแลสุขอนามัยของลูกค่ะ

4. แม่กินผักมากๆ ช่วยให้ลูกกินนมแม่ถ่ายง่ายจริงหรือ

การที่แม่กินผักและผลไม้ที่ช่วยระบาย เช่น ขี้เหล็ก มะละกอสุก พรุน ส้ม หรือ มะขาม จะช่วยกระตุ้นให้ลูกขับถ่ายได้ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะผ่านนมแม่ไปสู่ลูก โดยส่วนใหญ่ เด็กที่กินนมแม่มักไม่มีปัญหาท้องผูก เพราะนมแม่ย่อยง่าย และร่างกายเด็กสามารถดูดซึมสารอาหารในนมแม่ไปใช้ได้เกือบหมด เหลือของเสียที่ต้องเร่งกำจัดออกจากร่างกายไม่มาก จึงเหลือกากอาหารไว้สำหรับขับถ่ายไม่มาก เด็กอาจจะไม่ถ่ายหลายวันได้

5. ลูกเบ่งถ่ายอุจจาระมากไป ผิดปกติมั้ย

การที่ลูกเบ่งตอนถ่ายอุจจาระมากจนหน้าแดงนั้น อาจเป็นไปได้ว่าเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของทารกนั้นยังทำงานไม่ประสานกัน ส่วนที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนทำงานแล้ว แต่กล้ามเนื้อหูรูดไม่ยอมเปิดให้อุจจาระออกมา จึงทำให้ลูกน้อยเบ่งมาก เพราะอุจจาระไม่ออกมา ประกอบกับลูกยังไม่รู้วิธีการบังคับลมเบ่งให้ลงไปข้างล่าง เวลาเบ่งจึงส่งแรงดันขึ้นมาด้านบนดันกระบังลม ร่วมกับการกลั้นหายใจ แรงดันในช่องปอดมีเพิ่ม เลือดจึงคั่งด้านบนลูกจึงหน้าแดง อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบประสาทพัฒนามากขึ้นอาการนี้จะหายไปเอง แม้ลูกจะเบ่งถ่ายมาก แต่หากอุจจาระที่ออกมาไม่แข็ง ไม่ถือว่าลูกท้องผูก จึงไม่ต้องกังวล เมื่อโตขึ้นลูกเรียนรู้การเบ่งดีขึ้นและระบบประสาทพัฒนามากขึ้น อาการเหล่านี้จะหายไป

6. เมื่อลูกท้องเสีย ให้นมอย่างไร

เมื่อลูกท้องเสียหากให้นมแม่ คุณแม่สามารถให้นมต่อไปได้ แต่ให้เด็กดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ หากอุจจาระลูกเป็นฟอง ท้องอืด ผายลมบ่อย คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า หรือ ให้คุณแม่บีบน้ำนมแม่ส่วนหน้าที่ลูกจะดูดทิ้งไปก่อนสักนิด เพื่อให้ลูกได้ดูดนมส่วนหลัง ซึ่งจะมีปริมาณไขมันมากกว่าน้ำนมส่วนหน้า ทำให้เด็กอิ่มนานไม่หิวง่าย ไม่ต้องดูดนมบ่อย และระยะเวลาที่นมผ่านออกจากกระเพาะอาหารลงไปที่ลำไส้ช้าลง ช่วยลดการกระตุ้นการบีบตัวของลำไล้ ทำให้ลูกไม่ถ่ายบ่อย

หากลูกกินนมผง อาการท้องเสียอาจเกิดจากระบบการย่อยของลูกที่ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงยังทำงานไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนและแลคโตส เมื่อไม่สามารถย่อยโปรตีนและแลคโตสได้หมด แบคทีเรียในลำไส้ก็จะย่อยแทน ทำให้เกิดแก๊สในท้อง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องเสียได้ หากลูกท้องเสียหลังกินนม คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอถึงการเปลี่ยนนมเป็นนมสูตรย่อยง่าย ที่จะช่วยบรรเทาอาการนี้ได้

สมัครเป็นครอบครัวเอนฟากับชมวันนี้ ลุ้นรับฟรีโทรศัพท์มือถือ Samsung Galaxy Note 20 Ultra

7. สวนทวารเพื่อให้ลูกถ่ายทำได้แค่ไหน

หากลูกอายุต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่าย ไม่แนะนำให้พ่อแม่ใช้แท่งสบู่สวนทวารหนักลูก และไม่ควรใช้ยาสวนทวารหนักมาสวนให้ลูกบ่อยๆ เพราะการสวนทวารบ่อยๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุลำไส้ และกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักอาจมีแผลเกิดความเจ็บปวด ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดรอบทวารหนักยิ่งหดเกร็งมากขึ้น ยิ่งทำให้ลูกท้องผูก ถ่ายอุจจาระไม่ออก และมีผลให้ลูกเบ่งอุจจาระไม่เป็นในที่สุด หากลูกไม่ถ่ายมากกว่า 5 วัน จนคุณแม่วิตกกังวล ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้แท่งกลีเซอรีนเล็กๆ สวนก้นลูกสักครั้ง เพื่อดูลักษณะอุจจาระลูก และควรทดสอบครั้งเดียวก็พอ ไม่ควรทำบ่อยๆ เพราะอาจจะสร้างปัญหาอื่นตามมาได้

8. ทำไมลูกถ่ายเป็นฟอง

เด็กที่กินนมแม่อาจถ่ายอุจจาระมีฟองปนออกมาได้ โดยเฉพาะหากเด็กกินน้ำนมส่วนหน้า ซึ่งมีน้ำตาลแลคโตสมากกว่านมส่วนหลัง และทารกยังมีน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลนี้ไม่มากนัก จึงย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่หมด ซึ่งน้ำตาลที่ย่อยไม่หมดนี้จะผ่านลงมาในลำไส้ใหญ่ แล้วจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่จะย่อยน้ำตาลแทนทำให้เกิดแก๊สในท้องของเด็กขึ้น จึงถ่ายอุจจาระออกมามีลมและแก๊ส จึงดูเป็นฟองได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด

9. ทำไมลูกร้องไห้เวลาถ่ายอุจจาระ

ขณะขับถ่ายทารกแต่ละคนอาจมีการแสดงออกแตกต่างกัน บางคนก็ดูขับถ่ายง่าย บางคนก็ถ่ายยากต้องใช้แรงเบ่งมาก ส่วนการที่ทารกร้องไห้ก่อนอุจจาระอาจเพราะรู้สึกปวดท้อง ซึ่งเขายังไม่ทราบว่าอาการปวดท้องจากลำไส้บีบตัวก่อนการถ่ายอุจจาระเป็นการปวดตามธรรมชาติ จึงร้องไห้ออกมา เพราะรู้สึกไม่สบายตัวนั่นเอง

10. นมแบบไหนช่วยไม่ให้ลูกท้องผูกได้

รวมคำถามเรื่องการขับถ่ายของลูก เช่น ท้องเสียจากการยืดตัว อุจจาระแข็ง และถ่ายเป็นฟอง

 

เด็กที่กินนมแม่จะไม่ค่อยมีปัญหาท้องผูก เด็กกินนมผงมักจะพบปัญหานี้มากกว่า ดังนั้นคุณแม่จึงควรให้ลูกทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หรือนานกว่านั้น แต่หากไม่สามารถให้นมแม่ได้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนานมผงขึ้นมาให้มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ โดยเฉพาะในเรื่องการลดอาการท้องผูก โดยการเพิ่มเส้นใยอาหารสุขภาพ ซึ่งก็คือ...

  • พีดีเอ็กซ์ (PDX) ใยอาหารสุขภาพ เป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ ด้วยโครงสร้างของพีดีเอ็กซ์ที่ซับซ้อนกว่าใยอาหารชนิดอื่น จึงทำให้กระบวนการย่อยเป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง เป็นการรักษาสมดุลในลำไส้ของเด็ก

  • กอส (GOS) เป็นพรีไบโอติกส์หรืออาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในลำไส้ของคนเราเช่นกัน ช่วยกระตุ้นและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีระบบการขับถ่ายของทารกที่ดีแล้ว ยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้เด็กอีกด้วย

ทั้งพีดีเอ็กซ์และกอส จะทำงานควบคู่กันภายในลำไส้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพหรือจุลินทรีย์ชนิดดี สนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพและการขับถ่ายของเด็ก จึงลดอาการท้องผูกในเด็กที่กินนมผงได้

เรื่องการขับถ่ายของลูกเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ก็เชื่อมั่นว่า 10 ข้อสงสัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่มีแนวทางในการดูแลลูกได้ค่ะ

อึไม่ออก ต้องทำยังไง พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่