เมื่อคุณแม่เริ่มกลับไปทำงาน หรือต้องพาลูกน้อยออกไปนอกบ้าน การเก็บน้ำนมไว้ล่วงหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เราจึงขอเสนอวิธีการบีบน้ำนมด้วยมือ และวิธีปั๊มนมด้วยเครื่องที่ถูกต้อง เพื่อให้การเลี้ยงลูกน้อยง่ายขึ้นกว่าเดิม

การบีบน้ำนมด้วยมือ


การบีบน้ำนมนั้นจะให้ได้ผลดีต้องเลียนแบบการดูดเต้านมของลูก ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นต่อมผลิตน้ำนมไปในตัว ด้วยวิธีการดังนี้ค่ะ

1. ใช้นิ้วหัวแม่มือวางด้านบน นิ้วชี้และนิ้วกลางวางด้านล่างทำมือเป็นรูปตัว C ตามรูป โดยวางนิ้วนั้นให้ห่างจากโคนหัวนมประมาณ 2.5 -3.1 ซ.ม.ตำแหน่งที่วางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กับนิ้วกลางต้องอยู่ตรงข้ามกัน (เหมือนตำแหน่งของเข็มนาฬิกาที่ตรงข้ามกันคือ 12.00 น. และ 6.00 น.)

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือและวิธีปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม กับการบีบน้ำนมด้วยมือ ขั้นตอนแรก

2. เมื่อวางนิ้วได้ตามตำแหน่งแล้วให้กดนิ้วเข้าหาตัวเองตามรูป A ถ้าหน้าอกใหญ่ก็ทำเหมือนยกหน้าอกขึ้นหน่อยแล้วค่อยกดเข้าหาตัว โดยระวังไม่ให้นิ้วแยกจากกันนะคะ

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือและวิธีปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม กับการบีบน้ำนมด้วยมือ ขั้นตอนสอง

3. แล้วก็ค่อยๆ กลิ้งนิ้วหัวแม่มือ (เหมือนกำลังพิมพ์นิ้วมือ) ลงมายังโคนหัวนม ระหว่างนั้นก็ผ่อนแรงกดด้านล่างจากนิ้วกลางมายังนิ้วชี้ (ดูตำแหน่งที่ลูกศรชี้ตามรูป B และ C) การเคลื่อนไหวของนิ้วทั้งสามจะช่วยรีดน้ำนมออกมาโดยไม่เจ็บ คล้ายๆ การดูดของทารก

4. ทำซ้ำเป็นจังหวะเพื่อรีดน้ำนมออกมาให้หมดกระเปาะ

(ที่มา : www.breastfeedingthai.com (https://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=279742))

ข้อควรระวัง : อย่าบีบ ดึง หรือเค้นหน้าอก (ตามรูป)  เพราะจะทำให้เจ็บ และน้ำนมก็ไม่ออกด้วย

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือและวิธีปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม กับข้อห้ามในการบีบน้ำนมด้วยมือ

ระยะเวลาของการบีบน้ำนมด้วยมือ


ขั้นตอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แบ่งเป็นช่วงๆ คือบีบน้ำนมแต่ละข้างออก 5-7 นาที (หรือจนน้ำนมไหลน้อยลง) กระตุ้นโดยการนวด ลูบ และเขย่า บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 3-5 นาที กระตุ้นโดยการนวด ลูบ และเขย่า และบีบน้ำนมออกอีกข้างละ 2-3 นาที

วิธีปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม


การปั๊มน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนมนั้นให้เริ่มที่การเลือกเครื่องปั๊มนมคุณภาพ เพราะจะช่วยให้การปั๊มนมทำได้ง่ายและสะดวก นุ่มนวลและไม่เจ็บ ก่อนเลือกซื้อควรสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์คือ คุณแม่มือใหม่ที่เคยใช้เครื่องปั๊มนมมาก่อน และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จด้วย และเลือกใช้เครื่องปั๊มนมให้ตรงกับวัตถุประสงค์และความจำเป็นในการใช้ของตนเอง

เตรียมพร้อมก่อนใช้งานเครื่องปั๊มนม


  • คุยกับที่ทำงานเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องปั๊มนม

    ปรึกษาหรือแจ้งให้ที่ทำงานทราบก่อนว่าคุณแม่จะใช้เครื่องปั๊มนม จากนั้นวางแผนล่วงหน้าโดยต้องตอบตัวเองให้ได้ครบทุกข้อว่า “จะปั๊มตอนไหน” “จะปั๊มที่ไหน” “จะเก็บน้ำนมที่ไหน”  ถ้ามีตู้เย็นก็หมดปัญหาแต่ถ้าไม่มีคุณแม่คงต้องเตรียมกระติกน้ำแข็งไปด้วย  

  • ศึกษาวิธีปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมล่วงหน้า

    ควรศึกษาวิธีปั๊มนมให้ละเอียดก่อนกลับไปทำงานสัก 2 สัปดาห์ เพื่อที่จะได้ใช้เครื่องปั๊มนมอย่างคล่องแคล่ว

  • ควรปั๊มนมในช่วงเช้า

    ควรปั๊มนมแช่ไว้ก่อนไปทำงานได้จะดียิ่ง เพราะช่วยให้คุณแม่มือใหม่มั่นใจได้มากขึ้นว่าน่าจะปั๊มนมได้มากพอสำหรับลูก เวลาที่ดีที่สุดในการปั๊มนมคือช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่แม่ๆ ส่วนใหญ่มีน้ำนมมาก ร่างกายของคุณแม่จะผลิตน้ำนมอยู่เรื่อย ๆ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถึงคุณแม่จะปั๊มนมออกไปบ้างแล้วตอนลูกหลับ ก็จะยังมีน้ำนมเหลือพอให้ลูกดูดในมื้อแรกของวันอยู่ดี

  • ใช้เวลาปั๊มนม 10-20 นาที

    ถ้าคุณแม่มือใหม่ใช้เครื่องปั๊มนมได้ถูกวิธีและชำนาญแล้ว การปั๊มนมแต่ละข้างอาจใช้เวลาเพียง 10 นาทีต่อข้างหรือพร้อมกันสองข้างหากเป็นเครื่องปั๊มนมแบบคู่ แต่โดยทั่วไปสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มปั๊ม และยังไม่รู้จักกลไกการหลั่งน้ำนมของตนเอง ควรใช้เวลาในการปั๊มอย่างน้อยข้างละ 15 นาทีค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพราะมีแลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

การเก็บน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี


วิธีเก็บนมแม่ที่ง่าย สะดวก และมั่นใจได้มากที่สุดคือ การเก็บนมแม่ไว้ในตู้เย็น นั่นเอง เพราะเป็นการช่วยยืดอายุนมแม่ให้เก็บไว้ได้ยาวนานยิ่งขึ้น คุณแม่สามารถทำการเก็บน้ำนมได้โดยการบรรจุใส่ถุงเก็บนมแม่ก่อนนำเข้าตู้เย็น

  • เก็บน้ำนมแม้ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาที่ไม่มีของอื่นปน จะเก็บได้ราว 5 วัน

  • เก็บน้ำนมแม้ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา แต่มีของอื่นปนด้วย จะเก็บได้ 2-3 วัน 

  • เก็บน้ำนมแม้ไว้ในตู้เย็นช่องช่องแช่แข็ง โดยไม่มีอาหารอื่นปน จะเก็บได้ประมาณ 2 สัปดาห์

  • เก็บน้ำนมแม้ไว้ในตู้เย็นช่องช่องแช่แข็ง โดยมีอาหารอื่นปน จะเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บน้ำนมแม่ และการเก็บน้ำนมในกรณีที่ไม่มีตู้เย็นได้ที่นี่ค่ะ : วิธีเก็บนมแม่

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่