สัปดาห์ที่ 4 คำแนะนำ
* ทดสอบการตั้งครรภ์ หากรออยู่ 5-6 วัน ประจำเดือนคุณแม่ยังไม่มา ลองใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ดู หากเป็นบวก ก็มั่นใจได้ค่ะว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ตอนนี้ต้องให้ความใส่ใจต่อการดูแลตัวเองและลูกน้อยในท้องอย่างจริง โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก
* ไปหาสูติแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ เพื่อความมั่นใจว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จริง ควรไปพบสูติแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์และฝากครรภ์
* ไปฝากครรภ์ คุณแม่ควรไปตรวจฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ การตรวจครรภ์ครั้งแรกสำคัญมาก คุณหมอจะถามและตรวจอย่างละเอียด ตรวจดูตำแหน่งของการตั้งครรภ์ ดูว่ามีตัวเด็ก มีหัวใจเต้น คุณแม่ควรสังเกตและจดบันทึกอาการของตนเอง ทั้งสุขภาพโดยทั่วไปและความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นเพื่อแจ้งกับแพทย์ค่ะ
* ปรึกษาคุณหมอถึงวิตามินที่จำเป็น และยาที่กินอยู่ เมื่อคุณหมอตรวจร่างกายคุณแม่แล้ว ลองปรึกษาคุณหมอว่ามีวิตามินใดบ้างที่คุณแม่ควรกินเสริมในช่วงการตั้งครรภ์ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณแม่ รวมทั้งยาที่กินอยู่ว่าเป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่

 

สัปดาห์ที่ 5 คำแนะนำ
* บันทึกการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ คุณหมอจะให้ “สมุดบันทึกการตั้งครรภ์” คุณแม่ควรใช้สมุดบันทึกนี้ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นกับครรภ์ เพื่อคุณหมอจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการดูแลครรภ์
* หาความรู้เรื่องการดูแลและการพัฒนาสมองลูกในครรภ์จากแหล่งต่างๆ เพราะช่วงตั้งครรภ์คือต้นทางของสู่การเป็นอัจฉริยะของลูกน้อย คุณแม่จึงควรเริ่มต้นหาหาความรู้เรื่องการดูแลและการพัฒนาสมองลูกในครรภ์จากแหล่งต่างๆ เช่น จากนิตยสาร คู่มือต่างๆ แอปพลิเคชั่น Enfa A+ Genius Baby หรือ www.enfababy.com
* ดื่มน้ำมากๆ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ จะช่วยลดอาการแพ้ท้อง และทำให้เลือดคุณแม่ไหลเวียนได้ดี รวมทั้งยังทำให้การส่งสารอาหารในร่างกายของคุณแม่ต่อไปถึงลูกในครรภ์ได้อย่างสะดวก อีกทั้งป้องกันอาการขาดน้ำให้กับร่างกาย ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา เช่น ท้องผูก ผิวหนังแห้ง เป็นต้น
* เน้นอาหารโปรตีน คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีโปรตีน เพราะกรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน จะช่วยในการสร้างอวัยวะต่างๆของลูกน้อย โปรตีนจะมีอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ,ปลา,นม, โยเกิร์ต และพืชตระกูลถั่ว

 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

 

สัปดาห์ที่ 6 คำแนะนำ
* กินอาหารน้อยแต่บ่อยมื้อ คุณแม่อาจมีการแพ้ท้อง เพื่อลดอาการแพ้ท้อง จึงควรเปลี่ยนมื้ออาหาร โดยกินแต่ละมื้อให้น้อยลง แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น อาจจะแบ่งมื้ออาหารเป็นวันละ 5-6 มื้อ จะช่วยให้ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
* งดทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก ช่วงนี้นับเป็นช่วงที่ลูกในครรภ์กำลังสร้างอวัยวะต่างๆ และมีความเสี่ยงต่อการแท้งสูง คุณแม่จึงควรระมัดระวังการทำกิจกรรมที่ใช้แรงกระแทกกระทั้น เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกาย
* งดอาหารสุกๆ ดิบๆ ช่วงตั้งครรภ์ ควรงดอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ไข่ลวก ปลาดิบ ชีส ผลิตภัณฑ์นมเนยที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของพยาธิหรือเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นต้นเหตุทำให้ท้องร่วง อาเจียน ปวดเกร็งที่บริเวณหน้าท้อง แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกโดยตรง แต่เสี่ยงต่อการแท้งได้
* รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย คุณแม่ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย ไม่คาว ไม่มัน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป น้ำเต้าหู้ จะช่วยลดอาหารแพ้ท้องหรือเบื่ออาหารที่มักเกิดในระยะนี้ได้

 

สัปดาห์ที่ 7 คำแนะนำ
* หาเวลาพักผ่อนให้มากขึ้น ช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหาโอกาสนอนพักวันละ 1-2 ชั่วโมง เช่น นั่งเอนหลังหาเก้าอี้มารองยกเท้าให้สูงเท่าระดับสะโพก ถ้าไม่มีโอกาสนอนกลางวัน กลางคืนควรนอนให้ได้ครบ 8 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนน้อยจะส่งผลสุขภาพคุณแม่และลูกในครรภ์
* เลือกของว่างมีคุณภาพ ช่วงนี้คุณแม่เริ่มหิวบ่อย เพราะร่างกายต้องการสารอาหารไปสร้างการเจริญเติบโตให้ลูกในครรภ์ คุณแม่ควรงดอาหารพวกแป้งและไขมัน ควรเลือกอาหารว่างประเภทแซนด์วิชขนมปังโฮลวีต ถั่วอบแห้ง และผลไม้แทน
* ปรึกษาคุณหมอเรื่องปริมาณธาตุเหล็ก คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการรับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ เพราะร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เพราะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นอีก 25% เพื่อใช้ในการหมุนเวียนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่ลูก และเพื่อเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางหลังคลอด จากการเสียเลือดจากการคลอดด้วย คุณแม่จึงต้องปรึกษาคุณหมอถึงภาวะธาตุเหล็กของคุณแม่ว่าต้องได้รับธาตุเหล็กเม็ดเสริม หรือรับจากอาหารก็เพียงพอแล้ว
* ปรับเปลี่ยนการออกกำลังกาย ช่วงนี้ คุณแม่ที่ชอบการออกกำลังกาย ยังสามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรปรับเปลี่ยน เช่น จากการวิ่งมาเป็นเดินเร็วแทน ไม่เล่นกีฬาที่จะได้รับความกระทบกระเทือนได้ง่าย เช่น ปั่นจักรยาน (ควรเปลี่ยนเป็นปั่นแบบอยู่กับที่แทน) หากไม่มั่นใจลองปรึกษาหมอก่อนการออกกำลังกาย