ลูกเป็นหวัดอีกแล้ว

       พัฒนาการของเด็กวัยอนุบาลนั้น  ปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่ต้องเจอแน่ๆ คือโรคหวัดค่ะ ยิ่งชั้นปีเล็กๆ ภูมิต้านทานยังน้อย เด็กหลายรายเป็นบ่อยถึงปีละ 6-8 ครั้งก็มี แต่พอลูกโตขึ้น อายุเกิน 6 ปีภูมิต้านทานมากขึ้น อัตราการเป็นหวัดก็จะลดน้อยลง 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

       เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของหวัดส่วนใหญ่คือไวรัส จึงแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้ง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจ จากการไอ จาม รับน้ำมูก น้ำลาย หรือสัมผัสเชื้อโรคหวัดจากสิ่งของต่างๆ เช่น การเล่นคลุกคลีกับคนเป็นหวัด การสัมผัสสิ่งของ ของเล่นร่วมกัน เป็นต้น
       อาการที่สำคัญของโรคหวัดคือ มีน้ำมูกใสๆ ไหล จาม คัดจมูก เด็กบางรายครั่นเนื้อครั่นตัว อาจมีอาการไอตามมาทีหลังได้ อาการไข้มักจะไม่สูงมาก (ไม่เกิน 38°เซลเซียส) และเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน บางครั้งอาจมีอาการ เจ็บคอ ปวดท้อง อาเจียน หรือ ท้องเสียได้บ้าง อย่างไรก็ดีอาการหวัดมักจะหายไปเองใน 3-4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน แต่ถ้ามีอาการป่วยนานกว่านั้น อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

สำหรับการดูแลลูกเมื่อเป็นหวัด คุณแม่สามารถปฏิบัติเองได้ง่ายๆ ค่ะ

  • ดูแลลูกให้พักผ่อนนอนหลับเพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้หน้าอก และเท้าเย็น

  • ให้ลูกกลั้วคอด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ และทุกครั้งหลังกินอาหาร

  • ถ้าลูกมีไข้ควรเช็ดตัว กินยาลดไข้พาราเซตามอล (ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากยาได้)

  • พยายามให้ลูกดื่มน้ำมากๆ

  • สอนลูกให้รู้จักดูแลสุขอนามัย เช่น ล้างมือทุกครั้งหลังการเล่น ก่อนกินอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ รวมทั้งไม่แพร่เชื้อหวัดไปสู่คนอื่น เช่น เวลาไอจามให้ปิดปาก หรือสวมหน้ากากอนามัย

  • หากคุณแม่ดูแลลูกแล้ว แต่ไข้ลูกกลับไม่ลดลงใน 1 - 3 วัน หรือมีไข้ร่วมกับขึ้นผื่น ไอมาก เจ็บคอมาก กินอาหารได้น้อย มีเสมหะสีเหลือง หรือเขียว ปวดศีรษะ เจ็บตำแหน่งไซนัสมากขึ้น หายใจ เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ปวดหู มีน้ำออกจากหู ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที